ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูพิษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของ[[เพปไทด์]]ที่มี[[กรดอะมิโน]]ไม่กี่ชนิดไปจนถึง[[สารประกอบ]]ประเภท[[เอนไซม์]]ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น [[w:Hemolysin|Hemolysin]] และ[[w:Bleeding|Hemorrhagin]] ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง [[w:Myotoxin|Myotoxin]] ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก [[w:Neurotoxin|Neurotoxin]] มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูใน[[วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า]] (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูใน[[วงศ์งูหางกระดิ่ง]] (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้<ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 399-400 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0 </ref>
 
โดยทั่วไปแล้วความรุนแรงของพิษงูจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของพิษ ซึ่งดูจากค่า [[Lethal Dose 50]] (LD<sub>50</sub>) ที่ได้จากการทดลอง
ฉีดพิษงูในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดดำของหนูทดลอง จนถึงระดับที่ทำให้หนูทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง โดยค่า LD<sub>50</sub> น้อย หมายถึง "พิษรุนแรง" ส่วนอีกปัจจัยคือ ปริมาณของพิษที่งูปล่อยออกมา นอกจากปริมาณพิษจะแตกต่างกันในงูแต่ละชนิดแล้ว ในการกัด งูก็ไม่ได้ปล่อยพิษออกมา เท่ากันทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างพิษใหม่ต้องใช้เวลา การปล่อยพิษพร่ำเพรื่อจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการล่าเหยื่อ หรือเสียท่าพลาดพลั้งให้ศัตรูได้ ในบางครั้งเมื่องูพิษกัดก็อาจจะไม่ได้มีการปล่อยพิษก็ได้<ref><ref>''สวัสดีปีงู: ตอนเจ้าแห่งอสรพิษ'' โดย รักฉัตร เวทีวุฒาจารย์๋, "Cover Story". หน้า 1-2 สาระวิทย์: ฉบับที่ 2 พฤษภาคม 2556 ISSN 2286-9298</ref>
[[ภาพ:Crotalus skull.jpg|thumb|200px|[[กะโหลก]]ของงูหางกระดิ่งใน[[genus|สกุล]] ''[[Crotalus]]'' แสดงให้เห็นถึงฟันเขี้ยวขนาดใหญ่]]
==วงศ์งูพิษ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/งูพิษ"