ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพศาล พืชมงคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ไปยัง หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติ...
→‎ประวัติ: เป็นเรื่องที่ยังขาดอยู่และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ไพศาล พืชมงคล
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
ไพศาลเกิดที่[[อำเภอระโนด]] [[จังหวัดสงขลา]] ในครอบครัวเชื้อสาย[[ชาวฮกเกี้ยน|จีนฮกเกี้ยน]] เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 7 คน {{cn-span|ศึกษาจบชั้น[[มัธยมศึกษา]]ปีที่ 3 จาก[[โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์]]}} แล้วสอบเข้าศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]<ref>สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์, [http://triamudom-alumni.com/default/profile.html?id=20981 นายไพศาล พืชมงคล รุ่น 27].</ref> และ[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และจบการศึกษาจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ตามลำดับ ในปี พศ ๒๕๓๒ ได้เข้าเรียนและจบหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(รุ่น ๓๒)
 
ในขณะเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไพศาลได้รับรางวัลแชมป์[[หมากฮอส]]ในการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน และในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไพศาลเป็นโฆษกพรรคเสรีตราชูของนักศึกษา และเป็นแชมป์หมากฮอส 5 มหาวิทยาลัย ได้รับประทานรางวัลชนะเลิศ จากเสด็จใน[[กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] และได้แต่งตำราหมากฮอสฉบับมาตรฐาน รวมทั้งได้เป็นครูฝึกสอนหมากฮอสให้แก่ชมรมกีฬาในร่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่หลายปี
บรรทัด 20:
ไพศาลยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพการแพทย์แผนไทย{{อ้างอิง}} และเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ{{อ้างอิง}} ในทางสังคมและเศรษฐกิจ มีตำแหน่งเป็น เลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน<ref>สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน, [http://www.thaizhong.org/images/stories/pdf/P2.pdf ประกาศที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน].</ref>
 
หลังร่วมงานกับพลเอกชวลิตแล้ว ไพศาลได้ร่วมงานกับกลุ่ม[[เอเอสทีวีผู้จัดการ|ผู้จัดการ]] โดยเรียบเรียงหนังสือ "สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ" (ใช้นามปากกา "เรืองวิทยาคม") และเขียนคอลัมน์ "ข้างประชาราษฎร์" (ใช้นามปากกา "สิริอัญญา" {{cn-span|อันเป็นนามของภรรยาเพื่อนรักสมัยยังอยู่อำเภอระโนต}}) ผลงานนี้ทำให้ไพศาลได้รับประทานรางวัลนักเขียนบทความดีเด่นประจำปี 2552 จาก[[หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์]] พระธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]
 
จนกระทั่ง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] ไพศาลถูกเรียกตัวโดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] เพื่อทำหน้าที่ร่างประกาศของคณะ พร้อมกับ[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (ดำรงตำแหน่ง 12 ต.ค. 2549 - 2 มี.ค. 2551)
 
หลังจากนี้ก็ได้กลับไปร่วมงานกับกลุ่มผู้จัดการ ภายหลังออกมาร่วมงานกับบริษัท ประชาราษฎร์ จำกัด โดยยังคงทำหน้าที่เป็นนักเขียนบทความให้แก่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หนังสือพิพม์แนวหน้าและเป็นวิทยากรอิสระให้กับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ผู้จัดการ สุวรรณภูมิ และช่อง ๑๓ สยามไท และเป็นบรรณาธิการเรื่องโหราศาสตร์ ให้แก่เว็บไซต์ ไพศาลวิชัน.คอม ด้วย
 
ชีวิตส่วนตัวสมรสแล้ว มีบุตร 2 คน ยามว่างชอบอ่านหนังสือ เล่นหมากฮอส หมากรุก ปลูกต้นไม้ และศึกษาพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ไพศาลก็สนใจในวิชาโหราศาสตร์ เคยเขียนพยากรณ์สงกรานต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการอยู่หลายปี