ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมาปฏิปทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Buaready (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 182.53.174.113
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
'''[[อนิจจัง]]'''กฎแห่งความไม่แน่นอน(อนิจจังทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือ'''[[วัฏฏะ]]''' โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม ทำให้เกิด'''สันตติ''' การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย
 
'''[[ทุกขัง]]''' ความบีบคั้นทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยากของสรรพสิ่ง คือสิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ธรรมชาติเกิดการปรับสมดุลได้เอง เกิดเป็นกฎ'''[[สมตา]]''' ความทุกข์เองก็ทำให้เกิดการพัฒนาการในการอยู่รอดของสัตว์ พืช โดยการปรับสมดุลของร่างกายที่จะบริหารหนีทุกข์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิด'''[[อิริยาบถ]]'''(การบริหารกายและจิต)
 
'''[[อนัตตา]]'''สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนเป็น มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิดกฎ'''[[ปฏิจจสมุปบาท|ปัจจยาการ]]'''หรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย ทำให้เกิด'''[[ฆนะ]]''' ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป