ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Kimsk112 (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงค์ไปที่ Von Neumann architecture
บรรทัด 2:
 
==ภาพรวม==
กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเป็นภาวะนามธรรมของระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น [[ตัวแบบของฟอน นอยแมน]] ([[:en:Von Neumann modelarchitecture|Von Neumann architecture]]) เป็นกระบวนทัศน์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบลำดับ สำหรับ[[การคำนวณแบบคู่ขนาน]]มีกระบวนทัศน์ที่เป็นไปได้หลายกระบวนทัศน์ซึ่งมีหลายวิธีการที่โปรเซสเซอร์สามารถติดต่อกันได้ วิธีการพื้นฐานเช่น การใช้หน่วยความจำร่วมกัน การส่งข้อมูลให้กับหน่วยความจำอื่น หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน
[[ภาษาโปรแกรม]]หนึ่ง ๆ สามารถรองรับ[[กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมหลายกระบวนทัศน์]] ตัวอย่างเช่น ภาษา [[C++]] หรือ [[Object Pascal]] สามารถใช้เขียนได้ทั้งแบบ[[การโปรแกรมเชิงกระบวนการ]] และ[[การโปรแกรมเชิงวัตถุ]] หรือทั้งสองแบบในโปรแกรมเดียวกัน ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์ และผู้เขียนโปรแกรมจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าโปรแกรมจะเขียนแบบใด
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ผู้เขียนโปรแกรมจะมองโปรแกรมในลักษณะที่เป็นการทำงานร่วมกันของวัตถุ ในขณะที่[[การโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน]]จะมองการทำงานของโปรแกรมในลักษณะลำดับของการประเมินฟังก์ชันแบบไม่มีสถานะ เมื่อเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือระบบให้ประมวลผลแบบหลายโปรเซสเซอร์ [[การโปรแกรมเชิงกระบวนงาน]] ผู้เขียนโปรแกรมจะมองแอพลิเคชันในลักษณะเซตของกระบวนงานที่ทำพร้อม ๆ กัน ซึ่งทำงานบน[[โครงสร้างข้อมูล]]ที่ใช้ร่วมกันทางตรรกะ