ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Place_PhnomrungPrasat_Scenic.jpg|thumb|250px|ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อมองจากทางขึ้นด้านหน้า]]
[[ไฟล์:Obj_Naraibantomsin.jpg|thumb|250px|[[ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์]]]]
 
'''อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง''' หรือ '''ปราสาทหินพนมรุ้ง''' ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก [[อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดบุรีรัมย์)|อำเภอเฉลิมพระเกียรติ]] ห่างจากตัว[[อำเภอเมืองบุรีรัมย์|เมืองบุรีรัมย์]]ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอด[[ภูเขาไฟ]]ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจาก[[ระดับน้ำทะเลปานกลาง]]) คำว่า '''พนมรุ้ง''' นั้น มาจาก[[ภาษาเขมร]] คำว่า '''วนํรุง''' แปลว่า '''ภูเขาใหญ่'''
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Place_PhnomrungPrasat.jpg|thumb|250px| ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง]]
== ประวัติ ==
 
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็น[[โบสถ์พราหมณ์]][[ลัทธิไศวะ]] มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 [[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกาย[[มหายาน]] เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็น[[วัด]][[มหายาน]] ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
 
เส้น 25 ⟶ 27:
 
=== สะพานนาคราช ===
[[ไฟล์:Place_PhnomrungPrasat_Kangaruha.jpg|thumb|250px| ศิวลึงค์ประดิษฐานภายในห้องครรภคฤหะ]]
ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่า'''เสานางเรียง''' จำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา
 
เส้น 31 ⟶ 32:
 
=== ตัวปราสาท ===
[[ไฟล์:Place_PhnomrungPrasat_Kangaruha.jpg|thumb|left|250px| ศิวลึงค์ประดิษฐานภายในห้องครรภคฤหะ]]
[[ไฟล์:Main Building of Phanom Rung.jpg|thumb|250px|right|ปราสาทประธาน ปราสาทหินพนมรุ้ง]]
ปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็น[[มณฑป]]โดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย '''นเรนทราทิตย์''' ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17
เส้น 51 ⟶ 53:
 
ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า '''โรงช้างเผือก''' สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของ[[ระเบียงคด]] อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
[[ไฟล์:Backward of Phanom Rung.jpg|thumb|250px|rightleft|ด้านหลังทางเข้า[[ปราสาทหินพนมรุ้ง]] สังเกตเห็นประตู 15 ช่อง ตรงกลางคือ [[ศิวลึงค์]] และ '''โคนนทิ''']]
 
== การบูรณะและการเปิดอุทยาน ==
เส้น 67 ⟶ 69:
 
== เหตุการณ์ทุบทำลาย ==
[[ไฟล์:Place_PhnomrungDestruction.jpg|thumb|250px|นายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบความเสียหาย]]
คืนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนเข้าทุบทำลาย รูปปั้นทวารบาลและสัตว์พาหนะ รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายศิวลึงค์ โดยลักษณะเป็นการทำลายแขนเทวรูปก่อน แล้วจึงนำแขนเทวรูปไปทุบกับใบหน้าสัตว์พาหนะอื่นๆ โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์อิสระกล่าวว่า การใช้ข้อมือของของทวารบาลเป็นตัวทำลาย นั้นเพราะน่าจะเป็นวัสดุแข็งที่พอจะทำลายสิงห์ ทำลายนาค หรือ[[โคนนทิ]]ได้ คงไม่ใช่เรื่องของรายละเอียดที่จะต้องเน้นว่าเอามือทวารบาลไปทุบ<ref>[http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000059276 ‘พนมรุ้ง’ หลังประตูบานที่15...บูชาหรือทำลาย] ผู้จัดการรายวัน - 22 พฤษภาคม 2551 08:12 น.</ref>