ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐกิจการเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
 
FES-GCMD (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางไม่ถูกต้อง
บรรทัด 1:
#REDIRECT [[เศรษฐศาสตร์การเมือง]]
'''เศรษฐกิจการเมือง''' นิยาม เศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) เป็นคำศัพท์ที่ใช้สำหรับการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมว่ามีผลมาจากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่าง “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” หรือกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบกับการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็จะส่งผลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจเช่นกัน เศรษฐกิจการเมืองจึงเป็นคำที่ใช้เรียกการมองสังคมในระดับกว้าง และไม่แยกส่วนระหว่าง “เศรษฐกิจ” กับ “การเมือง” เพราะทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ควบคู่กันและส่งผลสะเทือนต่อกันตลอดเวลา ที่มา การนิยามความหมายของคำว่าเศรษฐกิจการเมืองในลักษณะทั่วไปจะหมายถึงการศึกษาหรือพิจารณาระบบการผลิต การซื้อขาย แลกเปลี่ยน และการบริโภค ที่เข้าไปมีความสัมพันธ์กับตัวบทกฎหมาย นโยบายสาธารณะ และการทำงานของรัฐบาลและพนักงานของรัฐ โดยการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจการเมืองมีจุดเริ่มต้นจากฐานทางปรัชญาเศรษฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ออนทวน เด่อ ม๊องเครซิยอง (Antoine de Montchrestien1575-1621) ได้เริ่มใช้คำว่าเศรษฐกิจการเมืองในหนังสือชื่อ “Traite’de l’economic politique” และคำดังกล่าวถูกนำมาใช้อีกครั้งในปลายศตวรรษที่ 19 ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองในงานของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ และ คาร์ล มาร์กซ์ (John Stuart Mill and Karl Marx) อย่างไรก็ดี งานทางวิชาการหลังจากนั้นเป็นต้นมาเริ่มมีการแบ่งแยกเฉพาะทาง ทำให้การศึกษา “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” ถูกทำให้แยกออกจากกันด้วยเหตุผลและวิธีการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่กระนั้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การศึกษา “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” ได้พยายามกลับเข้ามารวมกันอีกครั้งผ่านทฤษฏีทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization theory) ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เซียน (Keynesian Economy) ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassical economy) และกลุ่มทฤษฏีหลังยุคพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism) อีกจำนวนมาก สำหรับคำว่าเศรษฐกิจการเมืองในระดับสากลจะถูกใช้ในทางสาธารณะ เช่น สำนักข่าวสำคัญอย่าง The Economist เป็นต้น เพื่อกล่าวถึงปัญหา “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” ใน 2 ลักษณะสำคัญ คือ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากกลไกตลาดไม่ทำงาน มีการผูกขาดทางธุรกิจเกิดขึ้นเพราะนักธุรกิจเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองเพื่อออกกฎระเบียบให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของธุรกิจตัวเอง การมีข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน และปัญหาการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เข้าไปแทรกแซงการทำงานระหว่างเอกชน ปัญหาการเมืองอันเนื่องมาจากความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รัฐบาลที่ขนาดใหญ่โตมากเกินไปทำให้ใช้งบประมาณเกินตัว ไม่มีวินัยทางการคลัง และทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงปัญหาทางการเมืองที่มีฐานมาจากปัญหาปากท้อง ค่าเงิน ราคาน้ำมัน และทองที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย สำหรับสังคมไทย คำว่า Political Economy มีการถกเถียงกันว่าควรจะแปลเป็น “เศรษฐศาสตร์การเมือง” หรือ “เศรษฐกิจการเมือง” โดยคำว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองจะมีความหมายในแง่ของการศึกษาผ่านกรอบของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่คำว่าเศรษฐกิจการเมืองจะเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจและระบบการเมือง โดยอนุสรณ์ ลิ่มมณี (2550: 23) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจการเมืองไว้อย่างกว้างๆ ว่าคือการศึกษาถึงความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ ในฐานะที่เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางการเมืองที่มีต่อเศรษฐกิจ หรือผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเมือง หรืออิทธิพลของทั้งสองด้านที่มีต่อเศรษฐกิจและการเมือง หรือด้านใดด้านหนึ่ง นอกจากนี้อาจครอบคลุมถึงผลกระทบของเศรษฐกิจและการเมืองที่มีต่อสังคม และในบางกรณีปัจจัยทางสังคมอาจถูกนำมาพิจารณาร่วมกับเศรษฐกิจและการเมืองด้วยก็ได้ อย่างไรก็ดี ในด้านการรับรู้ของสังคมไทยคำว่า “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” ยังคงถูกแยกออกจากกันไว้ว่าจะเป็นในทางวิชาการหรือในการปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดในสังคมไทยที่มองว่า “การเมืองสกปรก” ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการมักกล่าวอ้างตัวเองว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วต่างได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบจากการเมืองทั้งสิ้น หรืออีกทางหนึ่งนักการเมืองก็มักกล่าวว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะความคิดของสังคมไทยที่ต้องการ “นักการเมืองสะอาด” ซึ่งในความเป็นจริง การเป็นนักการเมืองย่อมมีฐานทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าคนทั่วไป และการเข้ามาเล่นการเมืองเป็นเพียงอีกช่องทางหนึ่งในการแสวงหาผลกำไรทางเศรษฐกิจ ไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของสังคมโดยไม่สนใจผลประโยชน์ตัวเอง ดังนั้น สังคมไทยจึงจำเป็นต้องกลับมามองโลกแห่งความเป็นจริงทางเศรษฐกิจการเมือง และหยุดหลอกตัวเองด้วยความคิดคับแคบที่ว่า “การเมืองสกปรก” หรือความคิดสวยหรูที่ว่า “นักการเมืองสะอาด ทำเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจกับการเมืองถูกทำให้แยกออกจากกัน โดยโลกแห่งความจริงจะต้องมองความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ใกล้ชิดกันอย่างแยกไม่ออก และเมื่อเข้าใจความเป็นจริงเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองแล้ว ประชาชนก็จะสามารถเข้าใจนักธุรกิจและนักการเมือง หรือการประกอบการทางเศรษฐกิจและการทำงานของภาครัฐ เพื่อประชาชนจะสามารถสร้างกลไกในการควบคุมตรวจสอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีอยู่ในสังคมได้ และเพื่อป้องกันวิกฤตทั้งในด้านปัญหาทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมือง
<ref>เอกสารอ้างอิง ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. 2524. “ปรัชญาและวิธีการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์การเมือง”. ใน จากเศรษฐศาสตร์การเมืองถึงสังคมไทย.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วลี. อนุสรณ์ ลิ่มมณี. 2550. ทฤษฏีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Keech, William R. and Michael C. Munger. 2011. “Political Economy”. In Kurian, George Thomas et al.The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.</ref>