ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: สร้างการเชื่อมโยง เมาะตะมะ
บรรทัด 42:
พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญแห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า [[พระเจ้าอลองสิธู|อลองคะสิทธู]] ในยุคที่พระองค์ปกครองอาณาจักรพุกามได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของ[[พระเจ้ากยันสิทธะ]] ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 1830]] [[มองโกล]]ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือ[[พระเจ้าฟ้ารั่ว]] หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ[[พ่อขุนรามคำแหง]]ได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนาอาณาจักรมอญอิสระ มีศูนย์กลางที่[[เมาะตะมะ|เมืองเมาะตะมะ]] ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม และในรัชสมัย[[พระเจ้าราชาธิราช]] หงสาวดีรุ่งเรืองจนเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบ[[อ่าวเบงกอล]] มีเมืองท่าหลายเมืองในละแวกใกล้ ๆ และอาณาจักรมอญมารุ่งเรือง เจริญสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2015-2035 สมัย[[พระเจ้าธรรมเจดีย์]] ต่อมาหงสาวดีก็เสียแก่ [[พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] กษัตริย์พม่า ในปี พ.ศ. 2094 จนปี พ.ศ. 2283 [[สมิงทอพุทธิเกศ]] ก็กู้เอกราชคืน มาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตี[[เมืองอังวะ]]อีกด้วย
 
ในปี พ.ศ. 2290 [[พระยาทะละ]]ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 [[พระเจ้าอลองพญา]]ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่าจนกระทั่งทุกวันนี้<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=135&main_menu_id=1 มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ]</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"