ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองโอ่งอ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เมื่อพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวัง และขยายอาณาเขตพระนคร ให้กว้างออกไปนั้น ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2326 ตรงกับปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1144 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเดิม โดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือที่ตำบลบางลำภู ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดา วัดสระเกศ วังบูรพาภิรมย์ ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ เหนือวัดสามปลื้ม หรือวัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นระยะทาง 85 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก ในการครั้งนั้นได้สร้างกำแพงประตูเมือง ป้อมปราการ เลียบแนวคลองด้านใน ตลอดทั้งคลอง ประตูเมืองและป้อมปราการเว้นระยะห่างกันเป็นช่วง ๆ ถึง 9 ช่วง เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก ในรัชกาลที่ 1 เมื่อขุดคลองแล้วพื้นที่เมืองจึงกลายเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ คือ ด้านตะวันตกเป็นแม่น้ำเจ้า-พระยา และด้านตะวันออกเป็นคลองโอ่งอ่าง คลองโอ่งอ่างนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป 5 ชื่อ คือ คลองรอบกรุง คลองบางลำภู คลองโอ่งอ่าง คลองสะพานหัน คลองวัดเชิงเลน แต่ปัจจุบันเรียกว่า [[คลองบางลำภู]]
 
คลองรอบกรุงส่วนนี้ เรียกว่า [[คลองบางลำภู]] ซึ่งเริ่มตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงวัดสังเวชวิทยาราม ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศตรงช่วงปากคลองมหานาค ส่วนช่วงต่อจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ หรือวัดจักรวรรดิราชาวาส เรียกว่า [[คลองโอ่งอ่าง]] การที่เรียกชื่อแตกต่างกันมีมาตั้งแต่สมัยไหนนั้นไม่สามารถค้นหลักฐานได้ จากหนังสือเก่าซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการเรียกชื่อ คลองโอ่งอ่าง กับ คลองบางลำภู แล้ว<ref>ข้อมูลคูคลอง กรุงเทพมหานคร | http://dds.bangkok.go.th/csd/canal_h6.htm</ref>