ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| ชื่อทั่วไป = สมเด็จเกี่ยว
| สมณศักดิ์ = สมเด็จพระพุฒาจารย์
| วันเกิด = [[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2471]]
| วันบวช = [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2492]]
| วันตาย = [[10 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2556]]
| พรรษา = 64
| อายุ = 85
บรรทัด 19:
}}
 
'''สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ''' (นามเดิม: '''เกี่ยว โชคชัย''') ([[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2471]] - [[10 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2556]]) เป็น[[พระสงฆ์]][[มหานิกาย]] และอดีต[[เจ้าอาวาส]][[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] เคยเป็นผู้รักษาการแทน[[สมเด็จพระสังฆราช]] อดีตประธาน[[คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช]] เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดย[[สมณศักดิ์]]สูงสุดของมหาเถรสมาคม<ref name="RealMostSenior1">เดลินิวส์ [http://db.onec.go.th/thaied_news/index1.php?id=20574 วงการศาสนาปีลิง มีแต่สีสันและความเร้าใจ], 30 ธันวาคม 2547</ref><ref name="RealMostSenior2">มติชน, [http://www.phrathai.net/news/detail.php?catid=1&groupid=0&ID=1540 ตั้ง ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช] 15 ม.ค. 2547</ref><ref name="Manager">ผู้จัดการออนไลน์, [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000152276 สำนักนายกฯแถลง “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชแต่เพียงพระองค์เดียว], 3 พฤศจิกายน 2548</ref><ref name="NationPostCoup">The Nation, [http://www.nationmultimedia.com/2006/11/09/opinion/opinion_30018494.php Special to The Nation: What is happening to Buddhism in Thailand is completely political and unBuddhist], 9 November 2006</ref>ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี [[พ.ศ. 2533]] มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า '''สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี'''
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดเมื่อวันที่ [[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2471]] ณ [[บ้านเฉวง]] [[ตำบลบ่อผุด]] [[อำเภอเกาะสมุย]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]<ref name="SiamRath"/> [[บรรพชา]]เป็น[[สามเณร]] ณ [[วัดภูเขาทอง]] อำเภอเกาะสมุย ได้[[อุปสมบท]]ที่[[วัดสระเกศ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]]
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[เจ้าคณะภาค|เจ้าคณะภาค 9]] และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี [[พ.ศ. 2508]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2516]] ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จ[[พระราชาคณะ]] ที่ [[พระพรหมคุณาภรณ์]] และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อปี [[พ.ศ. 2533]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ [[สมเด็จพระพุฒาจารย์]] ในปี [[พ.ศ. 2540]] ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนามหาเถรสมาคม
 
เนื่องจาก[[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]]มีพระอาการประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] มาตั้งแต่ต้นปี [[พ.ศ. 2545]] ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก<ref name="Sick">ข่าวสด, [http://www.phrathai.net/news/detail.php?catid=1&groupid=0&ID=1561 พระหนุนแต่งตั้งผู้ทำการแทนสมเด็จพระสังฆราช ], 20 ม.ค. 2547</ref><ref name="KhaoSod">ข่าวสด, [http://www.phrathai.net/news/detail.php?catid=1&groupid=0&ID=1561 พระหนุนแต่งตั้งผู้ทำการแทนสมเด็จพระสังฆราช], 20 ม.ค. 2547</ref> มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี [[พ.ศ. 2547]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนั้นทำหน้าที่เป็นประธาน<ref name="RealMostSenior1" /><ref name="RealMostSenior2" /> การแต่งตั้งดังกล่าวทั้งสองครั้ง ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มลูกศิษย์ของ[[พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)]] (หลวงตามหาบัว) นาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] และนาย[[ทองก้อน วงศ์สมุทร]]<ref name="Manager">หน้าแรกผู้จัดการ Online, เซี่ยงเส้าหลง, [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9470000098746 ภาวะ"สังฆราช 2 พระองค์" และจุดอันตรายสำหรับไทยรักไทย], 20 ธันวาคม 2547</ref><ref name="Liar">The Nation, [http://www.nationmultimedia.com/specials/sondhi/r33.php Sondhi: Wissanu is a liar], 26 November 2005</ref><ref name="Thief">ผู้จัดการ Online, [http://202.57.155.219/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9480000031443 “หลวงตาบัว” เจิมยกแรก ซัด “สมเด็จเกี่ยว” เป็นมหาโจร!], 4 มีนาคม 2548</ref><ref name="Petition">ผู้จัดการรายวัน, [http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=3260 ถวายฎีกาถอดสมเด็จเกี่ยว], 4 มีนาคม 2548</ref>
 
== ประวัติครอบครัว และการศึกษา ==
เกี่ยว โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ [[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2471]] นับแบบเก่า นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2472 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปี[[มะโรง]]) <ref name="SiamRath">สยามรัฐ, [http://www.siamrath.co.th/Religion.asp?ReviewID=161998 11 มกรา...มุทิตาสักการะ...79 ปีสมเด็จเกี่ยวผู้เปี่ยมเมตตา], 11 มกราคม 2550</ref> ณ [[บ้านเฉวง]] [[ตำบลบ่อผุด]] [[อำเภอเกาะสมุย]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของนายอุ้ยเลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย่ (ยี โชคชัย) ครอบครัวโชคชัยมีอาชีพทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันทายาทสกุลโชคชัยหรือแซ่โหย่เปลี่ยนนามสกุลนั้นเป็น โชคคณาพิทักษ์
 
เกี่ยว โชคชัย สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ก่อนที่จะถึงกำหนดวันเดินทางไปศึกษาต่อยังโรงเรียนในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดามารดาจึงบนบานว่า หากเด็กชายเกี่ยวหายจากป่วยไข้ ก็จะให้บวชเป็นเณร ภายหลังจากบนบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ [[6 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2484]] ที่[[วัดสว่างอารมณ์]] ตำบลบ่อผุด โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์<ref>ตาม[http://www.watsrakesa.com/hstr/hstr_popup06.htm ชีวประวัติในเว็บไซต์ของวัดสระเกศฯ] ถ้าตาม[http://human.sru.ac.th/top/a001.htm ชีวประวัติที่ทางมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานีได้ทำวิจัย] เกี่ยว โชคชัย ได้ บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดภูเขาทองตอนอายุ 12 ปี ถ้าตาม[http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watsaket.php ชีวประวัติในเว็บไซต์ของธรรมะไทย] เกี่ยว โชคชัย ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (อายุ 18 ปี) </ref>
 
ความตั้งใจเดิมของสามเณรเกี่ยว คือ การบวชแก้บนสัก 7 วัน แล้วก็จะลาสึกไปรับการศึกษาในฝ่ายโลก แต่เมื่อบวชแล้วได้เปลี่ยนใจ ไม่คิดจะสึกตามที่เคยตั้งใจไว้ โยมบิดามารดาจึงได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ([[พระครูอรุณกิจโกศล]]) เจ้าอาวาส[[วัดแจ้ง]] [[ตำบลอ่างทอง]] อำเภอเกาะสมุย<ref>[http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watsaket.php ชีวประวัติในเว็บไซต์ของธรรมะไทย] ระบุว่า โยมบิดา เป็นผู้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ส่วน[http://human.sru.ac.th/top/a001.htm ชีวประวัติที่ทางมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานีได้ทำวิจัย] ระบุว่า โยมมารดาเป็นผู้พาสามเณรเกี่ยวไปฝาก</ref>
บรรทัด 37:
ในเวลาต่อมา หลวงพ่อพริ้งได้นำไปฝากไว้กับอาจารย์เกตุ คณะ 5 ณ [[วัดสระเกศ]] [[กรุงเทพมหานคร]] แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาไม่นาน กรุงเทพมหานครต้องประสบภัยจาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด หลวงพ่อพริ้งจึงได้รับตัวพาไปฝากท่าน[[อาจารย์มหากลั่น]] [[ตำบลพุมเรียง]] [[อำเภอไชยา]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งได้พากลับไปที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลานั้น ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลาสิกขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพริ้งจึงพาฝากไว้กับ [[พระครูปลัดเทียบ]] (ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็น[[พระธรรมเจดีย์]] และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ) {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ท่านได้ศึกษาธรรมะจนสอบได้[[นักธรรมชั้นเอก]] และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้[[เปรียญธรรม 5 ประโยค]] ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ต่อมา เมื่อมีอายุครบ[[อุปสมบท]] ก็ได้อุปสมบทในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2492]] ที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณทโย) (ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ [[พระธรรมวโรดม]]) ทรงเป็น[[พระอุปัชฌาย์]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} จนถึงปี [[พ.ศ. 2497]] สอบได้[[เปรียญธรรม 9 ประโยค]]<ref name="dhammathai">ธรรมะไทย, [http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watsaket.php วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร]</ref><ref>มติชน, [http://www.phrathai.net/news/detail.php?catid=1&groupid=0&ID=1540 ตั้ง ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช], 15 ม.ค. 2547</ref>
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับ[[ปริญญากิตติมศักดิ์]][[ ศิลปศาสตร]][[ดุษฎีบัณฑิต]] สาขา[[สังคมศาสตร์]]เพื่อการพัฒนา จาก[[มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี]]<ref name="SRU">คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี, [http://human.sru.ac.th/top/a001.htm สมเด็จพระพุฒาจารย์]</ref> และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จาก[[มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ]]<ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=506&Itemid=0 มรภ.ชัยภูมิ ถวายปริญญาสมเด็จฯเกี่ยว], 22 มีนาคม พ.ศ. 2550</ref>
 
== สมณศักดิ์ ==
เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อนและสถาปนา[[สมณศักดิ์]] โดยลำดับ ดังนี้
* [[พ.ศ. 2501]] เป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ [[พระเมธีสุทธิพงศ์]]
* [[พ.ศ. 2505]] เป็น พระราชาคณะ ชั้นราช ที่ [[พระราชวิสุทธิเมธี]]
* [[พ.ศ. 2507]] เป็น พระราชาคณะ ชั้นเทพ ที่ [[พระเทพคุณาภรณ์]]
* [[พ.ศ. 2514]] เป็น พระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ [[พระธรรมคุณาภรณ์]]
* [[พ.ศ. 2516]] เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ [[พระพรหมคุณาภรณ์]]
* [[พ.ศ. 2533]] เป็น[[สมเด็จพระราชาคณะ]] ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ [[สมเด็จพระพุฒาจารย์]]<ref name="SRU" />
 
== งานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ==
=== พ.ศ. 2494-2514 ===
 
[[ไฟล์:พิธีประทานเข็มเครื่องหมายอาจารย์สอนพระอภิธรรม.jpg|thumb|สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ภาพเมื่อเป็น[[พระราชาคณะ]]ที่ พระเทพคุณาภรณ์ ปี [[พ.ศ. 2507|2507]]'':องค์กลางในรูป'']]
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เริ่มต้นงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ในปี [[พ.ศ. 2494]] โดยเป็นครูสอน[[ปริยัติธรรม]] ต่อได้เป็นกรรมการตรวจ [[การสอบสนามหลวง#การสอบธรรมสนามหลวงในปัจจุบัน|ธรรมสนามหลวง]] ในปี [[พ.ศ. 2496]] และเป็นกรรมการตรวจ[[การสอบสนามหลวง#การสอบบาลีสนามหลวงในปัจจุบัน|บาลีสนามหลวง]] ในปี [[พ.ศ. 2497]] ในปีเดียวกัน ได้เป็นกรรมการพิเศษแผนกตรวจสำนวนแปล[[วินัยปิฏก]] ฉบับ พ.ศ. 2500 ของคณะสงฆ์{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ในปี [[พ.ศ. 2500]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีที่[[มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]] ในปีต่อมาได้เลื่อนเป็นหัวหน้าแผนกบาลีธรรม และเป็นอาจารย์สอนพระสูตร และประธานหัวหน้าแผนกคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในปี[[พ.ศ. 2502]] ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าแผนกธรรมวิจัย ของ[[มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ในปี [[พ.ศ. 2506]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม ในปี พ.ศ. 2507 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง[[เจ้าคณะภาค]] 9 (เขตปกครองจังหวัด [[ขอนแก่น]], [[มหาสารคาม]], [[กาฬสินธุ์]], [[ร้อยเอ็ด]]) {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ในปี [[พ.ศ. 2508]] ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็น[[เลขานุการ]]สมเด็จพระสังฆราช{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ในปี [[พ.ศ. 2513]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับเลือกเป็นกรรมการร่างหลักสูตร [[ร.ร. พระปริยัติธรรม]] แผนกสามัญศึกษา และเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== กรรมการมหาเถรสมาคม ===
ในปี [[พ.ศ. 2516]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ เป็นรูปที่ 3 ในประวัติศาสตร์แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ที่ได้รับสถาปนาแต่งตั้งขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่มีอายุไม่ถึง 50 ปี<ref>เสียงใต้รายวัน, [http://www.siangtai.com/TH/newsmonk_detail.php?News_ID=61 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ "เจ้าคุณเสนาะ" รูปที่4 ขึ้นรองสมเด็จฯ อายุน้อยที่สุด], 4 มี.ค. 2549</ref>
 
[[ไฟล์:พิธีตั้งสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร.JPEG|thumb|ภาพ:สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ปฏิบัติหน้าที่แทน[[สมเด็จพระสังฆราช]] ในพิธีทรงตั้งและเลื่อน[[สมณศักดิ์]]พระครูสัญญาบัตร ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2524]] ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[เจ้าคณะภาค]] 10 (เขตปกครองจังหวัด[[อุบลราชธานี]], [[ศรีสะเกษ]], [[นครพนม]], [[ยโสธร]], [[มุกดาหาร]], [[อำนาจเจริญ]]) ในปี [[พ.ศ. 2528]] ได้ เป็นประธานกรรมาธิการสังคายนา[[พระธรรมวินัย]] ตรวจชำระ[[พระไตรปิฎก]] ใน[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530|มหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2532]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหนใหญ่หนตะวันออก และในปี [[พ.ศ. 2534]] ได้เป็นประธานกรรมการจัดการชำระและพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติ [[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2535]] ในปี [[พ.ศ. 2540]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมหาเถรสมาคม และเป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
 
นอกจากนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงพิมพ์กรมการศาสนา และได้แสดงธรรมทางสถานีวิทยุ 919 ในรายการ “ของดีจากใบลาน” เป็นประจำ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
บรรทัด 76:
=== ภารกิจต่างประเทศ ===
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เริ่มต้นงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ในปี [[พ.ศ. 2498]] ได้ไปร่วมประชุมฉัฏฐสังคีติ ณ สหภาพ[[พม่า]] ในปี [[พ.ศ. 2505]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปดูการศาสนาและเพื่อศาสนสัมพันธ์ที่[[เกาหลี]] [[ญี่ปุ่น]] [[ไต้หวัน]] และ[[ฮ่องกง]] ต่อมาใน ปี [[พ.ศ. 2510]] ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสังเกตการณ์ การศึกษาพระพุทธศาสนาที่[[ลาว]] [[ศรีลังกา]] [[ญี่ปุ่น]] [[ไต้หวัน]] [[ฮ่องกง]] ในปี [[พ.ศ. 2512]] เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรม[[พระธรรมทูต]]
 
ในปี พ.ศ. [[พ.ศ. 2515]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ไปสังเกตการณ์การศึกษาทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน[[สหรัฐอเมริกา]] และในปี [[พ.ศ. 2525]] ได้รับตำแหน่งรองประธาน[[สภาสงฆ์แห่งโลก]]<ref name="SRU" /><ref>ฐานข้อมูล บุคคลสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้าน แหล่งเก็บข้อมูล สำนักวิทยบริการราชภัฏสุราษฎร์ธานี, [http://www.kunkru.sru.ac.th/rLocal/stories.php?story=01/03/07/5316048 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ร..9)], Monday April 09 2001</ref>
 
=== ตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ===
 
==== รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช ====
[[ไฟล์:CaretakerSupremePatriarch.jpg|left|thumb|หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547]]
ตามที่ [[สมเด็จพระญาณสังวร]]ฯ ประชวร และเสด็จประทับรักษาพระองค์ ณ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] มาตั้งแต่ต้นปี [[พ.ศ. 2545]] ทำให้ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระศาสนกิจได้สะดวก<ref name="Sick" /><ref name="KhaoSod" /> ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ขอความเห็นจากคณะแพทย์และคณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร มี[[พระเทพสารเวที]] ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เสนอที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมในวันที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2547]] ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม มีมติอนุโมทนาสนองข้อเสนอดังกล่าว โดยให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นการชั่วคราว{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} และโดยที่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ มีอายุถึง 96 ปี (ณ เวลานั้น) อีกทั้งยังอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน จึงเห็นสมควรให้สมเด็จพระราชาคณะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ลำดับถัดไป ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โดยมีสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะอื่นอีก 5 รูป เป็นผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} โดยที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ [[14 มกราคม]] [[พ.ศ. 2547]] โดยมีนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00136151.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 3ง], 14 มกราคม พ.ศ. 2547</ref> ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ [[26 มกราคม]] [[พ.ศ. 2547]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} อย่างไรก็ตาม ในปลายปี พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์[[ผู้จัดการออนไลน์]] ได้กล่าวหาว่า ลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของ พระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช<ref>ผู้จัดการออนไลน์ [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000152568 เปิดหลักฐานจับโกหก แถลงการณ์สำนักนายกฯ แอบอ้างสมเด็จพระสังฆราช], 4 พฤศจิกายน 2548</ref>
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 เช่น เป็นประธานในพิธีวันวิสาขบูชาโลก ในช่วง 30 พ.ค. ถึง 3 มิ.ย. ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่คณะสงฆ์ในโลกทั้ง 3 นิกาย คือ [[เถรวาท]] [[มหายาน]] และ[[วัชรยาน]] ได้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกันในสถานที่เดียวกัน<ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/05/28/03.php พุทธศาสนา 3 นิกาย ร่วมจัดงานวันวิสาขบูชาโลก], 29 มีนาคม พ.ศ. 2550</ref>
 
==== ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ====
บรรทัด 92:
[[ไฟล์:Somdet Phra Phuttacharn.jpg|thumb|สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ขณะทำหน้าที่คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (สังเกตร่ม)]]
 
ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2547 เพื่อให้มีคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ [[17 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2547]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00143686.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79ง], 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547</ref> มหาเถรสมาคม มีมติเป็น[[เอกฉันท์]]ในการประชุม เมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2547]] ให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวรฯ ซึ่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด ทั้งจากฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทำหน้าที่ประธาน<ref name="Manager" />
 
นอกจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว ยังมีสมเด็จพระราชาคณะอีก 6 รูป ในคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดังต่อไปนี้
# [[สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)|สมเด็จพระมหาธีราจารย์]] เจ้าอาวาส[[วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร]] (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2487, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นพระผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระพุฒาจารย์) <ref name="NationPostCoup" /><ref>ข่าวสด, [http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=38898&sid=17f6bfc458ea98ad9b7acc2abed2e9b2 ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)], คอลัมน์ มงคลข่าวสด, 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550</ref>
# [[สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ( ช่วง วรปุญโญ ป.ธ. 9)]]เจ้าอาวาส[[วัดปากน้ำภาษีเจริญ]] (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2488, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2538) <ref>วัดปากน้ำ, [http://www.watpaknam.net/history_somdej.php ประวัติย่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญมหาเถร ป.ธ. 9)]</ref>
# สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาส[[วัดสุวรรณาราม]] (มหานิกาย, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2471) {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
# สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาส[[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] (ธรรมยุต, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2483, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2543) <ref>มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, [http://www.pcw.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=31&Itemid=47&limit=1&limitstart=23 ประวัติ (โดยละเอียด) สมเด็จพระพุทธชินวงศ์]</ref>
# สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาส[[วัดสัมพันธวงศ์]] (ธรรมยุต, อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2480, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2544) <ref>วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (วัดเกาะ เยาวราช), [http://www.watsamphan.com/my04_somdej/index_somdej.htm ประวัติโดยสังเขป สมเด็จพระมหาวีรวงศ์]</ref>
# สมเด็จพระญาณวโรดม เจ้าอาวาส[[วัดเทพศิรินทราวาส]] ([[ธรรมยุต]], อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2480, ได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2546) <ref>มติชนรายวัน, [http://www.twp.co.th/news/index.asp?nid=1530 7 รายนามคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ "สมเด็จพระสังฆราช"]</ref><ref>วัดไทย ลาสเวกัส, [http://home.iirt.net/~aran/html/Thai%20Monk/Thaimonk01.html รายนามคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ชุดปัจจุบัน พ.ศ. 2549]</ref>
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2549 เช่น เป็นประธานในพิธีวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี พ.ศ. 2548 โดยมีผู้นำศาสนาพุทธจาก 41 ประเทศเข้าร่วม และกล่าวเปิดประชุมโดยการประกาศให้ผู้นำศาสนาพุทธทั่วโลกร่วมกันยกย่ององค์พระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงเป็นองค์พุทธมามกะประเสริฐยิ่งในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พร้อมแนะให้ใช้หลักแห่งพุทธะดับความร้อนรุ่มของโลก<ref>ผู้จัดการออนไลน์ 18, [http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000065740 เปิดวิสาขบูชาโลก "สมเด็จเกี่ยว" แนะใช้พุทธศาสนาดับความร้อนรุ่มของโลก], 18 พฤษภาคม 2548</ref>
 
==== ข้อวิจารณ์กรณีแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ====
นาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] และ[[หลวงตามหาบัว]] ได้กล่าวว่า สมเด็จพระญาณสังวรฯ ไม่ได้ทรงพระประชวร แต่เพราะทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วเท่านั้น จริงๆ แล้ว ทรงแจ่มใส ปฏิบัติพระศาสนกิจได้ การแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจึงมิชอบ<ref name="Liar" /><ref name="Manager" /> หลวงตามหาบัวยังได้กล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นมหาโจรด้วย และทำอะไรไม่ได้ดีไว้หลายอย่าง<ref name="Thief" /> ช่วงเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2548]] หลวงตามหาบัวจึงได้มอบหมายให้ ประธานศิษย์ นายทองก้อน วงศ์สมุทร ถวาย[[ฎีกา]]แก่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ขอพระราชทานบิณฑบาตถอด[[สมณศักดิ์]] สมเด็จพระพุฒาจารย์ ฐานขัด[[พระธรรมวินัย]] ดำเนินการประชุมมหาเถรสมาคมโดยไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ และร่วมมือกับนาย[[วิษณุ เครืองาม]] ทำลายหลักพระธรรมวินัยของ[[พระพุทธศาสนา]] และขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ตลอดจนศีลธรรมอันดี<ref name="Petition" /><ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/03/21/03.php ฎีกา "ทองก้อน : ทองขาว" เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาจริงหรือ ?], 19 เมษายน พ.ศ. 2550</ref> ในเวลาต่อมา หลวงตามหาบัวได้นำคณะสงฆ์และฆราวาสนับหมื่น ไปชุมนุมใหญ่ต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์<ref>ผู้จัดการออนไลน์, [http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000031832 คนนับหมื่นชุมนุมใหญ่ ต้านสมเด็จเกี่ยว-วิษณุ], 5 มีนาคม 2548</ref> ในรายการ[[เมืองไทยรายสัปดาห์]] นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ออกมากล่าวว่า "กรณีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถวายฎีกาเป็นการปกป้องสถาบันศาสนา และสถาบัน[[กษัตริย์]]ไม่ให้อ่อนแอ"<ref>ผู้จัดการออนไลน์, [http://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1002&mmsID=1002%2F1002-1009.wma&program_id=357 สนธิ ชี้ หลวงตามหาบัว ถวายฎีกาเพื่อปกป้องศาสนา], 5 มีนาคม 2548</ref> อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2549]] หลวงตามหาบัวได้ออกคำสั่งให้นายทองก้อนออกจากวัด และห้ามยุ่งเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ[[วัดป่าบ้านตาด]]อีกต่อไป เนื่องจากประพฤติไม่เหมาะสมอย่างรุนแรง เกี่ยวกับการบริหาร[[สถานีวิทยุ]]เสียงธรรมชุมชน จึงทำให้แนวร่วมต่อต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้อ่อนแอลงระยะหนึ่ง<ref>คม-ชัด-ลึก, [http://news.sanook.com/social/social_12779.php หลวงตามหาบัวอัปเปหิลูกศิษย์คนดังออกจากวัด], 11 สิงหาคม พ.ศ. 2549</ref>
 
ในทางตรงข้าม คอลัมนิสต์แมงเม่า แห่ง หนังสือพิมพ์[[เดลินิวส์]] ได้ออกมากล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอย่างถูกต้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย<ref>แมงเม่า, [http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=3260 คอลัมน์นิสต์ กระจกบานเล็ก : รำคาญ], เดลินิวส์, 8 มีนาคม 2548</ref> และผู้สนับสนุนสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพและความสนับสนุนเป็นจำนวนมาก<ref name="NationPostCoup" />
 
==== การปฏิบัติหน้าที่หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ====
 
หลังจากการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] ได้มีผู้ปลอมแปลงร่างพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ให้ยกเลิกคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเดิม และตั้งคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชใหม่ โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์เป็นประธาน และสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นที่ปรึกษา<ref>ไทยรัฐ, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=361&Itemid=0 'สังฆราช' มีบัญชา เปลี่ยนปธ. คณะผู้ปฏิบัติฯแทน], 7 พฤศจิกายน 2549</ref> ในวันต่อมา คุณหญิง[[ทิพาวดี เมฆสวรรค์]] รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับ [[สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ]] ได้กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครส่งพระบัญชาปลอมมาให้ดู<ref>ไทยรัฐ, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=367&Itemid=0 ปธ.ปฏิบัติสังฆราช ยังคงเดิม 'สมเด็จพุฒาจารย์'], 8 พฤศจิกายน 2549</ref> ส่วนเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชยืนยันว่าตนไม่ทราบว่าผู้ใดทำเอกสารปลอมแต่อย่างใด คณะกรรมการ[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]ได้ให้ผู้แทนแจ้งความร้องทุกข์แก่พนักงานสอบสวน เพื่อหาผู้กระทำการปลอมพระบัญชา<ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=373&Itemid=0 ร่างพระบัญชาพ่นพิษขู่บึ้มวัดบวรฯ], 9 พฤศจิกายนพ.ศ. 2549</ref>
 
ในช่วงเวลาเดียวกัน สมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] กว่า 30 คน นำโดยนาย[[ไพศาล พืชมงคล]] ได้เตรียมยื่นหนังสือเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและตราเป็น [[พ.ร.บ.]] โดยเสนอให้ นับอาวุโสของสมเด็จและพระราชาคณะโดยพรรษา (แทนการนับอาวุโสตามสมณศักดิ์แต่เดิม) ซึ่งจะทำให้พระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นพระฝ่าย[[ธรรมยุตินิกาย]]<ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=362&Itemid=0 ยึดพรรษา-ชงปลดสมเด็จกี่ยว], 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549</ref><ref>คม-ชัด-ลึก, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=364&Itemid=0 สมเด็จวัดชนะฯไม่รู้จะปลดสมเด็จเกี่ยว ชี้เอาจริงไม่ต้องผ่านมส.], 7 พฤศจิกายนพ.ศ. 2549</ref> พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2534 (ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในเวลานั้น) กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต้องมีอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงที่สุด โดยดูจากการที่พระสงฆ์รูปนั้น ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (คือมีการจารึกชื่อและราชทินนามลงบนแผ่นทองคำแท้) ก่อนพระสงฆ์รูปอื่น ๆ<ref name="NationPostCoup" /> ในเวลาเดียวกัน ได้มีผู้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเสนอร่างกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเปลี่ยนให้ พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็น [[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์|พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์]] โดยไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องของความอาวุโสทางพรรษาหรือสมณศักดิ์<ref>ผู้จัดการออนไลน์, คอลัมน์เซี่ยงเส้าหลง, [[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000129777 เรื่องฉาวใกล้ตัวนายกฯ “กัญจนา สปินด์เลอร์” โดนแฉพฤติกรรม “ไม่เป็นหญิงไทย” !!]], 18 ตุลาคม 2549</ref>
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามปกติในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 และต้นปี พ.ศ. 2550 เช่น เป็นประธานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระ[[พระไตรปิฎก]] เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550]] (ครั้งหลังสุดที่เคยมีการชำระพระไตรปิฎก คือ เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อครั้ง[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530|มหามงคลดิถีที่มีพระชนมพรรษาจะบรรจบครบ 5 รอบนักษัตร ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530]]) <ref>ไทยรัฐ, [http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=469&Itemid=0 ชำระพระไตรปิฎกถวาย “ในหลวง”], 30 มกราคม พ.ศ. 2550</ref>
 
== ผลงานด้านหนังสือ ==
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีผลงานด้านการเขียนที่เป็นหนังสือดังหลายเล่ม ประกอบด้วย ''ธรรมะสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา'', ''ดีเพราะมีดี'' (พิมพ์ ธ.ค. พ.ศ. 2540), ''ทศพิธราชธรรม'' (พิมพ์ ธ.ค. พ.ศ. 2541), ''วันวิสาขบูชา'' (พิมพ์ พ.ศ. 2542) <ref name="booklist">[http://web.schq.mi.th/~suriyon/book.htm บทความที่น่าสนใจ - หนังสือธรรมมะ]</ref><ref>[http://elib.fda.moph.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&opt=mrc&bid=6889&kid=0&lang=1&db=Main&pat=&cat=alt&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz ห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ELIB Gateway, เลขรหัส 1000007162]</ref>, ''การนับถือพระพุทธศาสนา'', ''ปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) '', ''โอวาทพระธรรมเทศนาและบทความสมเด็จพระพุฒาจารย์'', ''การดำรงตน'', และ ''คุณสมบัติ 5 ประการ''<ref name="SRU" />
 
== มรณภาพ ==
บรรทัด 166:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* รศ.ดร.สุวิทย์ รุ่งวิสัย, [http://www.lanna.mbu.ac.th/panya/no_60/suvit.asp ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช], มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
* The Nation, [http://www.nationmultimedia.com/2006/11/08/opinion/opinion_30018366.php Monastic dispute turning unholy], 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
* Mettanando Bhikkhu, Bangkok Post, [http://www.buddhistchannel.tv/index.php?id=70,854,0,0,1,0 Monastic feud could lead to a schism], 5 มีนาคม พ.ศ. 2548
* ผู้จัดการออนไลน์, [http://www.udonthani.com/udnews/03420.html “ทองก้อน” แจงเชิญ “สนธิ” ขึ้นเวทีชุมนุมศิษย์ ย้ำจุดยืนปกป้องพระราชอำนาจ], 6 พฤศจิกายน 2548
* [http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/011196.htm พระพิพิธธรรมสุนทร, คม-ชัด-ลึก, 23 มกราคม 2547]
* สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), [http://www.phrathai.net/article/detail.php?catid=2&ID=427 "พระไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองเป็นพระ แล้วจะเป็นอย่างไร"], โอวาท เนื่องในพิธีปิดอบรมหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์, 25 มีนาคม 2548
* สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), [http://www.phrathai.net/article/detail.php?catid=1&ID=356 สัมโมทนียกถา เนื่องในโอกาสทำบุญทำเนียบรัฐบาล], 24 พ.ย. 2547
* คม ชัด ลึก, [http://www.komchadluek.com/column/pra/2005/03/17/01.php พลิกปูมการสถาปนา... สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน], 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
* ข่าวสด, [http://www.socialwarning.net/data/views.php?recordID=2619 ความฉลาด-พยายาม-ระวัง-เสียสละ 4 พรมงคลปีใหม่ "สมเด็จเกี่ยว"], 11 มกราคม 2550