ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่องแคบมาเจลลัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q48365 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:StraitOfMagellan.jpg|thumb|right|295px|ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน]]
'''ช่องแคบมาเจลลัน''' ({{lang-en|Strait of Magellan, Magellanic Strait}}; {{lang-es|Estrecho de Magallanes}}) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่[[ทวีปอเมริกาใต้]]กับ[[กลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก]] ตั้งชื่อตามชื่อของ[[เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน]] นักเดินเรือชาว[[ชาวโปรตุเกส]] ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่าง[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]กับ[[มหาสมุทรแอตแลนติก]] มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณ[[เกาะการ์โลสที่ 3]] ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร<ref name="cnr">[http://projects.bo.ismar.cnr.it/OCEANS/CHILE/SCPM04_REP/node10.html The Straits of Magellan and Oceanographical Setting Chile.] {{en icon}}</ref>
 
เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ [[1 พฤศจิกายน]] ซึ่งตรงกับ[[วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day) ]]พอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" ({{lang|en|Strait of All Saints}}) แต่ต่อมา[[รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งสเปน|พระมหากษัตริย์แห่งสเปน]]ที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของ[[ชิลี]] แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของ[[อาร์เจนตินา]] อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี<ref>Michael A. Morris. ''The Strait of Magellan.'' Martinus Nijhoff Publishers, 1988, ISBN 0-7923-0181-1, pp. 68, 104. {{en icon}}</ref><ref>Chilean note to the [http://www.un.org/Depts/los/doalos_publications/LOSBulletins/bulletinsp/bulsp35.pdf UN Law of Sea], Declaración formulada al momento de la ratificación. pág 9. {{es icon}}</ref>
 
ก่อนที่จะมีการเปิดใช้[[คลองปานามา]]ซึ่งสร้างเสร็จในปี [[ค.ศ. 1914]] ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้[[ช่องแคบเดรก]]ซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก