ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญต๋วน บุญอิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dahlfred (คุย | ส่วนร่วม)
Dahlfred (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48:
 
พระยาสารสินซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ ศจ. บุญต๋วน บุญอิต ได้ถวายที่ดินแปลงหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางวา เลขที่ 5 ถนนศรีเวียง ตำบลบางรัก กรุงเทพมหานคร เหลืออยู่ จึงได้ยกให้แก่คณะทรัสตีหรือมูลนิธี แต่ขอให้นามพระวิหารนี้ว่า “พระวิหาร สืบสัมพันธวงศ์” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณ “สืบ” บุตรชายหัวปีของท่านเจ้าคุณ เพื่อสร้างพระวิหารของพระผู้เป็นเจ้าและได้บริจาคเงินครึ่งหนึ่งเพื่อการก่อสร้างพระวิหารนี้ ส่วนที่เหลืออีกครึ่ง [[คริสเตียน]]ไทยทั้งหลายได้ช่วยกันบริจาคจนการก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงและปรากฏมาจนทุกวันนี้ว่าเป็นพระวิหารของคนไทย เพราะสร้างขึ้นด้วยงบประมาณของคน[[ไทยสยาม]]เองและผู้ควบคุมการก่อสร้างก็เป็นหลานเขยของท่านพระยาสารสินที่ชื่อนายกี้ เมื่อการก่อสร้างคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์เสร็จ ความหวังอันแรกเริ่มนั้นก็คือ จะเชิญให้อาจารย์บุญต๋วน บุญอิต มาเป็น
[[ศิษยาภิบาล]] เพราะท่านผู้นี้ได้เคยเป็นศิษยาภิบาลในสหรัฐมาแล้ว แต่เนื่องจากท่านได้เสียชีวิตลงในขณะที่ทำการสร้างพระวิหารแห่งนี้อยู่ จึงเป็นอันหมดหวัง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ ญ่วน เตียงหยก มาเป็นศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรแห่งนี้ มีช่วงหนึ่งที่โบสถ์สืบสัมพันธวงศ์ เคยสัมพันธวงศ์เป็นคริสตจักรนานาชาติแห่งกรุงเทพด้วย ต่อมาภายหลังคริสตจักรนานาชาตินั้น ได้ย้ายไปใช้อาคารของคริสตจักรวัฒนา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986
 
==การตาย==
ศจ. บุญต๋วน บุญอิต ล้มป่วยด้วยโรค[[อหิวาตกโรค]] เนื่องจากท่านลงมือดำน้ำในคลองน้ำสาทร เพื่อคัดเลือกไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างด้วยตนเอง จนเสียชีวิตด้วยโรคอหิวาต์ท่ามกลางงานก่อสร้างที่ยังไม่สำเร็จ ศจ.บุญต๋วน บุญอิต เสียชีวิตภายใน 10 วัน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1903 รวมสิริอายุได้ 39 ปี ดร.เจ เอ เอกิ้น บันทึกเหตุการณ์ในวันนั้นไว้ว่า “เรายังจดจำได้ว่า เป็นคืนที่น่าหวาดกลัวยิ่ง เมื่อวิญญาณจะต้องจากไปในท่ามกลางความวิปริตของธรรมชาติ แต่ภรรยาและมารดารที่ดี นางกิมฮ๊อกได้ตั้งอยู่ในความสงบ และชุมนุมบรรดามิตรสหายในห้องรับแขกเล็กๆ ร้องเพลงแสดงความเชื่อของคริสเตียน ความหวัง และความประเล้าประโลมใจตลอดเวลาที่พายุแรงจัดกำลังพัดกระพืออย่างหนักทุกคนได้ร้องเพลงหลายบท” เช่น เพลง[[พระคุณพระเจ้า]]