ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพรสไบทีเรียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Gaegaigood (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
== ในประเทศไทย ==
{{บทความหลัก|สภาคริสตจักรในประเทศไทย}}
นิกายเพรสไบทีเรียนไม่ใช่โปรเตสแตนต์กลุ่มแรกที่เข้ามาในประเทศไทย แต่สามารถทำพันธกิจได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนคณะแรกที่เข้ามาคือ ครอบครัวศาสนาจารย์วิลเลียม พี บูเอลล์ เป็นมิชชันนารีชุดแรกที่เข้ามาถึงสยาม(กรุงเทพฯ) ใน ค.ศ.1840 และกลับออกไปใน ค.ศ.1844 หลังจากนั้นมีการส่งคณะมิชชันนารีชุดใหม่ประกอบด้วยครอบครัวศาสนาจารย์สตีเฟนและนางแมรี่ แมตตูน กับนายแพทย์ ซามูเอล อาร์ เฮาส์ เข้ามาจัดตั้งมิชชันของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนอย่างถาวรใน ค.ศ.1847 ต่อมามีการจัดตั้ง [[คริสตจักรที่ 1 สำเหร่|"คริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพฯ"]] เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1849 และใน ค.ศ.1858 ได้จัดตั้งเพรสไบเทอรี่สยาม เมื่อถึง ค.ศ.1861 มีการเปิดสถานีมิชชันที่เพชรบุรีโดยมีครอบครัวศาสนาจารย์แดเนียลและนางโซเฟีย แมคกิลวารี กับครอบครัวศาสนาจารย์ซามูเอลและนางเจน แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้ปฏิบัติงาน เป็นการขยายพันธกิจออกนอกเขตกรุงเทพฯเป็นแห่งแรก
นิกายเพรสไบทีเรียนไม่ใช่โปรเตสแตนต์กลุ่มแรกที่เข้ามาในประเทศไทย แต่สามารถทำพันธกิจได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น คณะเพรสไบทีเรียนจึงผลักดันให้คริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ในไทยรวมกลุ่มกันตั้งคริสตจักรของตนเองขึ้นเป็นอิสระ จนปี พ.ศ. 2477 จึงตั้ง'''คริสตจักรในสยาม''' ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น'''สภาคริสตจักรในประเทศไทย''' ในปี พ.ศ. 2500 คณะเพรสไบทีเรียนจึงถ่ายโอนงานและทรัพย์สินของคณะให้แก่สภาคริสตจักร จากนั้นคริสตจักรอื่น ๆ เช่น [[คริสเตียนเชิร์ช (ดิสไซเปิลส์ออฟไครสต์)]] ก็เริ่มเข้าร่วมตาม นิกายเพรสไบทีเรียนในประเทศไทยปัจจุบันจึงสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย
 
 
ใน ค.ศ.1867 ครอบครัวศาสนาจารย์แมคกิลวารีได้ขึ้นไปตั้งศูนย์มิชชันที่เชียงใหม่ และใน ค.ศ.1868 ครอบครัวศาสนาจารย์โจนาธานและนางมาเรีย วิลสัน ได้ขึ้นไปสมทบทบ มีการจัดตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1868 และได้รับอนุญาตจากกรรมการมิชชันฝ่ายต่างประเทศของคริสตจักรเพรสไบทีเรียนในสหรัฐอเมริกา ให้จัดตั้งเป็นมิชชันในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน เรียกว่า “มิชชันลาว” แยกออกจาก “มิชชันสยาม” ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมาใน ค.ศ.1885 จึงได้มีการจัดตั้ง “เพรสไบเทอรี่ลาว” เพื่อดำเนินพันธกิจคริสตจักรในเขตมิชชันลาวหรือหัวเมืองทาง ล้านนา
 
 
การดำเนินพันธกิจของมิชชันสยามภายหลังที่มีการขยายงานไปยังเพชรบุรี ได้มีการจัดตั้งสถานีมิชชัน (station) ที่อยุธยาใน ค.ศ.1872 แต่ภายหลังยุบเลิกไป ต่อมาใน ค.ศ.1889–1890 ได้ขยายงานไปยังราชบุรีมีการตั้งคริสตจักรและโรงเรียน จนถึง ค.ศ.1909 จึงถูกยุบรวมเข้ากับศูนย์มิชชันที่เพชรบุรี ช่วงเดียวกันนี้มิชชันสยามได้ขยายงานไปยังพิษณุโลกใน ค.ศ.1899 และปีถัดมาก็เริ่มขยายงานลงสู่ภาคใต้ โดยใน ค.ศ.1900 ได้จัดตั้งสถานีมิชชันที่นครศรีธรรมราช และเมื่อถึง ค.ศ.1910 ได้จัดตั้งสถานีมิชชันที่ตรัง ซึ่งเป็นส่วนสถานีมิชชันนารีที่ได้ขยายการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไปสู่ท้องที่อื่นๆ ทางเขตภาคใต้
 
== อ้างอิง ==