ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำยืม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
 
ในแง่ของความหมาย คำที่ยืมมาใช้อาจมีความหมายต่างไปจากเดิม หรือแม้แต่คำหลายคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน ความหมายก็อาจต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น คำบาลีและคำสันสกฤตว่า ''วร'' (วะระ) หมายถึง ดียิ่ง ประเสริฐ ในขณะที่คำไทยใช้ว่า ''วร'' (วอระ, วะระ) ตามความหมายเดิม, ''พร'' (พอน) หมายถึง คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์, ''[[พระ]]'' หมายถึง คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ หรือใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง อีกตัวอย่างหนึ่ง คำเขมรว่า {{km|ត្រួត}} (ตฺรัวต) แปลว่า ควบคุม ดูแล ปกครอง ในขณะที่คำไทยใช้ว่า ''ตรวจ'' หมายถึง พิจารณาดูความเรียบร้อย พิจารณาว่าถูกหรือผิด, ''[[ตำรวจ]]'' หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ตรวจตราและรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น ความหมายที่เปลี่ยนไปนี้ขึ้นอยู่กับ[[วัฒนธรรม]]ของผู้ใช้ภาษา
 
== การยืมคำกลับ ==
{{บทความหลัก|การยืมคำกลับ}}
การยืมคำกลับ หมายถึง การถ่ายทอดคำไปยังภาษาของผู้รับ แล้วกลับมายังภาษาของผู้ให้ในรูปแบบที่ต่างออกไป ตัวอย่างที่เห็นได้เช่น เดิมภาษาอังกฤษมีคำ animation แปลว่าภาพเคลื่อนไหว ต่อมาภาษาญี่ปุ่นยืมไปใช้เป็น アニメ (อะนิเมะ) จากนั้นภาษาอังกฤษก็ยืมกลับไปเป็นรูป anime ซึ่งหมายถึงการ์ตูนในแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/คำยืม"