ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PAHs (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
}}
{{ความหมายอื่น|เปลี่ยนทาง=ข่า|ดูที่=ข่า (แก้ความกำกวม)}}
'''ข่า''' เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ใน[[ตระกูลวงศ์ขิง]] เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและ[[อินโดนีเซีย]] ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง [[แม่ฮ่องสอน]])<ref>[http://web3.dnp.go.th/botany/ThaiPlantName/Default.aspx ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย] เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
</ref>
 
บรรทัด 23:
 
== สรรพคุณ ==
ข่าเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย ใช้ใส่ใน[[ต้มข่า]] [[ต้มยำ]] น้ำพริกแกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น [[แกงเหลือง]]และ[[แกงกอและ]]ทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า มีบทบาทในการดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา นอกจากนั้น ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย [[น้ำมันหอมระเหย]]จากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับ[[สะเดา]]เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง<ref>อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป. หน้า 12-14</ref> ข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลด[[การอักเสบ]] ยับยั้ง[[แผลในกระเพาะอาหาร]] ฆ่าเชื้อ[[แบคทีเรีย]] ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน <ref>[http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/..%5Cpubhealth%5Calpinia.html ข่า] จากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล</ref>
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 31:
[[หมวดหมู่:เครื่องเทศ]]
[[หมวดหมู่:วงศ์ขิง]]
[[หมวดหมู่:พืชที่เป็นพิษต่อแมลง]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ข่า"