ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรมัตถทีปนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15:
 
== ตัวอย่างเนื้อหา ==
ตัวอย่างจากโลภสูตร ในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ปาฏิโภควรรคที่ 1 ซึ่งว่าด้วยการว่าด้วยละโลภะได้เป็นพระอนาคามี ซึ่งขนาดสั้นมาก แต่ปรมัตถทีปนี ภาคอิติวุตตกวรณนา ได้ให้อรรถาอธิบายที่ครอบคลุมและกว้างขวางขึ้น โดยมีการนิยามศัพท์ คือคำว่า "ภควา" คำว่า "อรหัง" คำว่า "ปาฏิหาริย์" เป็นต้น มีการแสดงประวัตินางขุชชุตตรา อุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม และเป็นผู้กล่าวคำนิทาน หรือที่มาของพระสูตรนี้ <ref> ปรมัตถทีปนี. อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกวรณนา. เล่ม 1 ภาค 4. - หน้าที่ 8 หน้า 22 หน้า 37 หน้า 52</ref>
 
นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายว่า สาเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกฺขเว" หรือ "ภิกษุทั้งหลาย" เมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยไม่ทรงแสดงธรรมทีเดียว เพราะเพื่อให้เกิดสติ ด้วยว่าภิกษุทั้งหลาย อาจกำลังนั่งคิดอย่างอื่นบ้าง นั่งพิจารณาธรรมบ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานบ้าง หากพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกก่อน ทรงแสดงธรรมไปเลย ภิกษุทั้งหลายไม่อาจกำหนดได้ว่า เทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย ดังนี้ <ref> ปรมัตถทีปนี. อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกวรณนา. เล่ม 1 ภาค 4. - หน้า 66</ref>
 
ต่อมามีการขยายความข้อธรรมที่เกี่ยวกับการบรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามี ตามพุทธพจน์ว่า ''"โลภํ ภิกฺขเว เอกธฺมมํ ปชหถ อหํ โว ปาฏิใภโค อนาคามิตาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ เราเป็นผู้รับรองพวก เธอเพื่อความเป็นพระอนาคามี"'' ซึ่งโดยพระอรรถกถาจารย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้เห็นแจ้งในอุปทานขันธ์ 5 ว่าไม่เที่ยง รู้ทันความโลภ ด้วยการกำหนดรู้ด้วยการรู้ และด้วยการกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาด้วยปัญญา ย่อมละกิเลสที่เหลือไม่ให้เกิดขึ้นในสันดานของตนอีกต่อไป ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหนๆ <ref> ปรมัตถทีปนี. อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกวรณนา. เล่ม 1 ภาค 4. - หน้าที่ 5 -หน้า 7877</ref>
 
== อ้างอิง ==