ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวนอิม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| attributes = มหากรุณา
}}
'''กวนอิม''' ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ '''กวนอิน''' ตามสำเนียงกลาง ({{zh-all|c=觀音|p=Guān Yīn}}; {{lang-en|Guan Yin}}) พระ[[พระโพธิสัตว์]] ของ[[พระพุทธศาสนา]]ฝ่าย[[มหายาน]] เป็นองค์เดียวกันกับ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]ใน[[ภาษาสันสกฤต]] ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานใน[[อินเดีย]] และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่อง'''พระธิดาเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ''' ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของ[[ศาสนาพื้นบ้านจีน]]จนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากใน[[สัทธรรมปุณฑรีกสูตร]]ได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้ง[[ทิเบต]] [[จีน]] หรือ[[ญี่ปุ่น]] ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ '''Sir Charles Eliot''' ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
 
== [[พระโพธิสัตว์]]กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน ==
'''พระโพธิสัตว์กวนอิม''' (ประสูติ 19 [[เดือนยี่]]จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ '''เมี่ยวจวง''' และ ของ พระนางเซี่ยวหลิน ซึ่งมีพระราชธิดา 3 องค์พระองค์ องค์โตชื่อ '''เมี่ยวอิม''' องค์รองชื่อ '''เมี่ยวหยวน''' เยาว์วัย พระราชธิดาเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด
 
ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของ[[แม่ชี]]ทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
บรรทัด 32:
ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จ[[อรหันต์]] ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
 
== พระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีเพศเกิดขึ้นเมื่อ ? ==
สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั่งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (莫高)ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา
ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ
 
ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
บรรทัด 44:
ในด้านศิลปกรรมจีน ได้สะท้อนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา อาทิ ภาพพระแม่กวนอิมยืนประทับบนหลังมังกรกลางมหาสมุทร , ภาพพระแม่กวนอิมพรมน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากกิ่งหลิวในแจกัน , ภาพพระแม่กวนอิมประทับนั่งกลางป่าไผ่ , ภาพพระแม่กวนอิมปางประธานบุตร และภาพพระแม่กวนอิมพันมือ เป็นต้น
 
แต่ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งพระแม่กวนอิมในลักษณะใด พระองค์ก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน และ ปัจจุบัน เจ้าแม่กวนอิมได้สำเร็จอรหันตผลเป็นพระอรหันต์ พระนามว่า พระอรหันต์เสี่ยวเมี้ยน ผู้ทรงปัญญาและความเมตตาที่มีผู้นับถือมากกว่า 250 คนทั่วโลก
 
== ความเชื่อ ==
[[ไฟล์:20090606 Putuoshan 8786.jpg|thumb|250px|องค์หนานไห่กวนอิม(南海观音)]]
ความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับ[[พระโพธิสัตว์]]กวนอิมมีหลากหลายความเชื่อด้วยกัน เช่น
 
=== ในไซอิ๋ว ===
ชาวจีนเชื่อว่า ท่านเป็นตัวละครรองในวรรณกรรมเรื่อง ไซอิ่ว เพราะเมื่อคราวที่ซุนหงอคงมีท่าผิดปกติ พระแม่กวนอิมนำเชือกประหลาดและก็มาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไป ถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า '''รัดเกล้า''' รอบเดียว ก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดหัว
เส้น 59 ⟶ 60:
=== พระอัครสาวก ===
[[ไฟล์:Dharma Flower Temple Avalokitasvara Bodhisattva.jpg|thumb|450px|[[เด็กแดง|พระสุธนกุมาร]] และธิดาพญามังกร]]
รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิมมักมีเด็กชายและเด็กหญิงหรือพุทธสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาอยู่เคียงข้างเสมอ โดยถูกเรียกว่า [[เด็กแดง|พระสุธนกุมาร]] (กิมท้ง) คือเด็กชายผู้ที่ทุบศีรษะเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจนดวงปราณละสังหารได้นั้นเอง และ ธิดาพญามังกร (เง็กนึ้ง) คือสาวใช้ผู้ปวารณาเป็นข้ารับใช้พระองค์ขณะเป็นภิกษุณี บางตำนานว่า กิมท้งคือ บุตรชายคนรองแห่งแม่ทัพหลี่จิ้ง (เทพถือเจดีย์บิดาแห่ง[[นาจา]]) นามว่า "ซ่านไฉ่"ซึ่งถวายตัวเป็นพุทธสาวกแห่ง[[พระโพธิสัตว์]]กวนอิม และส่วนเง้กนึ้งบางตำนานกล่าวว่าคือ เจ้าหญิงมังกร นามว่า หลงหนี่ ซึ่งเป็นพระธิดาแห่งเจ้าสมุทรผัวเจี๋ยหลัวปวารณาตนเป็นพุทธสาวกพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่บางตำนานว่า ซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่เป็นพระโพธิสัตว์เลยทีเดียว โดยมีเทวตำนานดังนี้ ตอนที่เจ้าหญิงหลงหนี่อายุได้ 8 พรรษาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจาก[[พระมัญชุศรีโพธิสัตว์]] บังเกิดเห็นดวงตาเห็นธรรมจึงเสด็จขึ้นจากวังบาดาล ยังชมพูทวีปเข้าเฝ้า[[พระพุทธเจ้า|พระพุทธองค์]] และถวายตัวเป็นพุทธสาวก และต่อมาไม่นานสำเร็จมรรคผลเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนซ่านไฉ่นั้นเป็นบุตร 1 ใน 500 คนแห่งผู้เฒ่าฝูเฉิง เกิดเห็นว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยงมาแต่ไหนแต่ไร ด้วยเหตุนี้จึงสนใจศึกษาพระธรรมโดยได้รับคำชี้แนะจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และได้รับการสั่งสอนจากพระภิกษุสงฆ์ถึง 53 รูป ผ่านอุปสรรคต่างๆจนบรรลุสู่การเป็นพระโพธิสัตว์
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กวนอิม"