ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาปุริสลักขณะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 106:
# สุปฺรติษฺฐิตสมปาโท ฝ่าพระบาทแนบสนิทกับพื้นเป็นอย่างดี <ref> แสง มนวิทูร. (2512). หน้า 598 - 599</ref>
 
 
== มูลเหตุอันได้มาซึ่งมหาปุริสลักขณะ ==
 
ในลักขณสูตร (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงคติแห่งมหาปุริสลักขณะ ว่าย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นได้ทรงแจกแจงว่า เพราะมูลเหตุอันใดที่มหาบุรุษจะได้ปรากฎซึ่งมหาปุริสลักขณะ
 
อาทิเช่น การที่พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความ ฝึกตน ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัยอุโบสถกรรม ความไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรงประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบเพราะกรรมนั้น พระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่ไตรทิพย์ เสวยความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินยินดี จุติจากไตรทิพย์แล้วเวียนมาในโลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ
 
การที่พระตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อนกำเนิดก่อน ละปาณาติบาตแล้ว เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ ตถาคตย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยสถาน 10 คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ 3 ประการ คือ ส้นพระบาทยาว มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาว มีพระกายตรงดังว่ากายแห่งพรหม
 
หรือการที่ พระตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อนกำเนิดก่อน เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยมนสิการว่า ทำไฉน ชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยสุตะ เจริญด้วยพุทธิ เจริญด้วยจาคะเจริญด้วยธรรม เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก เจริญด้วยนาและสวน เจริญด้วยสัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสและกรรมกร เจริญด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง ดังนี้ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ 3 ประการนี้ คือ มีส่วนพระกายข้างหน้าดังว่ากึ่งกายข้างหน้าแห่งราชสีห์ มีระหว่างพระปฤษฎางค์เต็มดี 1 มีลำพระศอกลมเสมอกัน เป็นต้น <ref>ลักขณสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ 11</ref>
 
== วิเคราะห์นัยยะของมหาปุริสลักขณะ ==
เส้น 129 ⟶ 139:
*พุทธทาสภิกขุ. (2517). "พุทธจริยา." กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัดการพิมพ์.
*เสถียร โพธินันทะ. (2543). พุทธธรรมกับปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
*ลักขณสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
{{จบอ้างอิง}}