ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
R-Tummykung de Lamar (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 6:
อันนาม "เพาะช่าง" ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2456]] สืบเนื่องมาจากงานเฉลิมพระชนมพรรษา ในการที่โรงเรียนเพาะช่างได้รับพระราชทานกำเนิดจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นก็เพราะพระราชดำริใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งทรงห่วงใย ในศิลปะการช่างของไทยจะถูกอิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่หลายเข้าครอบงำ อาจถึงคราวเสื่อมสูญได้ จึงมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงศิลปะการช่างของไทย ให้พัฒนาถาวรสืบไป
 
== ประวัติ ==
เมื่อปี พ.ศ. 2448 ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงธรรมการ ในสมัยนั้น ได้ก่อตั้งกองช่างแกะไม้ขึ้น เพื่อทำแม่พิมพ์ เป็นภาพประกอบแบบเรียนของกองแบบเรียน กระทรวงธรรมการ ประกอบด้วย ช่างเขียนและช่างแกะไม้
 
บรรทัด 75:
'''พ.ศ. 2531''' [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่เป็น “[[สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล]] เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531
 
'''พ.ศ. 2533''' ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 7 ชั้น ( อาคารจุฑาธุช ) งบประมาณพิเศษจากการสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพระนคร [[สุเทพ วงศ์กำแหง]] แล้วขอประทานนามอาคารจาก พระวรวงศ์พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ว่าอาคาร "จุฑาธุช" ตามพระนามของ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ]]
 
''' พ.ศ. 2535''' แผนกศิลปะการถ่ายภาพได้ย้ายจากคณะวิชาวิจิตรศิลป์มาสังกัดคณะวิชาออกแบบ และคณะศิลปกรรมก็ได้ขยายที่ทำการจากวิทยาเขตเพาะช่าง เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ณ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตำบลคลองหก อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี
บรรทัด 91:
'''พ.ศ. 2547''' ได้มีการปรับปรุงตึกคณะออกแบบครั้งใหญ่ โดยปรับปรุงตกแต่งสถานที่รวมไปถึงอุปกรณ์การเรียนให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และวิทยาเขตได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปบัณฑิต 4 ปี ปกติ เพิ่มอีก 3 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาประติมากรรม สาขาออกแบบภายใน ภาคสมทบ 2 สาขาวิชา คือ วิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และสาขาวิชาออกแบบภายใน
 
'''พ.ศ. 2548''' สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ทำให้เพาะช่างต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ]]" รวมไปถึงได้มีโครงการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในหลายๆแขนงวิชาให้เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และบางสาขาวิชาให้มีหลักสูตร 2 ปีหลังต่อเนื่อง ผู้อำนวยการสถาบัน ปัจจุบันคือ นายพนม พรกุล
 
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
เพาะช่างได้ผลิตศิลปินแห่งชาติและบุคลากรด้านศิลปะ-วรรณกรรม-บันเทิง ให้กับประเทศมากมาย ด้านศิลปะเช่น [[เฟื้อ หริพิทักษ์]], [[จิตร บัวบุศย์]], [[เฉลิม นาคีรักษ์]], [[ถวัลย์ ดัชนี]], [[เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]] ด้านวรรณกรรม เช่น [[อังคาร กัลยาณพงศ์]], [[ชาติ กอบจิตติ]], [[ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ]], [[จุก เบี้ยวสกุล]] (จุลศักดิ์ อมรเวช), [[ราช เลอสรวง]] ด้านทัศนศิลป์ ศาสตราจารย์[[พูน เกษจำรัส]], [[กมล ทัศนาญชลี]] ด้านบันเทิง-ดนตรี-ภาพยนตร์ เช่น [[สุเทพ วงศ์กำแหง]], [[ชาย เมืองสิงห์]], [[เปี๊ยก โปสเตอร์]], [[ปยุต เงากระจ่าง]], [[วสันต์ โชติกุล]], [[พิง ลำพระเพลิง]], [[อุดม แต้พานิช]] ด้านอื่นๆ เช่น [[ปราจิน เอี่ยมลำเนา]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{ภาพถ่ายทางอากาศ|url=http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.744268,100.499309&spn=0.002314,0.005364&t=k}}
* [http://www.pantown.com/group.php?id=11476 เพาะช่างออนไลน์]
* [http://www.pohchang.org Pohchang.org]
 
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์|วิทยาเขตเพาะช่าง]]