ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอทีวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ELUNIUMMAN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5269547 สร้างโดย Itemall (พูดคุย)
ELUNIUMMAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 116:
ชินคอร์ป ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ เป็น 1,200 ล้านบาท และเข้าจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] เมื่อเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2545]] และได้เสนอขายหุ้นของบริษัทฯ แก่ประชาชนทั่วไป
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2546]] ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้ง เป็น 7,800 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเป็นการเฉพาะ ให้กับพันธมิตร คือ [[ไตรภพ ลิมปพัทธ์|นายไตรภพ ลิมปพัทธ์]] และ [[กันตนา|บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)]] สถานีฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ด้วยการปรับผังรายการใหม่ และเพิ่มรายการบันเทิง แต่ต่อมาใน [[พ.ศ. 2548]] พันธมิตรทั้งสองราย ปฏิเสธที่จะซื้อหุ้นร่วมทุน แต่ยังคงผลิตรายการให้กับสถานีฯ ต่อไป
 
ในปี [[พ.ศ. 2547]] ชินคอร์ป ได้ยื่นเรื่องต่อ [[อนุญาโตตุลาการ]]<ref>http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=7/Mar/2550&news_id=61097&cat_id=501</ref> ขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน และขอลดค่าสัมปทาน ที่ต้องจ่ายให้รัฐ ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า เอกชนรายอื่นจ่ายต่ำกว่า ช่อง 3 สัมปทาน 30 ปี (2533-2563) 3,207 ล้านบาท ปีละ 107 ล้านบาท / ช่อง 7 (BBTV) สัมปทาน 25 ปี (2541-2566) 4,670 ล้านบาท ปีละ 187 ล้านบาท / ททบ. [[โมเดิร์นไนน์ ทีวี]] และ สทท. ไม่ต้องเสียค่าสัมปทาน เนื่องจากเจ้าของคลื่นความถี่ดำเนินการออกอากาศเอง) <ref>http://www.archanwell.org/webboard/show.php?Category=board_1&No=181</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไอทีวี"