ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมเจ้าท่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 103:
ต่อมาจนกระทั่งสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]]เป็นราชธานี ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทางราชการได้ทำสัญญาจ้างกัปตัน จอห์น บูช (John bush) ชาวอังกฤษ มาเป็นผู้ริเริ่มงานฝ่ายเจ้าท่า มีการลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อวัน 8ฯ9 ค่ำ จุลศักราช 1221 ปีมะแม เอกศก ตรงกับวันศุกร์ที่ [[5 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2402]] กรมเจ้าท่าจึงถือเอาวันที่ 5 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า และต่อมา กรมเจ้าท่า ซึ่งแต่เดิมสังกัดในกรมพระคลัง ได้ย้ายสังกัดไปอยู่ใน[[กระทรวงการต่างประเทศ]] และเมื่อ [[พ.ศ. 2432]] ได้ย้ายไปอยู่กับกระทรวงโยธาธิการ
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการของกรมที่ตึกเจ้าสัวเส็งริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ข้างตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน (คือที่ตั้งของกรมเจ้าท่าในปัจจุบัน) ต่อมาใน [[พ.ศ. 2444]] ได้ย้ายสังกัดกรมเจ้าท่าไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และใน [[พ.ศ. 2448]] กรมเจ้าท่าได้ยกฐานะเป็นกรมชั้นอธิบดี และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงให้ตราพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) และในปีนี้เอง ทรงเริ่มปรับปรุงกิจกรรมกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ โดยยกเอางานบางส่วนจากกรมคลองเดิมมารวมกับกรมเจ้าท่า
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทางราชการได้ยกกระทรวงนครบาลซึ่งกรมเจ้าท่าสังกัด อยู่ไปรวมกับ[[กระทรวงมหาดไทย]] จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2484]] กรมเจ้าท่าจึงได้ย้ายสังกัดเป็นครั้งสุดท้าย มาขึ้นกับ[[กระทรวงคมนาคม]]อย่างเช่นปัจจุบัน