ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอโรเพลนเจลลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
G(Bot) (คุย | ส่วนร่วม)
Verifying dtac article designator using AWB
บรรทัด 1:
{{บทความคุณภาพ}}
{{Infobox brand
| logo = [[File:Aeroplane_Jelly_LogoAeroplane Jelly Logo.png]]
| name = แอโรเพลนเจลลี
| type = ขนมขบเคี้ยว
บรรทัด 15:
| website = [http://www.aeroplanejelly.com.au AeroplaneJelly.com.au] }}'''แอโรเพลนเจลลี''' ({{Lang-en|Aeroplane Jelly}}) เป็นยี่ห้อ[[ขนมหวานเจลาติน|เยลลี]]ใน[[ออสเตรเลีย]]ซึ่งคิดค้นโดยเบิร์ท แอปเปิลรอธ (Bert Appleroth) ในปี [[พ.ศ. 2548]] บริษัทเทรเดอร์ส จำกัด ของแอปเปิลรอธที่เริ่มจากการประกอบธุรกิจหลังบ้าน และต่อมากลายเป็นหนึ่งในธุรกิจครอบครัวผู้ผลิตอาหารรายใหญ่รายหนึ่งของออสเตรเลีย ได้ขายธุรกิจให้กับแม็คคอมิค ฟูดส์ ออสเตรเลีย (McCormick Foods Australia) บริษัทในเครือ[[แม็คคอมิคแอนด์คัมพานี]] (McCormick & Company) ของ[[สหรัฐอเมริกา]] แอโรเพลนเจลลีเป็นผู้นำทางการตลาดในธุรกิจเยลลี่ของประเทศออสเตรเลีย โดยมียอดขายมากกว่า 18 ล้านห่อต่อปี มีรส[[แรสเบอร์รี]]เป็นรสชาติที่ขายดีที่สุด<ref name="whistling"/>
 
แอโรเพลนเจลลีได้ออกโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ และมี[[เพลงโฆษณา]]ที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวออสเตรเลีย เพลงโฆษณาดังกล่าวเป็นหนึ่งในเพลงโฆษณาที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในออมเตรเลีย โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1940 ซึ่งมีการเล่นเพลงโฆษณาผ่านสื่อวิทยุมากกว่า 100 ครั้งต่อวัน เพลงโฆษณาดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้ยังหอภาพยนตร์และเสียงของออสเตรเลีย ในหมวดหมู่เสียงแห่งออสเตรเลีย<ref>{{cite web|url=http://nfsa.gov.au/collection/sound/sounds-australia/complete-list/ |title=Sounds of Australia // National Film and Sound Archive, Australia |publisher=Nfsa.gov.au |date= |accessdate=2013-04-24}}</ref> ในปี [[พ.ศ. 2551]]<ref>{{cite web|url=http://aso.gov.au/titles/ads/aeroplane-jelly-song/ |title=National Film and Sound Archive: Aeroplane Jelly on australianscreen online |publisher=Aso.gov.au |date= |accessdate=2013-04-24}}</ref>
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 33:
ผู้เข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายของการแข่งขันในครั้งนั้น มีเด็กอายุ 7 ขวบ ชื่อทอมมี ดอซ ผู้ได้รับเลือกจากแอปเปิลรอธให้ถ่ายภาพเป็น "เด็กผิวปาก" เพื่อใช้ในการโฆษณาบนฉลากเยลลี่ ดอซกล่าวว่าในฐานะผู้เข้ารอบสุดท้าย เขาได้รับเงินจำนวน 10 กินีและแท่นหมึกทำจากหินชั้นสำหรับประดับ แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนอื่นใดจากการที่บริษัทใช้รูปหรือเสียงบันทึกของเขาในการโฆษณา ดอซกล่าวว่า "มันเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดนะ ผมชอบเห็นรูปตัวเอง และชอบร้องเพลง เพื่อนๆ ของผมก็รู้สึกประทับใจ ผมไม่เคยต้องการเงินจากการทำสิ่งเหล่านี้ ผมแค่อยากจะบอกทุกคนว่าผมเป็นเด็กชายบนห่อแอโรเพลนเจลลีนะ<ref name="whistling">{{Cite news|first=Maxine |last=Frith |title= Whistling boy who took flight |work=News |publisher=''Sun Herald'' |date=2007-10-14 |page=41 }}</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2509]] ได้มีการบันทึกเพลงโฆษณา[[ภาษากรีก]]สมัยใหม่ [[ภาษาอิตาลี]] [[ภาษารัสเซีย]] และภาษา[[ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชียน|ยูโกสลาฟ]] และกลายมาเป็นโฆษณาชิ้นแรก ๆ ที่มุ่งเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์<ref name="lite">{{Cite news|title=Lite launch |publisher=''Foodweek'' |date=2002-10-14}}</ref> โฆษณาชิ้นนี้มีหลายเวอร์ชัน และได้ถูกบันทึกโดย [[ดิแอนดริวส์ซิสเตอร์]] และ[[วิคเตอร์ บอร์จ]].<ref name="whistling"/> ในช่วงที่โฆษณาชิ้นนี้ได้รับความนิยมสูงสุดประมาณทศวรรษที่ 1940 มีการเล่นเพลงโฆษณานี้วันละกว่า 100 ครั้งตามสถานีวิทยุต่าง ๆ นับเป็นเป็นหนึ่งในโฆษณาที่มีการเผยแพร่ยาวนานที่สุดในประเทศออสเตรเลีย<ref name="whistling"/> ในปี [[พ.ศ. 2546]] เพื่อเป็นฉลองแอโรเพลนเจลลีครบรอบ 75 ปี ได้มีการจัดการแข่งขันระดับชาติเพื่อบันทึกเพลงโฆษณาเวอร์ชันใหม่ และจัดหาทุนสมทบแก่มูลนิธิ Starlight Children<ref>{{Cite news|title=You'll like this contest |publisher=''Mt Druitt Standard'' |date=2002-09-04 |page=24}}</ref> โฆษกของแม็คคอมิคกล่าวว่ามีผู้สมัครอย่างล้นหลาม<ref name="lite"/> ผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนั้นคือโรงเรียน Palm Beach State แห่ง[[รัฐควีนส์แลนด์]] ซึ่งได้บันทึกเสียงเพลงโฆษณาดังกล่าวคู่กับโรงเรียนประถม Park Ridge จาก[[รัฐวิคตอเรีย]]<ref name="icon"/>
 
บริษัทตัวแทนโฆษณาในกรุง[[บริสเบน]] กล่าวว่าเพลงโฆษณาของแอโรเพลนเจลลีเป็นหนึ่งในเพลงโฆษณาที่ดีที่สุด และคำพูดจากโฆษณาเป็นคำพูดที่ติดหูมากที่สุดในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เหนือกว่าเพลงโฆษณารองชนะเลิศ "Louie the Fly" ของ[[มอร์ธีน]]<ref>{{Cite news|first=Jacinta |last=Koch |title=Louie tops ad poll ... but wait, there's more |publisher=''Courier Mail'' |date=1999-11-30 |page=7}}</ref> ในปี [[พ.ศ. 2551]] เพลงโฆษณาฉบับบันทึกเสียงโดยจอย คิง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ยังหอภาพยนตร์และเสียงของออสเตรเลีย ในหมวดหมู่เสียงแห่งออสเตรเลีย<ref>{{Cite web|url=http://www.nfsa.gov.au/whats_on/soundsofaustralia/2008.html |title=2008 additions |accessdate=2008-06-20 |publisher=National Film and Sound Archive}}</ref><ref>{{Cite web|url=http://www.abc.net.au/am/content/2008/s2279253.htm |title=Aussie sounds protected forever |accessdate=2008-06-20 |last=Edwards |first=Michael |date=2008-06-19 |work= |publisher=ABC Radio AM Program}}</ref>
 
ใน [[พ.ศ. 2485]] มีการแนะนำ[[มาสคอต]]ของบริษัทคือ เครื่องบินเบอร์ตี (Bertie the Aeroplane)<ref name="icon">{{cite news |title=Icon's change of tune |publisher=Fairfield Advance |date=2003-01-29 |page=15}}</ref> เนื่องจากตั้งชื่อตามเบิร์ธ แอปเปิลรอธ เบิร์ธจึงเป็นผู้ร้องเพลงโฆษณาตามการโฆษณาในโรงภาพยนตร์ด้วยตนเอง<ref>{{Cite news|title=Gazing into a jelly crystal's past |work= |publisher=''Herald and Weekly Times'' |date=2000-07-19 |page=76}}</ref> และต่อมาเครื่องบินเบอร์ตีก็ได้ออกโฆษณาโทรทัศน์ และปรากฏตัวอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2539]] บนฉลากเยลลีและบนหน้าเวปไซต์ของแอโรเพลนเจลลี<ref>{{Cite web|url=http://www.aeroplanejelly.com.au/adults/downloads/aeroplane-jelly-fact-sheet.pdf |title=Aeroplane Jelly fact sheet |accessdate=2008-10-26 |publisher=Aeroplane Jelly |format=PDF}}</ref>
 
== ผลิตภัณฑ์ ==
อุตสาหกรรมเยลลีในออสเตรเลียมีมูลค่าประมาณ $21&nbsp;ล้าน ต่อปี โดยมีแอโรเพลนเจลลีเป็นผู้นำตลาดในสัดส่วน 25% ของตลาด <ref>{{Cite news|first=Lyn |last=White |title=Music quest mark's icons 75th |publisher=''Foodweek'' |date=2002-09-02}}</ref> นับเป็นจำนวนยอดขายกว่า 19 ล้านห่อต่อปี<ref name="whistling"/> โดยมีรสแรสเบอร์รีเป็นรสที่มียอดขายสูงสุด นับเป็นจำนวนเกือบ 2 ล้านห่อต่อปี ในปี [[พ.ศ. 2496]] แอโรเพลนเจลลีเริ่มผลิตเยลลีแคลอรีต่ำเป็นรายแรกของออสเตรเลีย<ref name=timeline>{{Cite web|url=http://www.aeroplanejelly.com.au/adults/timeline/ |title=Aeroplane Jelly timeline |accessdate=2008-10-26 |publisher=Aeroplane Jelly| archiveurl= http://web.archive.org/web/20081030093957/http://www.aeroplanejelly.com.au/adults/timeline/| archivedate= 30 October 2008 <!--DASHBot-->| deadurl= no}}</ref> เพื่อเป็นการฉลองสองศตวรรษออสเตรเลีย ในปี [[พ.ศ. 2541]] ได้มีการผลิตเยลลีรสชาติพิเศษสำหรับออสเตรเลียเช่นรสชาติ [[Lilly Pilly]] รสชาติ [[Quandong]] และรสชาติ [[Austromyrtus dulcis|Midjinberry]] รสชาติเหล่านี้ได้เลิกผลิตในปี [[พ.ศ. 2545]] ปัจจุบันแอโรเพลนเจลลีประกอบกิจการภายใต้บริษัทแม็คคอมิคส์ฟูดส์ของอเมริกัน หลังจากที่เดิมประกอบกิจการในบริษัทเทรเดอร์ส<ref name=timeline/> หนึ่งในรสชาติที่ขายได้น้อยที่สุดได้แก่รสชาติมะนาว ซึ่งขายได้กว่า 100,000 ห่อต่อปี
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 48:
* {{Official|http://www.aeroplanejelly.com.au/}}
* [http://www.aso.gov.au/titles/ads/aeroplane-jelly-song/ Aeroplane Jelly Song] at [http://www.aso.gov.au/ Australian Screen Online]
 
{{Link GA|en}}
 
[[หมวดหมู่:ชื่อตราสินค้าขนมขบเคี้ยว]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมออสเตรเลีย]]
 
{{Link GA|en}}