ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรรถกถา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BlackKoro (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
[[ไฟล์:พุทธโฆษาจาริย.JPG|thumb|left|คัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของ[[พระพุทธโฆษาจารย์โฆสะ]] ที่แปลยกจาก[[ภาษาสิงหล]]ขึ้นสู่[[ภาษาบาลี]]]]
'''อรรถกถา''' ({{lang-pi|Atthakatha}}; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือ[[คัมภีร์]]ที่รวบรวมคำอธิบายความใน[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]] เรียกว่า '''คัมภีร์อรรถกถา''' บ้าง '''[[ปกรณ์]]อรรถกถา''' บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา
 
คัมภีร์อรรถกถา แต่งโดย '''พระอรรถกถาจารย์''' ซึ่งมีเป็นจำนวนหลายท่านมาก และอรรถกถาจารย์ได้แต่งหนังสืออรรถกถาอธิบายไว้หมดครบทั้งหมด ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาเป็นหนังสือที่แต่งอธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ๆศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดง[[ทัศนะ]]และ[[วินิจฉัย]]ของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง<ref>_______. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546</ref> เป็นหนังสือที่มีอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกรุ่นหลัง ๆ เป็นอย่างยิ่ง
 
ลักษณะการอธิบายความใน[[พระไตรปิฎก]]ของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบาง[[ศัพท์]] [[วลี]] [[ประโยค]] หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง<ref>ณรงค์ จิตฺตโสภโณ, พระมหา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์[[มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]], 2527</ref>
บรรทัด 10:
{{โครงส่วน}}
 
ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 มติ คือ มติแรกเห็นว่าอรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มติหลังเห็นว่าอรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] [[พ.ศ. 236]] (ตามข้อความในคัมภีร์[[มหาวงศ์]]และสัทธัมมสังคหะ) แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหายจากประเทศอินเดียไป เหลือเพียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่ง[[พระมหินทะเถระนทเถระ]]ได้นำอรรถกถาในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกาตั้งแต่สมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] ([[พ.ศ. 236]])
 
ดังนั้นในปี [[พ.ศ. 945]] [[พระพุทธโฆสะ]] พระภิกษุชาวอินเดีย จึงได้รับอาราธนามาที่เกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่[[ภาษาบาลี]] ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆษาจารย์โฆสะ<ref>เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ''ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท''. วิทยานิพนธ์ปริญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524. 184 หน้า. (อัดสำเนา)</ref>
 
ทั้งนี้ อรรถกถาภาษาสิงหลโบราณที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นต่อมา เช่น [[พระพุทธโฆสะ]] และ[[พระธัมมปาละ]] ได้ทำการเรียบเรียงขึ้นเป็นภาษามคธนั้น ต้นฉบับได้สูญหายไปหมดแล้ว แต่จากข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ สามารถจำแนกแยกอรรถกถาโบราณเหล่านี้ออกเป็น 3 หมวด คือ
 
=== อรรถกถาวินัยปิฎก ===
บรรทัด 64:
== คัมภีร์อรรถกถา[[พระไตรปิฎก]] (บางส่วน) ==
 
อรรถกถาที่พระพุทธโฆสาจารย์โฆสะ พระพุทธทัตตะ พระธรรมปาละ พระอุปเสนปเสน และพระมหานามะ เป็นต้น แต่งและแปลเรียบเรียงจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถาภาษาสิงหล เรียกว่า อภินวอรรถกถา หรืออรรถกถาใหม่ ซึ่งอรรถกถาของยุคอภินวอรรถกถาเริ่มจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้นมาจัดว่าเป็นยุคที่วงการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาแสดงมติว่าเป็น“ยุคทองของอรรถกถา”เพราะมีอรรถกถาเกิดขึ้นมากมาย โดยเนื้อหาของอรรถกถาเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันในลักษณะอธิบายความที่สื่อต่อกันเป็นลำดับตามกระแสความ ซึ่งมีทั้งอรรถกถาพระวินัยปิฎก อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกและอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก <ref> วรรณคดีบาลี. หน้า 68</ref>
 
ต่อไปนี้คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีทั้งหมด 23 คัมภีร์ โดยอาจมีชื่อคัมภีร์ซ้ำกันบ้าง
บรรทัด 127:
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]] คัมภีร์หลักทางพระพุทธศาสนา (คัมภีร์ชั้นต้น หรือชั้น 1)
* [[ฎีกา (คัมภีร์)|ฎีกา]] คัมภีร์อธิบายความในอรรถกถาหรือฎีกา (คัมภีร์ชั้น 3)
* [[อนุฎีกา]] คัมภีร์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมฎีกา
บรรทัด 136:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== บรรณานุกรม ==
* [[พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)]], ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
เส้น 149 ⟶ 150:
* [[:s:มธุรัตถวิลาสินี|มธุรัตถวิลาสินี]] อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์
 
[[หมวดหมู่:อรรถกถา|* ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]
{{โครงพระพุทธศาสนา}}