ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาทบริจาริกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bkchin (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4:
ระบอบราชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ใช้โดยทั่วไปตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ในดินแดนต่างๆทั่วโลก ทั้งตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้จะมีความแตกต่างในรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับธรรมเนียมของการมีพระสนม ดังนี้
 
'''ทางตะวันตก'''เช่นยุโรป เป็นต้น จะนับถือคริสตศาสนาคริสต์ศาสนา ซึ่งกำหนดให้ชาย-หญิง มีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว ซึ่งเป็นกฏที่ใช้บังคับตั้งแต่สามัญชนไปจนถึงพระราชา ดังนั้นพระราชาจึงสามารถมี พระราชินีคู่สมรสได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น จะมีพระราชินีใหม่ได้ก็ต่อเมื่อพระราชินีพระองค์เดิมนั้นสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน ธรรมเนียมการมีอนุภรรยา หรือในกรณีของพระราชา อนุภรรยาจะเรียกกันว่าพระสนมนั้น จึงไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ แน่นอนว่ามีพระราชาส่วนใหญ่ที่มีพระสนม แต่พระสนมเหล่านั้นถึงแม้จะไม่ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ บางรายก็ใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยในสังคมได้อย่างมีเกียรติยศก็ตาม แต่พวกนางจะไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พระราชาในยุโรปหลายพระองค์ มักจะตอบแทนพระสนมโดยพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางให้ อาทิ บาร์บาร่า ปาล์มเมอร์ ดัชเชสแห่งคลีฟแลนด์ , ลูอิส เดอ เกครูอัล ดัชเชสแห่งปอร์ตสมัธ
ในพระเจ้าชา์ลส์ที่พระเจ้าชาลส์ที่2 แห่งอังกฤษ,เอลิซะเบธ ฮามิลตัน เคานเตสแห่งออร์คนีย์ ในพระเจ้าวิลเลียมที่3 แห่งอังกฤษและกาเบียล เดสเทร่ ดัชเชสแห่งโบฟอร์ตและแวร์นุยในพระเจ้าเฮนรี่ที่4 แห่งฝรั่งเศส ในส่วนของราชสำนันฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าฟรังซัวส์ที่1 มีการแต่งตั้งตำแหน่ง [[maîtresse-en-titre]] (Mistress on Title) ซึ่งเป็นตำแหน่งกึ่งทางการของพระสนม สามารถมีได้เพียงคนเดียว และทำให้พระสนมมีตำแหน่งเฝ้าในพิธีการของราชสำนัก พร้อมทั้งมีห้องชุดที่พักในพระราชวังอีกด้วย บางครั้งห้องชุดที่พำนักของพระสนมกึ่งทางการนี้ มีขนาดใหญ่กว่า หรูหราตระการตามากกว่าห้องชุดที่ประทับของสมเด็จพระ[[ราชินี]]เสียอีก
 
'''ทางตะวันออก'''คือประเทศทางแถบเอเชีย การมีอนุภรรยานั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ยิ่งผู้ชายที่มีทรัพย์สินและอำนาจด้วยแล้ว ก็จะสามารถมีอนุภรรยาได้เป็นจำนวนมากตามสถานะ ถ้าเป็นกษัตริย์ บรรดาอนุภรรยาเหล่านั้นจะเรียกว่า พระสนม ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติยศสูงเหนือกว่าการเป็นภรรยาเอกของคนสามัญเสียอีก