ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ดังนี้
 
1. นายพันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์
 
2. นายแผน สิริเวชชะพันธ์
บรรทัด 33:
7. นางบุปผา กฤษณามระ
 
นายพันโทบุญผ่อง จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก[[โรงเรียนวิสุทธรังษี]] โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีแล้วได้ไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2469 หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการที่[[กรมรถไฟหลวง|กรมรถไฟ]]เป็นเวลา 8 ปี จึงลาออกมาประกอบอาชีพค้าขายกับบิดาและพี่น้อง ๆ ที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของครอบครัว ต่อมาได้สมรสกับ นางสุรัตน์ สิริเวชชะพันธ์ (นามสกุลเดิม: ชอุ่มพฤษ์) ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน คือ นางผณี ศุภวัฒน์
 
ต่อมานายบุญผ่อง ได้ลงสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี และได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2485 นับเป็นนายกเทศมนตรีคนที่ 3 ของเมืองกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี ซึ่งนายบุญผ่องขณะนั้นมีอายุเพียง 40 ปี<ref name="ย้อน"/>
บรรทัด 41:
หลังสงครามยุติ นายบุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับยศ [[พันโท]] (พ.ท.) และ น.พ.ดันล็อปได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ จากรัฐบาลอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท่านเซอร์ และทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิ "Weary Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship" ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ทุนแก่นักศึกษาแพทย์ชาวไทย โดยเฉพาะ[[ศัลยแพทย์]] ไปศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย<ref name="คม"/> <ref>[http://news.thaipbs.or.th/content/%E2%80%9C%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%9D-%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8D-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1 “บุญผ่อง” ละครสะท้อนเรื่องราวความกล้าหาญ - มีมนุษยธรรม จากไทยพีบีเอส]</ref>
 
วีรกรรมที่นายพันโทบุญผ่องได้สร้างไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาติสัมพันธมิตร และได้รับฉายาจาก น.พ.ดันล็อปว่า "The Quiet Lions" (สิงโตเงียบ) เนื่องจากในช่วงต้นที่ติดต่อกันนั้น นายพันโทบุญผ่องต้องระมัดระวังตัวมาก โดยหลังสงคราม นายบุญผ่องได้เดินทางเข้าสู่[[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อประกอบกิจการรถเมล์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจนายบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน ให้ไปเป็นรถประกอบกิจการ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน นับเป็นคู่แข่งรถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ ของนาย[[เลิศ เศรษฐบุตร]] <ref name="คม">[http://www.komchadluek.net/detail/20130512/158221/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94.html บุญผ่อง วีรชนช่องเขาขาด โดยธีรภาพ โลหิตกุล จากคมชัดลึก]</ref>
 
นายพันโทบุญผ่อง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2525 เรื่องราววีรกรรมของนายพันโทบุญผ่องได้ถูกถ่ายทอดเป็น[[ละครโทรทัศน์]]เรื่อง ''[[บุญผ่อง]]'' เมื่อกลางปี พ.ศ. 2556 ทาง[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]]<ref name="ย้อน">[http://event.thaipbs.or.th/event/index.php?q=node/659 ย้อนประวัติ รู้จักกับบุญผ่อง จากไทยพีบีเอส]</ref> <ref>[http://www.oknation.net/blog/boonpong/2013/05/05/entry-1 ลาก่อนเวรี่... ลาทีบุญผ่อง จากโอเคเนชั่น]</ref>
 
==อ้างอิง==