ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอินโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
 
== บั้นปลายพระชนม์ชีพ ==
องค์ชายรัชทายาทโซฮยอนขณะประทับเป็นองค์ประกันอยู่ที่เมืองเสิ่นหยาง ได้ทรงสานสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักแมนจูทำให้ทรงได้รับการสนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าอินโจกังวลพระทัยเพราะทรงเกรงว่าฝ่ายแมนจูจะยกทัพมากระทำการรัฐประหารปลดพระองค์ลงจากบัลลังก์แล้วให้องค์ชายรัชทายาทโซฮยอนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโจซอนแทน ใน[[ค.ศ. 1644]] ทัพราชวงศ์ชิงภายใต้การนำของเจ้าชายดอร์กอน ([[ตัวเอ่อกุน]]) เข้ายึดกรุง[[ปักกิ่ง]]และเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ในระหว่างที่ประทับอยู่เมือง[[ปักกิ่ง]]นั้น องค์ชายโซฮยอนได้พบกับนาย[[โยฮันน์ อดัม แชล ฟอน เบลล์]] (Johann Adam Schall von Bell) มิชชันนารีชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งขณะนั้น นายแชลฟอนเบลล์ได้แนะนำให้องค์ชายทรงรู้จักกับวิทยาการตะวันตกและคริสต์ศาสนา ในปีเดียวกันเจ้าชายดอร์กอนทรงอนุญาตให้องค์ชายโซฮยอนเสด็จนิวัติโจซอนเป็นการถาวร
 
ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าอินโจและองค์ชายโซฮยอนนั้นไม่สู้จะดีนักอยู่เดิม และเมื่อองค์ชายโซฮยอนทรงตรัสถึงโลกตะวันตกและคริสต์ศาสนาทำให้พระเจ้าอินโจทรงเห็นว่าพระโอรสนั้นเสียสติไปเสียแล้ว อีกทั้งยังมีเสนาบดีซ้ายคิมจาจอมและพระสนมควีอิน ตระกูลโจ ({{lang-ko|귀인조씨 貴人趙氏}}) พระสนมองค์โปรดคอยยุยงให้พระเจ้าอินโจทรงเกลียดชังพระโอรส จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เพียงสามเดือนให้หลังองค์ชายรัชทายาทโซฮยอนก็สิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันและเป็นปริศนา สร้างความพิศวงให้แก่ราชสำนักในสมัยนั้นหรือแม้กระทั่งนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน มีการบันทึกไว้ใน''ชิลลก''หรือพงศาวดารราชวงศ์โจซอนว่าพระศพขององค์ชายโซฮยอนนั้นเน่าเปื่อยสลายลงอย่างรวดเร็วอย่างผิดธรรมชาติ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเจ้าชายอาจทรงถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์ ชาวเกาหลีในสมัยต่อมาและนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมีความเห็นพ้องต้องกันว่า องค์ชายรัชทายาทโซฮยอนสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำพระหัตถ์ของพระเจ้าอินโจผู้เป็นพระบิดา
 
ตามหลักของลัทธิขงจื้อเมื่อองค์ชายรัชทายาทโซฮยอนสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งรัชทายาทจะต้องเป็นของพระโอรสองค์โตสุดขององค์ชายรัชทายาทโซฮยอน นั่นคือ องค์ชายลีซอกชอล<ref>JaHyun Kim Haboush, Martina Deuchler. ''Culture and the State in Late Choson Korea''.</ref> แต่ทว่าพระเจ้าอินโจประสงค์จะให้พระอนุชาขององค์ชายโซฮยอนคือองค์ชายพงนิม ซึ่งเสด็จนิวัติโจซอนตามหลังพระเชษฐามาเป็นรัชทายาทองค์ต่อมา เนื่องจากทรงพอพระทัยนโยบายที่จะยกทัพรุกรานราชวงศ์ชิงเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่โจซอนขององค์ชายพงนิม พระเจ้าอินโจจึงทรงกล่าวหาพระชายาตระกูลคัง ({{lang-ko|민회빈강씨 愍懷嬪姜氏}}) พระชายาขององค์ชายโซฮยอนว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์พระสวามี ให้สำเร็จโทษโดยการประทานยาพิษ และเนรเทศพระโอรสทั้งหมดขององค์ชายโซฮยอนไปยังเกาะเชจู และแต่งตั้งองค์ชายพงนิมเป็นองค์ชายรัชทายาทใน[[ค.ศ. 1645]]
 
พระเจ้าอินโจสวรรคตในปี[[ค.ศ. 1649]] องค์ชายพงนิมรัชทายาทขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าฮโยจง
 
== พระนามเต็ม ==