แอโรเพลนเจลลี (อังกฤษ: Aeroplane Jelly) เป็นยี่ห้อเยลลีในออสเตรเลียซึ่งคิดค้นโดยเบิร์ท แอปเปิลรอธ (Bert Appleroth) ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทเทรเดอร์ส จำกัด ของแอปเปิลรอธที่เริ่มจากการประกอบธุรกิจหลังบ้าน และต่อมากลายเป็นหนึ่งในธุรกิจครอบครัวผู้ผลิตอาหารรายใหญ่รายหนึ่งของออสเตรเลีย ได้ขายธุรกิจให้กับแม็คคอมิค ฟูดส์ ออสเตรเลีย (McCormick Foods Australia) บริษัทในเครือแม็คคอมิคแอนด์คัมพานี (McCormick & Company) ของสหรัฐอเมริกา แอโรเพลนเจลลีเป็นผู้นำทางการตลาดในธุรกิจเยลลี่ของประเทศออสเตรเลีย โดยมียอดขายมากกว่า 18 ล้านห่อต่อปี มีรสแรสเบอร์รีเป็นรสชาติที่ขายดีที่สุด[2]

แอโรเพลนเจลลี
ชนิดสินค้าขนมขบเคี้ยว
เจ้าของปัจจุบันแม็คคอมิค ฟูดส์ ออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลีย
เริ่มจำหน่ายพ.ศ. 2470[1]
ตลาดออสเตรเลีย
สำนวนติดปาก"I like Aeroplane Jelly" (ฉันชอบแอโรเพลนเจลลี)
เว็บไซต์AeroplaneJelly.com.au

แอโรเพลนเจลลีได้ออกโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ และมีเพลงโฆษณาที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวออสเตรเลีย เพลงโฆษณาดังกล่าวเป็นหนึ่งในเพลงโฆษณาที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในออมเตรเลีย โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1940 ซึ่งมีการเล่นเพลงโฆษณาผ่านสื่อวิทยุมากกว่า 100 ครั้งต่อวัน เพลงโฆษณาดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้ยังหอภาพยนตร์และเสียงของออสเตรเลีย ในหมวดหมู่เสียงแห่งออสเตรเลีย[3] ในปี พ.ศ. 2551[4]

ประวัติ แก้

อดอลฟัส เฮอร์เบิร์ต เฟรดเดอริก นอร์แมน แอปเปิลรอธ (Adolphus Herbert Frederick Norman Appleroth) หรือรู้จักกันในนามเบิร์ท แอปเปิลรอธ มีอาชีพเป็นผู้ควบคุมรถราง เขาได้ผลิตเยลลี่ใสโดยอาศัยเจลาตินและน้ำตาลในอ่างอาบน้ำของเขา ใช้วิธีเร่ขายด้วยการเคาะประตูบ้าน โดยใช้เส้นทางรถรางเดินทางไปรอบ ๆ ซิดนีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 แอปเปิลรอธเช่าสี่งปลูกสร้างและที่ดินเพื่อผลิตเยลลี และได้ร่วมกับอัลเบิร์ต ฟรานซิส เลเนิร์ตส (Albert Francis Lenertz) ก่อตั้งบริษัทเทรเดอร์ส จำกัด (Traders Pty Ltd) ในปี พ.ศ. 2449 ในยุคนั้นเครื่องบินเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น แอปเปิลรอธผู้ชื่นชอบเรื่องการบินจึงตั้งชื่อสินค้าว่า "แอโรเพลนเจลลี"[5] แอปเปิลรอธใช้เครื่องบินเดอฮาวิแลนด์ไทเกอร์มอธในการกระจายสินค้าไปตามชนบทต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2477 การโฆษณาอันผาดโผนและการทำการตลาดของแอโรเพลนเจลลี ทำให้สินค้าดังกล่าวกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติ[5] เช่นเดียวกับโฮลเดน และเวจเจไมท์

บริษัทของแอปเปิลรอธ ชื่อบริษัทเทรดเดอร์ จำกัด มีบุตรชายคือเบิร์ตที่สอง และเบิร์ตที่สามซึ่งเป็นหลานเป็นผู้ดำเนินกิจการ หลังจากที่เบิร์ตที่สามเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2528 กิจการส่วนของเขาได้สืบทอดโดยวัลผู้เป็นภรรยา ฮิวจ์ น็อก กรรมการผู้จัดการของเทรดเดอร์ กล่าวว่าตระกูลแอปเปิลรอธเป็นเพื่อนกับอดีตกรรมการผู้จัดการของแม็กคอมิกแอนด์คัมพานี ทำให้แม็กคอมิกเปิดการเจรจาขอซื้อบริษัทดังกล่าว[6] ในที่สุดแม็คคอมิกฟูดส์ออสเตรเลีย บริษัทออสเตรเลียในเครือแม็กคอมิกแอนด์คัมพานีของอเมริกา ได้ซื้อแอโรเพลนเจลลีไปใน พ.ศ. 2548

โรงงานแห่งแรกของแอโรเพลนเจลลีตั้งอยู่ที่เมืองแพดดิงตัน รัฐนิวเซาท์เวลส์[2] ชานเมืองซิดนีย์ แต่ได้ย้ายการผลิตไปอยู่ที่เมืองเวสไรด์ในรัฐเดียวกันเป็นระยะเวลา 33 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 แม็คคอมิกฟูดส์ออสเตรเลียได้ย้ายฐานการผลิตของแอโรเพลนเจลลีไปยังเมืองเคลย์ตัน รัฐวิคตอเรีย เพื่อรวมศูนย์กลางการผลิตของบริษัทแม่ในรัฐวิคตอเรีย[7] และเริ่มผลิตจากที่ดังกล่าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การโฆษณา แก้

อัลเบิร์ด ฟรานซิส เลเนิร์ตส์ (พ.ศ. 2434-2486) หุ้นส่วนธุรกิจของแอปเปิลรอธเป็นผู้แต่งเพลงโฆษณาของแอโรเพลนเจลลี[5] โดยเป็นการนำเพลงโฆษณาการเมืองที่เลเนิร์ตส์เคยแต่งให้นายกออสเตรเลีย บิลลี ฮิวจ์ส[8] มีข้อพิพาทเล็กน้อยเกี่ยวกับผู้แต่งเพลงดังกล่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ ในช่วงปี พ.ศ. 2531 โดยนักแสดงวอร์ดวิลชื่อเพกกี ทอร์น นักเปียโนชื่อเลส วูดส์ และชาวนิวซีแลนด์ชื่อบิล ไวท์ ต่างอ้างความเป็นเจ้าของในเพลงดังกล่าว[9][10]

 
ภาพปกโน้ตเพลงแอโรเพลนเจลลี พร้อมคำร้อง

เพลงโฆษณาถูกร้องครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ในรายการวิทยุกูดีรีฟ โดยเด็กอายุ 3 ขวบชื่อเจนนิเฟอร์ เพย์เคล หลังจากที่งานโฆษณาชิ้นนี้ได้ออกอากาศ เพย์เคลได้รับเชิญไปยังสตูดิโอ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อไปร้องเพลงโฆษณา แต่แม่ของเธอไม่ยินดีต่อสัญญาให้เธอร้องเพลงต่อ เธอเล่าว่าเพราะว่าแม่ของเธอเห็นเชอร์ลีย์ เทมเพิลมีชื่อเสียงมาก และกังวลว่าเธอจะกลายเป็นคนมีชื่อเสียงทำนองเดียวกับเทมเพิล[9] แอโรเพลนเจลลีจึงได้จัดรายการค้นหาผู้มีความสามารถขึ้นในซิดนีย์เพื่อเฟ้นหานักร้องคนใหม่ โดยมีผู้ชนะคือจอย คิง อายุ 5 ขวบ ซึ่งได้บันทึกเสียงโฆษณาดังกล่าวใน พ.ศ. 2480[11]

ผู้เข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายของการแข่งขันในครั้งนั้น มีเด็กอายุ 7 ขวบ ชื่อทอมมี ดอซ ผู้ได้รับเลือกจากแอปเปิลรอธให้ถ่ายภาพเป็น "เด็กผิวปาก" เพื่อใช้ในการโฆษณาบนฉลากเยลลี่ ดอซกล่าวว่าในฐานะผู้เข้ารอบสุดท้าย เขาได้รับเงินจำนวน 10 กินีและแท่นหมึกทำจากหินชั้นสำหรับประดับ แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนอื่นใดจากการที่บริษัทใช้รูปหรือเสียงบันทึกของเขาในการโฆษณา ดอซกล่าวว่า "มันเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดนะ ผมชอบเห็นรูปตัวเอง และชอบร้องเพลง เพื่อนๆ ของผมก็รู้สึกประทับใจ ผมไม่เคยต้องการเงินจากการทำสิ่งเหล่านี้ ผมแค่อยากจะบอกทุกคนว่าผมเป็นเด็กชายบนห่อแอโรเพลนเจลลีนะ[2]

ในปี พ.ศ. 2509 ได้มีการบันทึกเพลงโฆษณาภาษากรีกสมัยใหม่ ภาษาอิตาลี ภาษารัสเซีย และภาษายูโกสลาฟ และกลายมาเป็นโฆษณาชิ้นแรก ๆ ที่มุ่งเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์[12] โฆษณาชิ้นนี้มีหลายเวอร์ชัน และได้ถูกบันทึกโดย ดิแอนดริวส์ซิสเตอร์ และวิคเตอร์ บอร์จ.[2] ในช่วงที่โฆษณาชิ้นนี้ได้รับความนิยมสูงสุดประมาณทศวรรษที่ 1940 มีการเล่นเพลงโฆษณานี้วันละกว่า 100 ครั้งตามสถานีวิทยุต่าง ๆ นับเป็นเป็นหนึ่งในโฆษณาที่มีการเผยแพร่ยาวนานที่สุดในประเทศออสเตรเลีย[2] ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นฉลองแอโรเพลนเจลลีครบรอบ 75 ปี ได้มีการจัดการแข่งขันระดับชาติเพื่อบันทึกเพลงโฆษณาเวอร์ชันใหม่ และจัดหาทุนสมทบแก่มูลนิธิ Starlight Children[13] โฆษกของแม็คคอมิคกล่าวว่ามีผู้สมัครอย่างล้นหลาม[12] ผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนั้นคือโรงเรียน Palm Beach State แห่งรัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งได้บันทึกเสียงเพลงโฆษณาดังกล่าวคู่กับโรงเรียนประถม Park Ridge จากรัฐวิคตอเรีย[14]

บริษัทตัวแทนโฆษณาในกรุงบริสเบน กล่าวว่าเพลงโฆษณาของแอโรเพลนเจลลีเป็นหนึ่งในเพลงโฆษณาที่ดีที่สุด และคำพูดจากโฆษณาเป็นคำพูดที่ติดหูมากที่สุดในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เหนือกว่าเพลงโฆษณารองชนะเลิศ "Louie the Fly" ของมอร์ธีน[15] ในปี พ.ศ. 2551 เพลงโฆษณาฉบับบันทึกเสียงโดยจอย คิง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ยังหอภาพยนตร์และเสียงของออสเตรเลีย ในหมวดหมู่เสียงแห่งออสเตรเลีย[16][17]

ใน พ.ศ. 2485 มีการแนะนำมาสคอตของบริษัทคือ เครื่องบินเบอร์ตี (Bertie the Aeroplane)[14] เนื่องจากตั้งชื่อตามเบิร์ธ แอปเปิลรอธ เบิร์ธจึงเป็นผู้ร้องเพลงโฆษณาตามการโฆษณาในโรงภาพยนตร์ด้วยตนเอง[18] และต่อมาเครื่องบินเบอร์ตีก็ได้ออกโฆษณาโทรทัศน์ และปรากฏตัวอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 บนฉลากเยลลีและบนหน้าเวปไซต์ของแอโรเพลนเจลลี[19]

ผลิตภัณฑ์ แก้

อุตสาหกรรมเยลลีในออสเตรเลียมีมูลค่าประมาณ $21 ล้าน ต่อปี โดยมีแอโรเพลนเจลลีเป็นผู้นำตลาดในสัดส่วน 25% ของตลาด [20] นับเป็นจำนวนยอดขายกว่า 19 ล้านห่อต่อปี[2] โดยมีรสแรสเบอร์รีเป็นรสที่มียอดขายสูงสุด นับเป็นจำนวนเกือบ 2 ล้านห่อต่อปี ในปี พ.ศ. 2496 แอโรเพลนเจลลีเริ่มผลิตเยลลีแคลอรีต่ำเป็นรายแรกของออสเตรเลีย[21] เพื่อเป็นการฉลองสองศตวรรษออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการผลิตเยลลีรสชาติพิเศษสำหรับออสเตรเลียเช่นรสชาติ Lilly Pilly รสชาติ Quandong และรสชาติ Midjinberry รสชาติเหล่านี้ได้เลิกผลิตในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันแอโรเพลนเจลลีประกอบกิจการภายใต้บริษัทแม็คคอมิคส์ฟูดส์ของอเมริกัน หลังจากที่เดิมประกอบกิจการในบริษัทเทรเดอร์ส[21] หนึ่งในรสชาติที่ขายได้น้อยที่สุดได้แก่รสชาติมะนาว ซึ่งขายได้กว่า 100,000 ห่อต่อปี

อ้างอิง แก้

  1. "About Us". Aeroplane Jelly. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Frith, Maxine (2007-10-14). "Whistling boy who took flight". News. Sun Herald. p. 41.
  3. "Sounds of Australia // National Film and Sound Archive, Australia". Nfsa.gov.au. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  4. "National Film and Sound Archive: Aeroplane Jelly on australianscreen online". Aso.gov.au. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  5. 5.0 5.1 5.2 Brunton, Paul. "Appleroth, Adolphus Herbert Frederick Norman (1886 - 1952) Biographical Entry". Australian Dictionary of Biography Online. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  6. Burbury, Rochelle (1994-09-02). "US gets the taste for an Australian icon". News. The Age. p. 1.
  7. "NSW: Aeroplane Jelly makers relocate to Vic, lose 34 NSW jobs". Australian Associated Press General News. 2006-02-01.
  8. "Lenertz". Music Australia. 2002-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-03. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  9. 9.0 9.1 "Aeroplane Jelly girl never set to become a child star". News and Features. Sydney Morning Herald. 1988-11-14. p. 2.
  10. Totaro, Paola (1988-10-31). "We can all sing it – but who really wrote it?". News and Features. Sydney Morning Herald. p. 2.
  11. "Aeroplane Jelly singer dies". Daily Telegraph. 1996-08-09. p. 15.
  12. 12.0 12.1 "Lite launch". Foodweek. 2002-10-14.
  13. "You'll like this contest". Mt Druitt Standard. 2002-09-04. p. 24.
  14. 14.0 14.1 "Icon's change of tune". Fairfield Advance. 2003-01-29. p. 15.
  15. Koch, Jacinta (1999-11-30). "Louie tops ad poll ... but wait, there's more". Courier Mail. p. 7.
  16. "2008 additions". National Film and Sound Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-20. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.
  17. Edwards, Michael (2008-06-19). "Aussie sounds protected forever". ABC Radio AM Program. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.
  18. "Gazing into a jelly crystal's past". Herald and Weekly Times. 2000-07-19. p. 76.
  19. "Aeroplane Jelly fact sheet" (PDF). Aeroplane Jelly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  20. White, Lyn (2002-09-02). "Music quest mark's icons 75th". Foodweek.
  21. 21.0 21.1 "Aeroplane Jelly timeline". Aeroplane Jelly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้