ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาร์ลี แชปลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
== ประวัติ ==
=== ชีวิตวัยเด็ก ===
[[File:Charlie Chaplin - 1915.jpg|thumb|left|170px|ในปี 1915]]
'''ชาร์ลี แชปลิน''' (Charlie Chaplin) เกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1889 โดยพ่อของแชปลิน (ชาร์ลี แชปลิน ซีเนียร์) เป็นนักร้องและนักแสดง แม่ชื่อลิลี ฮาร์ลีย์ (Lily Harley) เป็นนักแสดงและนักร้องโอเปรา แชปลินมีพี่ชายต่างพ่ออีกคนชื่อ ซิดนีย์ (Sydney) พ่อและแม่ของแชปลินหย่ากันตั้งแต่เขายังเล็ก ซึ่งทั้งหมดร่วมผจญชีวิตอันลำบากยากเข็ญมาด้วยกัน วันหนึ่งแม่ของแชปลินซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ต้องหยุดแสดงกลางคันเพราะเจ็บคอ ไม่มีเสียง ผู้ชมโห่ฮาไม่พอใจอย่างมาก ผู้จัดการเวทีไม่รู้จะ แก้ปัญหาอย่างไร บังเอิญเหลือบไปเห็นเด็กชายแชปลิน จึงพาออกมาแนะนำตัวต่อผู้ชมแล้วให้แชปลินแสดงแทนแชปลินร้องเพลงและเต้นระบำตามที่แม่หัดให้โดยไม่เคอะเขิน การแสดงของเขาเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมอย่างไม่คาดฝัน และนั่นเป็นการแสดงบนเวทีครั้งแรกของเขา แต่เป็นครั้งสุดท้ายของแม่
 
เส้น 27 ⟶ 26:
 
=== เข้าสู่วงการแสดง ===
[[File:Charlie Chaplinchaplin -karno 1915portrait.jpg|thumb|left|170120px|ในช่วงปี 19151912–1913]]
 
แชปลินได้มีโอกาสเดินทางไปอเมริกาโดยร่วมไปกับคณะละครของเฟรด คาร์โน และได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์ของบริษัทคีย์สโตน แชปลินสร้างความชื่นชอบให้แก่ผู้ชมด้วยภาพของตัวตลกที่สวมเสื้อคับ กางเกงหลวม รองเท้าขนาดใหญ่ สวมหมวกใบจิ๋ว ควงไม้เท้า และติดหนวดแปรงสีฟันเหนือริมฝีปากภาพยนตร์ทุกเรื่องของแชปลินทำรายได้อย่างงดงามเป็นที่กล่าวขวัญตามหน้าหนังสือพิมพ์และร้านกาแฟ หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางด้านการแสดง แชปลินก็ขอเขียนบทและกำกับการแสดงเอง
 
[[File:The Tramp Essanay.jpg|thumb|120px|ตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของแชปลินคือ "คนจรจัด" (The Tramp)]]
ผลงานเรื่องแรกของเขาคือเรื่อง Caught in the Rain ในเวลา 1 ปี บริษัทคีย์สโตนก็มีหนังที่แชปลินแสดงถึง 35 เรื่อง แต่ละเรื่องทำรายได้สูงทั้งสิ้น ในระหว่างนี้แชปลินมีรายได้อาทิตย์ละ 200 เหรียญ เมื่อสัญญาครบ 1 ปี แชปลินก็ลาออกจากคีย์สโตนเพราะบริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนอาทิตย์ละ 1,000 เหรียญตามที่เขาเรียกร้องได้
 
แชปลินทำงานกับบริษัท เอสซันเนย์ และมิวชวล ฟิล์ม ตามลำดับ กับบริษัทหลังนี้ เขาได้ค่าจ้างอาทิตย์ละ 20,000 เหรียญและเงินโบนัสอีกปีละ 150,000 เหรียญ ค่าตัวของแชปลินเพิ่มเป็นปีละ 1 ล้าน 2 แสนเหรียญ เมื่อทำสัญญากับบริษัทเฟิสต์ เนชั่นแนล ในเวลานั้นแชปลิน กลายเป็นเศรษฐีย่อย ๆ คนหนึ่ง และกลายเป็นอัจฉริยศิลปินของโลก
 
=== ภาพยนตร์ของแชปลิน ===
ภาพยนตร์เงียบของแชปลิน มิใช่ภาพยนตร์ตลกธรรมดา แต่เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนความคิดที่มีต่อสังคมและมนุษย์ โดยเฉพาะความคิดที่มีต่อสังคมในระบบทุนนิยม ดังจะเห็นได้จากผลงานเด่น ๆ เช่น The Gold Rush เป็นเรื่องของยุคคลั่งทองในอเมริกาสะท้อนภาพชีวิตของคนอเมริกันในยุคต้นของระบบทุนนิยมที่สังคมเต็มไปด้วยการแย่งชิงและฉวยโอกาส คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่คนจนไม่มีโอกาสที่จะยกระดับตัวเอง เรื่อง City Lights ชี้ถึงผลการเติบโตของสังคม เรื่อง Modern Times แสดงถึงชีวิตของคนในสังคมอุตสาหกรรมที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระเบียบเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ได้รับการพัฒนา หนังเปรียบเทียบให้เห็นว่ามนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และระบบการทำงานของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
 
ตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของแชปลินคือ "คนจรจัด" (The Tramp) ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง ''Kid Auto Races at Venice'' (1914) ส่วนหนังที่สร้างชื่อเสียงให้เขาคือ ''The Kid'' (1921) , ''City Light'' (1931) , ''Modern Times'' (1936) และ ''The Great Dictator'' (1940)
 
ภาพยนตร์เงียบของแชปลิน มิใช่ภาพยนตร์ตลกธรรมดา แต่เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนความคิดที่มีต่อสังคมและมนุษย์ โดยเฉพาะความคิดที่มีต่อสังคมในระบบทุนนิยม ดังจะเห็นได้จากผลงานเด่น ๆ เช่น The Gold Rush เป็นเรื่องของยุคคลั่งทองในอเมริกาสะท้อนภาพชีวิตของคนอเมริกันในยุคต้นของระบบทุนนิยมที่สังคมเต็มไปด้วยการแย่งชิงและฉวยโอกาส คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่คนจนไม่มีโอกาสที่จะยกระดับตัวเอง เรื่อง City Lights ชี้ถึงผลการเติบโตของสังคม เรื่อง Modern Times แสดงถึงชีวิตของคนในสังคมอุตสาหกรรมที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระเบียบเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ได้รับการพัฒนา หนังเปรียบเทียบให้เห็นว่ามนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และระบบการทำงานของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
 
=== ประพันธ์เพลงและดนตรี ===
 
นอกจากบทบาทการแสดงเป็นนตัวตลกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคภาพยนตร์เงียบแล้ว แชปลินยังได้แต่งเพลงประกอบในภาพยนตร์ต่างๆ ไว้หลายเพลงด้วยกัน อาทิเพลง This is my song (ในภาพยนตร์ The Countess From Hong Kong), เพลง Smile (ในเรื่อง Modern Times , Sing a song (เรื่อง The Gold Rush), Now that it’s ended, Mandolin Serenade, Without you, The spring song (จากเรื่อง A King in New York) และ Beautiful, Wonderful Eyes (ใน City Lights), Weeping Willows เป็นต้น
 
เส้น 46 ⟶ 50:
 
=== ถูกว่าเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ ===
[[File:Dictator charlie3.jpg|thumb|left|180px|''The Great Dictator'' (1940)]]
 
ในปี 1940 ชาร์ลี แชปลินสร้างภาพยนตร์เรื่อง ''The Great Dictator'' เป็นภาพยนตร์ล้อเลียน[[ฮิตเลอร์]] เป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของชาร์ลี แชปลิน ซึ่งสอดแสกความคิดทางการเมืองของเขาไปด้วย เป็นเรื่องของฮิงเกลผู้นำตลอดกาลแห่งรัฐโทมาเนีย ผู้นำที่บ้าคลั่งอำนาจและสงครามและมีความฝันสูงสุดคือการที่จะได้ครองโลก โดยเดินเรื่องคู่ไปกับ ช่างตัดผมชาวยิว ที่หน้าตาเหมือนกันกับผู้นำฮิงเกล ที่เคยไปออกรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและเมื่อกลับมาก็ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิตนับสิบปี จนเมื่อออกมาจากโรงพยาบาล ก้พบว่าบ้านเมืองของเขาภายใต้การปกครองของฮิงเกล ไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
เส้น 54 ⟶ 59:
 
=== ช่วงบั้นปลายชีวิต ===
[[File:Chaplin oscar.JPG|thumb|190px|[[แจ็ก เลมมอน]] (ซ้าย) แชปลิน (ขวา) ขึ้นรับรางวัลออสการ์เกียรติยศ ในปี 1972]]
 
ในปี 1972 ชาร์ลี แชปลินกลับมายังสหรัฐอเมริกาอีกครั้งในรอบ 20 ปี เพื่อมาได้รับรางวัลออสการ์เกียรติยศ (Academy Honorary Award) ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 44 ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตที่ได้ขึ้นรับรางวัลออสการ์ด้วยตนเอง<ref>รายการ [[แฟนพันธุ์แท้ 2013]] เรื่อง [[ออสการ์]] ครั้งที่ 2 ออกอากาศ 15 มีนาคม 2556</ref>
 
ช่วงบั้นปลายชีวิต ชาร์ลี แชปลิน พำนักอยู่กับอูนาและลูก ๆ ที่สวิตเชอร์แลนด์ ในปี 1975 เขาได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษให้เป็น '''เซอร์ชาลส์ สเปนเซอร์ แชปลิน จูเนียร์''' (Sir Charles Spencer Chaplin, Jr.)