ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารเรือ ไปยัง หมวดหมู่:ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย''' มีชื่อจริงว่า '''สินธุ์ กมลนาวิน''' เป็นอดีต[[ผู้บัญชาการทหารเรือ]] หนึ่งในสมาชิก[[คณะราษฎร]] และเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ
 
==ประวัติ==
หลวงสินธุสงครามชัย เกิดเมื่อวันที่[[ 23 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2444 ]] ที่ตำบลบ้านท่าจีน อำเภอเมือง [[จังหวัดสมุทรสาคร]] เป็นบุตรนายเล็ก-นางจู กมลนาวิน และมีศักดิ์เป็นน้องชายของ[[พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)]] <ref name="navy">[http://www.navy.mi.th/navic/document/830801d.html ประวัติและผลงานโดยสังเขปของพลเรือโท พระราชวังสัน (ศรีกมลนาวิน) หน้า 4]</ref> จบการศึกษาที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]เมื่อ พ.ศ. 2457 จากนั้นเป็นนักเรียนหลวงไปเรียนการทหารเรือที่[[ประเทศเดนมาร์ก]] เมื่อ พ.ศ. 2462 เป็นเวลาถึง 10 ปี จากการที่เป็นน้องชายของพระยาราชวังสัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมของครอบครัวทหารเรือในขณะนั้น ที่ทางรัฐบาลส่งเสริมให้บุตรชายคนโตของนายพลทหารเรือให้ได้รับทุนเล่าเรียนวิชาทหารเรือยังต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เป็นทหารเรือกัน เนื่องจากพระยาราชวังสันไม่มีบุตร จึงสนับสนุนน้องชายตนเอง<ref name="ทหารเรือปฏิวัติ"/>
 
==การเปลี่ยนแปลงการปกครอง==
หลวงสินธุสงครามชัย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎร ขณะยังศึกษาอยู่ยังโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ประเทศเดนมาร์ก และขณะได้ไปเยือน[[กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]]<ref name="ทหาร">[http://www.marines.navy.mi.th/htm_56/htm_old55/radnavic55/pawatmarine.html มูลเหตุที่ทหารนาวิกโยธิน เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕]</ref> จึงได้รับการชักชวนผ่านทางนาย[[ทวี บุณยเกตุ]]<ref>หน้า 100-102, ''ตรัง'' โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3</ref>
 
เส้น 10 ⟶ 12:
โดยในเหตุการณ์[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] หลวงสินธุสงครามชัย ขณะนั้นมียศเป็น นาวาตรี (น.ต.) ถือเป็นหัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายทหารเรือ และมีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหาร ได้นำกำลังทหารเรือประมาณ 400 นายเศษ พร้อมอาวุธครบมือ และกระสุนจำนวน 45,000 นัด ซึ่งงัดมาจากคลังอาวุธ กองพันพาหนะทหารเรือ ([[หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน]] ในปัจจุบัน) ไปยึดสถานที่ ณ [[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] ยาวไปจนถึงเชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] ตั้งแต่ก่อนเวลา 06.00 น. โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 03.00 น. ที่จุดนัดพบ คือ [[ท่าราชวรดิฐ]] เพื่อรอคอยกำลังของฝ่ายทหารบก ภายใต้การนำของ [[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]] มาสมทบ อีกทั้งยังได้ให้ทหารเรือส่วนหนึ่ง นำโดย หลวงนิเทศกลกิจ เข้าคุ้มกันคณะของ [[ควง อภัยวงศ์|หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)]] และร้อยโท [[ประยูร ภมรมนตรี]] ในการตัดสายโทรศัพท์และโทรเลข ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข หน้า[[วัดราชบุรณราชวรวิหาร]] (วัดเลียบ) ในเวลา 04.00 น. และสั่งให้ทหารเรือประจำเรือยามฝั่ง และเรือปืนต่าง ๆ ติดเครื่องยนต์เรือ ล่องในลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการปฏิวัติ โดยแผนการทั้งหมดของฝ่ายทหารเรือ หลวงสินธุสงครามชัย เป็นผู้วางแผนเองทั้งหมด<ref name="ทหาร"/>
 
==การเมือง==
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว หลวงสินธุสงครามชัย รับตำแหน่งรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง (รัฐมนตรีลอย), รักษาราชการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2481-2494 เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงธรรมการ]] (พ.ศ. 2478-2484), [[กระทรวงเศรษฐกิจ]] (พ.ศ. 2485), [[กระทรวงเกษตราธิการ]] (พ.ศ. 2485-2488) และ[[กระทรวงกลาโหม]] (พ.ศ. 2487-2488) นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]เป็นคนแรกอีกด้วย (พ.ศ. 2486–2488)