ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Session Initiation Protocol"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'มาตราฐาน'→'มาตรฐาน'
บรรทัด 2:
'''Session Initiation Protocol''' (SIP) คือ [[โพรโทคอล]]หรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้าน[[มัลติมีเดีย]] เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย [[IP]] ได้รับการพัฒนาโดย [[IETF]] และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัว[[โพรโทคอล]]เองมีความสามารถในการสร้าง (create) , ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมส์ออนไลน์ เป็นต้น
 
SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 โดยเวอร์ชันล่าสุดถูกประกาศใน [http://tools.ietf.org/html/rfc3261 RFC 3261] โดย [[IETF]] Network Working Group และในปี ค.ศ. 2000 SIP ได้ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ IP Multimedia Subsystem (IMS) ของ 3GPP ซึ่งมาตราฐานมาตรฐานการส่งสัญญาณมัลติมีเดียแบบ IP-based บนระบบ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (cellular) อีกด้วย
 
[[โพรโทคอล]] SIP ทำงานอยู่บน Application Layer และถูกออกแบบโดยไม่คำนึงถึงชนิดของ Transport Layer ที่ใช้ในการส่งข้อมูล SIP สามารถทำงานบน Transmission Control Protocol (TCP), User Datagram Protocol (UDP), หรือ Stream Control Transmission Protocol (SCTP) ได้ โพรโทคอล SIP ทำงานในลักษณะ text-based ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้าย Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
บรรทัด 11:
ในการส่งสัญญาณมีเดีย SIP จะต้องทำงานร่วมกับ[[โพรโทคอล]]อื่นๆในการส่งสัญญาณ แต่ SIP เท่านั้นที่จะถูกใช้เป็นตัวเริ่มต้นการสื่อสาร (communication session) โดยปกติ SIP ฝั่งลูกข่าย (client) จะใช้[[โพรโทคอล]] TCP หรือ UDP พอร์ตหมายเลข 5060 หรือ 5061 ในการเชื่อมต่อกับเครื่องแม่ข่าย (server) หรือ SIP endpoint โดยพอร์ตหมายเลข 5060 จะใช้ในการส่งสัญญาณแบบไม่เข้ารหัส (non-encrypted signaling traffic) ส่วนพอร์ตหมายเลข 5061 จะใช้ในกรณีที่มีการส่งสัญญาณแบบเข้ารหัส และจะทำงานร่วมกับ Transport Layer Security (TLS) อีกที โดยหลักๆแล้ว SIP จะทำหน้าที่ติดต่อหรือยกเลิกการส่งสัญญาณเสียงหรือภาพวิดีโอ ซึ่งในโปรแกรมประยุกต์หลายชนิดจะใช้ SIP ในการส่งข้อมูลมิเดียเช่น โปรแกรม instant messaging ที่สามารถส่งภาพและเสียงพร้อมกันได้ นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลากหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับ SIP ซึ่งถูกประกาศโดย [[IETF]] เช่น Real-time Transport Protocol (RTP), Session Description Protocol (SDP) โดย SDP จะถูกใช้ร่วมกับ SIP สำหรับการทำข้อตกลง (negotiate) รูปแบบตัวแปรที่ใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูลมิเดีย เช่น หมายเลขพอร์ต , [[โพรโทคอล]], การเข้ารหัสสัญญาณมิเดีย (codecs) โดยข้อมูลของ SDP เหล่านี้จะถูกส่งภายใต้ข้อมูลของ SIP packet body อีกที
 
เป้าหมายในการออกแบบ[[โพรโทคอล]] SIP ก็เพื่อใช้เป็นมาตราฐานมาตรฐานในการเริ่มต้นการส่งสัญญาณโทรศัพท์ (signaling and call setup protocol) บนเครือข่ายแบบ IP-based และสามารถทำงานร่วมกับ public switched telephone network (PSTN) ที่มีอยู่เดิมได้ทันที และ SIP ถูกออกแบบมาโดยอ้างอิงถึงการเชื่อมต่อกันระว่าง proxy server และ user agents เพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับการทำงานของโทรศัพท์มากที่สุด เช่น การส่งหมายเลข (dialing a number), การส่งสัญญาณกระดิ่ง (ringing), การส่งสัญญาญรอการเชื่อมต่อ (ring back) และการส่งสัญญาณสายไม่ว่าง (busy tone)
 
[[โพรโทคอล]] SIP ยังเพิ่มความสามารถพิเศษให้กับ[[โพรโทคอล]] Signaling System 7 (SS7) อีกด้วย ถึงแม้ทั้งสอง[[โพรโทคอล]]จะทำงานแตกต่างกันมาก เพราะ SS7 เป็น[[โพรโทคอล]]ที่ทำงานอยู่บนแกนกลางของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก ซึ่งจะแตกต่างกับ SIP ที่เป็น[[โพรโทคอล]]ที่ทำงานแบบ peer-to-peer ที่ทำงานระหว่าง endpoint กับ endpoint