ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 29:
เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี [[ค.ศ. 1533]] แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับ[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|อองรีดยุกแห่งออร์เลออง]]ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] กับ[[โคลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|พระราชินีโคลด]] เมื่อ[[เจ้าชายฟรองซัวส์ เจ้าชายรัชทายาท (1518-1536)|เจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์]] หรือ “โดแฟง” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี [[ค.ศ. 1536]] อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] ในปี [[ค.ศ. 1547]] ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด--[[ไดแอน เดอ ปอยเตียร์]] (Diane de Poitiers) --แทนที่ เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1559]] พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็น[[พระชนนี]]ของ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]]ผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง--[[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาร์ลที่ 9]] ผู้มีพระชนม์มายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าอองรีที่ 3]] พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์
 
พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจาก[[สงครามกลางเมือง]]และ[[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส|สงครามศาสนา]] ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่าย[[อูเกอโนท์]] (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือ[[นิกายโปรเตสแตนต์]]เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น<ref>[http://en.wikisource.org/wiki/Catholic_Encyclopedia_%281913%29/Catherine_de%27_Medici แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (Catholic Encyclopedia)]</ref> แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทาง[[คริสต์ศาสนวิทยา]]และสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่ทรงมีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ<ref>Knecht, ''Catherine de’ Medici'', 272 (แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ โดย คเน็คท์) </ref> พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์[[การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว]] ในปี [[ค.ศ. 1572]] ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งใน[[ปารีส]]และทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) <ref>Heller, 120.</ref> ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” <ref>Quoted by Knecht, ''Catherine de’ Medici'', xii.</ref>
 
นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันให้เหตุผลสนับสนุนการใช้อำนาจอันเกินควรของพระราชินีนาถแคทเธอรีน<ref>For a summary of the fluctuations in Catherine's historical reputation, see the preface to R. J. Knecht's ''Catherine de' Medici'' (1998: xi–xiv) </ref> แต่อาร์ เจ เนคช (R. J. Knecht) กล่าวว่าความทารุณของพระราชินีนาถแคทเธอรีนจะเห็นได้จากจดหมายที่ทรงเขียน นิโคลา ซัทเธอร์แลนด์ (Nicola Sutherland) กล่าวเตือนถึงความเกินเลยในการบรรยายอำนาจของพระองค์ว่าแทนที่จะเป็นภาพพจน์ที่ทรงปกครองอย่างมั่นคง พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงต้องต่อสู้กับความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแทบไม่มีทางชนะ<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 20.</ref> นโยบายการปกครองของพระองค์จึงเป็นนโยบายของความอยู่รอดของ[[ราชวงศ์วาลัวส์]]ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดใด<ref>Frieda, 454.</ref> จึงอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีพระราชินีนาถแคทเธอรีนพระโอรสทั้งสามพระองค์ก็คงไม่ทรงสามารถปกครองฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองได้<ref>Sutherland, for example, suggests that it was largely thanks to Catherine that Henry III was not deposed (p. 26). For contrasting summaries of Catherine’s achievement, see Nicola Sutherland’s pamphlet ''Catherine de Medici and the Ancien Régime'' (1966: 5–34), R. J. Knecht’s concluding chapter to ''Catherine de’ Medici'' (1998: 270–75), and Leonie Frieda’s concluding chapter to ''Catherine de Medici'' ([2003] 2005 edition: 453–56).</ref> ระยะการปกครองระหว่างพระโอรสทั้งสามเรียกว่า “สมัยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ” (The Age of Catherine de' Medici) <ref>Thomson, 97.<br />•Sutherland, ''Ancien Régime'', 3.</ref>
บรรทัด 50:
หลังจากนั้นในปีแรกแคทเธอรีนก็เกือบไม่ได้พบกับอองรีเท่าใดนัก แต่ข้าราชสำนักฝรั่งเศสก็ปฏิบัติต่อพระองค์เป็นอย่างดีและมีความประทับใจในพระปรีชาสามารถของแคทเธอรีน<ref>Frieda, 54.</ref> เมื่อพระสันตะปาปาคลีเมนต์สิ้นพระชนม์ในปี [[ค.ศ. 1534]] สถานการณ์ของแคทเธอรีนก็เปลื่ยนไป [[สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3]] พระสันตะปาปาองค์ต่อมาไม่ยอมจ่ายค่าสินสอดทองหมั้นจำนวนมหาศาลแก่ฝรั่งเศสตามที่เรียกร้อง จนพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ถึงกับทรงรำพึงว่าทรงได้แคทเธอรีน “มาแต่ตัวเปล่า” (The girl has come to me stark naked) <ref>"''J'ai reçu la fille toute nue.''" Frieda, 54.</ref>
 
อองรีเองนอกจากจะไม่ทรงสนพระทัยในพระชายาแล้วก็ยังไปมีสนมอีกหลายคนอย่างเปิดเผย สิบปีแรกหลังจากการแต่งงานแคทเธอรีนก็ยังไม่ทรงมีพระโอรสธิดา นอกจากนั้นในปี [[ค.ศ. 1537]] ฟิลลิปา ดูชิพระสนมคนหนึ่งก็ให้กำเนิดแก่พระธิดา ซึ่งอองรีทรงยอมรับอย่างออกหน้าออกตา<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 29–30. Henry legitimised the child under the name Diane de France; he also produced at least two sons by other women.</ref> การที่อองรีมีพระธิดาเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าอองรีมิได้ทรงเป็นหมันซึ่งเป็นการเพิ่มความกดดันให้แก่แคทเธอรีนหนักยิ่งขึ้นไปอีก
 
=== รัชทายาท ===
ในปี [[ค.ศ. 1536]] [[เจ้าชายฟรองซัวส์ เจ้าชายรัชทายาท (1518-1536)|ฟรองซัวส์]]พระเชษฐาของอองรีผู้เป็นรัชทายาทสิ้นพระชนม์จากการทรงจับไข้หลังจากทรงเล่น[[เทนนิส]] อองรีจึงกลายมาเป็น[[รัชทายาท]] ในฐานะชายาของรัชทายาท (Dauphine) ความกดดันที่มีอยู่ในการมีรัชทายาทเพื่อให้มีผู้สืบสันตติวงศ์ที่มีอยู่แล้วก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นไปอีก<ref name = "kxxiv">Knecht, ''Catherine de' Medici'', 29.</ref>
 
[[ปิแอร์ เดอ โบเดลล์]]นักพงศาวดารประจำราชสำนักบันทึกว่า “ต่างคนต่างก็ถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าแผ่นดินและรัชทายาทให้ประณามเจ้าหญิงแคทเธอรีนเพราะความจำเป็นที่จะต้องมีรัชทายาทที่จะสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศส” ที่เจ้าหญิงแคทเธอรีนไม่สามารถทรงทำได้<ref>Knecht, 29.</ref> นอกจากนั้นก็ยังมีการกล่าวถึงการหย่าร้าง ความที่ทรงหมดหนทางเจ้าหญิงแคทเธอรีนก็ทรงหาวิธีต่างๆ ที่ทรงคิดว่าจะช่วยให้ทรงครรภ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทรงเอาขี้วัวและผงเขากวางป่นทาบริเวณ “source of life” หรือทรงดื่มปัสสาวะลาเป็นต้น<ref>Frieda, 67.</ref> ในที่สุดเมื่อวันที่ [[20 มกราคม]] [[ค.ศ. 1544]] เจ้าหญิงแคทเธอรีนก็ทรงให้กำเนิดแก่พระโอรสที่ให้พระนามว่า “ฟรองซัวส์” ตามพระอัยกา หลังจากที่ทรงครรภ์ได้ครั้งหนึ่งแล้ว เจ้าหญิงแคทเธอรีนก็ไม่ทรงมีปัญหาในการมีพระโอรสธิดาอีกต่อมา ความเปลื่ยนแปลงนี้อาจจะมีสาเหตุมากจากความช่วยเหลือของนายแพทย์ชอง แฟร์เนลผู้ที่สังเกตเห็นความไม่ปกติในอวัยวะเพศของทั้งสองพระองค์และถวายคำแนะนำถึงวิธีเปลี่ยนแปลง<ref>Frieda, 68.</ref> เจ้าหญิงแคทเธอรีนทรงมีพระโอรสธิดากับอองรีเจ้าชายรัชทายาทอีก 9 พระองค์ 6 พระองค์ทรงรอดมาจนโตรวมทั้ง [[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส|เจ้าชายชาลส์]] ประสูติเมื่อวันที่ [[27 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1550]]; [[พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส|เจ้าชายอองรี]] ประสูติเมื่อวันที่ [[19 กันยายน]] [[ค.ศ. 1551]]; และ [[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชู]] ประสูติเมื่อวันที่ [[18 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1555]] ซึ่งเป็นทำให้การมีผู้สืบสายราชวงศ์วาลัวส์เป็นไปอย่างมั่นคง
 
แต่ความสามารถของเจ้าหญิงแคทเธอรีนในการมีผู้สืบราชบัลลังก์ให้แก่ฝรั่งเศสหลายองค์ก็มิได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และเจ้าชายอองรีดีขึ้นแต่อย่างใด ในปี [[ค.ศ. 1538]] เมื่อเจ้าชายอองรีมีพระชนม์ได้ 19 พรรษาก็ทรงได้[[ไดแอน เดอ ปอยเตียร์]]อายุ 38 ปีเป็นพระสนม ไดแอนกลายมาเป็นพระสนมคนโปรดจนตลอดพระชนม์ชีพ<ref>Frieda, 60, 95; Heritier, 38–42.</ref> แต่กระนั้นอองรีก็ยังทรงยกย่องเจ้าหญิงแคทเธอรีนในฐานะพระชายาอย่างเป็นทางการ<ref>Frieda, 114, 132,</ref> เมื่อ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1]] เสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1547]] เจ้าชายอองรีก็ขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าอองรีที่ 2]] และเจ้าหญิงแคทเธอรีนก็ได้รับการสวมมงกุฏเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสที่[[มหาวิหารแซงต์เดอนีส์]] ในปี [[ค.ศ. 1549]]
 
=== พระราชินีแห่งฝรั่งเศส ===
เมื่อทรงเป็นกษัตริย์พระเจ้าอองรีก็มิได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระราชินีแคทเธอรีนมีอิทธิพลในฐานะพระราชินีแต่อย่างใด<ref>Morris, 247; Frieda, 80.</ref> เป็นแต่บางครั้งที่ทรงมอบหน้าที่ให้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เมื่อพระองค์มิได้ประทับอยู่ในฝรั่งเศส แต่อำนาจที่ทรงให้ในฐานะที่เป็นผู้สำเร็จราชการก็เป็นเพียงจำกัด<ref>Frieda, 118; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 42–43.</ref> ต่อมาพระเจ้าอองรีทรงยก[[วังเชอนงโซ]]ที่พระราชินีแคทเธอรีนเองก็ทรงพระประสงค์ให้แก่ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ ซึ่งไดแอนก็ใช้เป็นศูนย์กลางอำนาจของตนเอง<ref>Frieda, 80–86.</ref> ราชทูตรายงานว่าเมื่อพระเจ้าอองรีทรงปรากฏตัวต่อหน้าแขกก็จะทรงประทับบนตักของไดแอนและทรง[[กีตาร์]] ตรัสเรื่องการเมืองไปในขณะที่และทรงเล่นหน้าอกของไดแอนน์ไปพลาง<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 38; Frieda, 94–95.</ref> ไดแอนมิได้คิดว่าพระราชินีแคทเธอรีนเป็นคู่แข่งและนอกจากนั้นก็ยังยุให้พระเจ้าอองรีทรงสมสู่กับพระราชินีแคทเธอรีนเพื่อจะได้ทรงมีพระโอรสธิดาเพิ่มขึ้น ในปี [[ค.ศ. 1556]] พระราชินีแคทเธอรีนเกือบสิ้นพระชนม์จากการให้กำเนิดพระราชธิดาแฝด ศัลย์แพทย์ต้องช่วยให้ทรงรอดโดยการหักพระเพลาของทารกองค์หนึ่งที่สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะกำเนิด<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 34; Frieda, 123.</ref> พระทารกอีกองค์ที่รอดมาก็มีพระชนม์ชีพอยู่เพียงเจ็ดอาทิตย์ก็สิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นพระราชินีแคทเธอรีนก็ไม่ทรงมีพระโอรสธิดาอีก
 
ในรัชสมัยของพระเจ้าอองรี [[ตระกูลกีส]]ก็เริ่มเรืองอำนาจขึ้นจากการที่ชาลส์ได้ขึ้นเป็น[[ชาลส์คาร์ดินัลแห่งลอร์แรน]]และ [[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งกีส|ดยุกฟรองซัวส์แห่งกีส]] (François, Duke of Guise) พระสหายเมื่อยังทรงพระเยาว์ของพระเจ้าอองรีได้เป็นเคานท์และดยุกแห่งกีส<ref>Frieda, 84.</ref> [[แมรีแห่งกีส สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์|แมรีแห่งกีส]]น้องสาวของทั้งสองคนแต่งงานกับ[[พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์]] ในปี [[ค.ศ. 1538]] และเป็นพระชนนีของเจ้าหญิงแมรีผู้ต่อมาเป็น[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์|พระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]] เมื่อเจ้าหญิงแมรีมีพระชนม์ได้ 5 พรรษากว่าๆ พระองค์ก็ทรงถูกนำตัวมาเลี้ยงดูในราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อให้เป็นคู่หมายของ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|ฟรองซัวส์เจ้าชายรัชทายาท]]ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอองรี<ref>Guy, 46.</ref> พระราชินีแคทเธอรีนทรงเลี้ยงดูเจ้าหญิงแมรีกับพระโอรสธิดาของพระองค์เองขณะที่แมรีแห่งกีสปกครอง[[ราชอาณาจักรสกอตแลนด์]]ในฐานะ[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]แทนพระธิดา<ref>Guy, 41.</ref>
บรรทัด 71:
=== พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 ===
[[ไฟล์:FrancoisII.jpg|thumb| upright|200px|[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] โดย [[ฟรองซัวส์ โคลเอท์]] (François Clouet) ค.ศ. 1560 พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 ทรงรู้สึกว่ามงกุฏที่สวมในพระราชพิธีราชาภิเษกหนักจนต้องทรงให้ขุนนางสี่คนช่วยประคองขณะที่ทรงเดินขึ้นไปประทับบนบัลลังก์<ref>Guy, 102–3.</ref>]]
[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนม์ได้ 15 พรรษา ในเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นการ “รัฐประหาร” โดย[[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งกีส|ดยุกฟรองซัวส์แห่งกีส]]ยึดอำนาจวันรุ่งขึ้นหลังจากที่พระเจ้าอองรีที่ 2 เสด็จสวรรคตและรีบย้ายเข้าไปใน[[พิพิธภัณฑ์ลูฟร์|พระราชวังลูฟร์]] พร้อมหลานสาว[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์|เจ้าหญิงแมรี]]และ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าฟรองซัวส์]]ที่เพิ่งเสกสมรสกันปีหนึ่งก่อนหน้านั้น<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 59; Frieda, 140.</ref> ราชทูตอังกฤษรายงานสองสามวันต่อมาว่า “[[ตระกูลกีส]]ปกครองและทำไปเสียทุกอย่างอย่างเช่นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส” (“the house of Guise ruleth and doth all about the French king”) <ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 60.</ref> ในระหว่างนั้นพระราชินีแคทเธอรีนก็ทรงร่วมมือกับตระกูลกีสโดยไม่มีทางอื่น พระเจ้าฟรองซัวส์ไม่ทรงมีสิทธิอย่างเป็นทางการในการปกครองของรัฐบาลขององค์เพราะยังทรงมีพระชันษาน้อยเกินกว่าที่จะปกครองประเทศด้วยพระองค์เองได้<ref>Morris, 248.</ref> แต่กระนั้นในพระราชบัญญัติที่ทรงออกอย่างเป็นทางการก็จะเริ่มต้นด้วย “ด้วยความพอพระทัยของสมเด็จพระราชินี, พระราชชนนีของข้าพเจ้า, และข้าพเจ้าก็ยอมรับความคิดเห็นของพระองค์ทุกประการที่ทรงมี, ข้าพเจ้าพอใจและสั่งว่า....”<!-- กรุณาอย่าแก้เครื่องหมายวรรคตอนตรงนี้--><ref>“This being the good pleasure of the Queen, my lady-mother, and I also approving of every opinion that she holdeth, am content and command that&nbsp;....” Frieda, 146.</ref> พระราชินีแคทเธอรีนเองก็มิได้ทรงลังเลในการที่ใช้อำนาจนี้ สิ่งแรกที่ทรงทำก็คือทรงบังคับให้[[ไดแอน เดอ ปอยเตียร์]]คืนเครื่องเพชรพลอยและ[[วังเชอนงโซ]]กับหลวง<ref>Frieda, 144.</ref> พอได้วังเชอนงโซคืนมาก็ทรงปรับปรุงต่อเติมให้เด่นกว่าที่ไดแอนได้ทำไว้<ref>Frieda, 144.</ref>
 
เมื่อตระกูลกีสมีอำนาจขึ้นก็เริ่มกำจัดผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ([[อูเกอโนท์]] (Huguenots)) อย่างจริงจัง แต่พระราชินีแคทเธอรีนไม่ทรงมีนโยบายที่รุนแรงและทรงกล่าวต่อต้านการไล่ทำร้ายอูเกอโนท์ของตระกูลกีส แม้ว่าพระองค์เองจะไม่ทรงมีความเห็นใจหรือทรงมีความเข้าใจในสาเหตุของการต่อสู้ของกลุ่มผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์แต่อย่างใด กลุ่มอูเกอโนท์พยายามหาผู้นำ ตอนแรกก็ได้[[อองตวนแห่งนาวาร์|อองตวนแห่งบูร์บง ดยุกแห่งแวงโดม]]ผู้เป็น[[เจ้าชายสืบสายพระโลหิต|เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก]] (Premier Prince du Sang) ต่อมาก็ได้พระอนุชา[[หลุยส์ที่ 1 แห่งบูร์บง เจ้าชายแห่งคองเด]]ผู้สนับสนุนการโค่นอำนาจของตระกูลกีสโดยการใช้กำลัง<ref>Frieda, 154; Holt, 38–39.</ref> เมื่อทางตระกูลกีสทราบแผนของเจ้าชายหลุยส์แห่งคองเดที่เรียกว่า[[การคบคิดที่อังบัวส์]] (The Conspiracy of Amboise) <ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 64; Holt, 44. The incident was known later as the Amboise conspiracy]].</ref> ก็รีบย้ายราชสำนักไปยัง[[วังอังบัวส์]] (Château d'Amboise) เพื่อใช้ที่เป็นที่มั่นในการต่อสู้ป้องกัน ดยุกฟรองซัวส์แห่งกีสก็โจมตีบริเวณป่ารอบอังบัวส์อย่างจู่โจมทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งตัวนายทัพลาเรโนดี (La Renaudie) <ref>Knecht, ''Renaissance France'', 282.</ref> ส่วนผู้อื่นก็จมน้ำตายๆ กันไปบ้าง ถูกขึงรอบกำแพงเมืองบ้าง ขณะที่ราชสำนักของพระราชินีแคทเธอรีนเฝ้าดู<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 65–66.</ref>
บรรทัด 77:
ในเดือนมิถุนายน [[ค.ศ. 1560]] [[มีแชล เด โลปีตาล]] (Michel de l'Hôpital) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งฝรั่งเศส เด โลปีตาลพยายามหาทางทำให้บ้านเมืองสงบสุขจากความวุ่นวายโดยการใช้รัฐธรรมนูญและทำงานอย่างใกล้ชิดกับพระราชินีแคทเธอรีน<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 32.</ref> ทั้งสองคนไม่เห็นด้วยกับการลงโทษผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์โดยเฉพาะผู้ที่ทำพิธีศาสนาเป็นการส่วนตัวและมิได้ถืออาวุธ เมื่อวันที่ [[20 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1560]] พระราชินีแคทเธอรีนและอัครมหาเสนาบดีเสนอนโยบายต่อสมาชิกสภาคนสำคัญๆ ที่[[พระราชวังฟงแตนโบล]] นักประวัติศาสตร์ถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นการแสดงความสามารถอย่างรัฐบุรุษของพระราชินีแคทเธอรีนเป็นครั้งแรก ขณะเดียวกันเจ้าชายหลุยส์แห่งคองเดก็รวบรวมกำลังทหารในฤดูใบไม้ร่วงและเริ่มโจมตีเมืองต่างๆ ทางใต้ของฝรั่งเศส พระราชินีแคทเธอรีนทรงเรียกตัวเจ้าชายแห่งคองเดมายังราชสำนัก แต่พอมาถึงก็ทรงให้จับเจ้าชายหลุยส์เป็นนักโทษทันที ศาลตัดสินว่าทรงเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์และตัดสินให้ประหารชีวิต แต่เจ้าชายหลุยส์แห่งคองเดรอดชีวิตมาได้เพราะพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 มาเสด็จสวรรคตเสียก่อนจากหูอักเสบ<ref>Frieda, 151; Knecht, 72; Guy, 119.</ref>
 
เมื่อพระราชินีแคทเธอรีนทรงทราบว่าพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 ใกล้จะเสด็จสวรรคตก็ทรงทำสัญญากับ[[อองตวนแห่งนาวาร์|อองตวนแห่งบูร์บงดยุกแห่งแวงโดม]]ให้อองตวนสละสิทธิในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่--[[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาลส์ที่ 9]]--เป็นการแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวของเจ้าชายหลุยส์แห่งคองเด<ref>Pettegree, 154; Hoogvliet, 105. The regency was traditionally the preserve of the princes of the blood.</ref> ดังนั้นเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1560]] องคมนตรีจึงได้แต่งตั้งพระราชินีแคทเธอรีนให้เป็น “ผู้ว่าราชการฝรั่งเศส” (gouvernante de France) ผู้มีอำนาจเด็ดขาด พระราชินีแคทเธอรีนทรงมีพระราชสาส์นถึง[[เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน|เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์]]พระธิดา ว่า “ความประสงค์ของฉันก็เพื่อที่จะให้เป็นเกียรติแก่พระเป็นเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่างและเพื่อเป็นการรักษาอำนาจ, ไม่ใช่เพื่อตัวของฉันเอง, แต่เพื่อรักษาราชอาณาจักรและทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งดีสำหรับพี่ชายทุกคนของเจ้า” <ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 73.</ref>
 
=== พระเจ้าชาลส์ที่ 9 ===
บรรทัด 88:
 
==== อูเกอโนท์ ====
[[ไฟล์:Jeanne-albret-navarre.jpg|thumb|upright|200px|[[ฌานน์ที่ 3 แห่งนาวาร์|พระราชินีฌานน์แห่งนาวาร์]], โดย[[ฟรองซัวส์ โคลเอท์]], ค.ศ. 1570 ฌานน์ทรงมีพระราชสาส์นถึงพระโอรสอองรีในปี ค.ศ. 1572 ว่า: “สิ่งเดียวที่ (พระราชินีแคทเธอรีน) ทรงทำก็คือตรัสเย้ยหยันฉัน, และหันไปบอกคนอื่นตรงกันข้ามกับที่ฉันพูด&nbsp;... ทรงปฏิเสธทุกอย่าง, ทรงพระสรวลต่อหน้าฉัน&nbsp;... ทรงมีกิริยาที่น่าละอายที่ฉันใช้ความพยายามกดความรู้สึกที่ยิ่งเหนือไปกว่า[[กริเซลดา]] (Griselda) ”<ref>Quoted by Knecht, ''Catherine de' Medici'', 149.</ref>]]
[[ไฟล์:Margot.JPG|thumb|upright|200px|[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์]]โดย[[ฟรองซัวส์ โคลเอท์]]]]
เมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1563]] พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ก็ทรงได้รับการประกาศโดยรัฐสภาแห่งรูอองว่าทรงบรรลุนิติภาวะ แต่แท้จริงแล้วพระองค์ก็ไม่ทรงสามารถปกครองด้วยพระองค์เองได้และไม่แสดงความสนพระทัยในกิจการบ้านเมืองแต่อย่างใด.<ref>Frieda, 268; Sutherland, ''Ancien Régime'', 20.</ref> จากนั้นพระราชินีแคทเธอรีนทรงตัดสินพระทัยรณรงค์ในการบังคับใช้[[พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ]]และเพิ่มความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยทรงจัดการการประพาสทั่วประเทศของพระเจ้าชาร์ลตั้งแต่เดือนมกราคม [[ค.ศ. 1564]] จนถึงเดือนพฤษภาคม [[ค.ศ. 1565]]<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 15.</ref> นอกจากนั้นก็ทรงจัดการพบปะระหว่างพระองค์กับพระราชินีโปรเตสแตนต์[[ฌานน์ที่ 3 แห่งนาวาร์|ฌานน์แห่งนาวาร์]] (Jeanne III of Navarre) ที่ Mâcon และ[[เนรัค]] และทรงพบปะกับพระธิดาของพระองค์[[เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน|พระราชินีเอลิซาเบธแห่งสเปน]]ที่ Bayonne ไม่ไกลจากพรมแดนสเปน พระสวามี[[พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน|พระเจ้าฟิลลิป]]มิได้ทรงเข้าพบปะด้วยแต่ทรงส่ง[[เฟอร์นานโด อัลวาเรซแห่งโทเลโด ดยุกแห่งอัลบาที่ 3|ดยุกแห่งอัลบา]] (Fernando Álvarez de Toledo, 3rd Duke of Alba) ไปบอกพระราชินีแคทเธอรีนว่าให้เลิกทำตามพระราชกฤษฎีกาแห่งอังบัวส์ และควรจะหันมาใช้วิธีลงโทษผู้นอกรีตแทนที่<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 104, 107–8; Frieda, 224.</ref>
 
เมื่อวันที่ [[27 กันยายน]] [[ค.ศ. 1567]] ก็เกิดเหตุการณ์จู่โจมที่รู้จักกันว่า[[การจู่โจมแห่งโมซ์]] (Surprise of Meaux) โดยที่กลุ่มอูเกอโนท์พยายามโจมตีพระเจ้าชาร์ลโดยตรงซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามกลางเมือง<ref>Wood, 17.</ref> ราชสำนักไม่ทันรู้ตัวต้องหนีกลับไปปารีสกันอย่างระส่ำระสาย<ref>Frieda, 234; Sutherland, ''Secretaries of State'', 147.</ref> สงครามจบลงด้วยการลงนามใน[[สัญญาสันติภาพลองจูโม]] (Peace of Longjumeau) เมื่อวันที่ [[22 มีนาคม|22]]– [[23 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1568]] แต่ความไม่สงบและการนองเลือดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป<ref>Frieda, 239; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 118.</ref> [[การจู่โจมแห่งโมซ์]]เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พระราชินีแคทเธอรีนทรงเปลี่ยนพระทัยในนโยบายที่มีต่อกลุ่มอูเกอโนท์ ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ก็ทรงเลิกใช้วิธีประนีประนอมและหันมาใช้การกำหราบแทนที่<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 120.</ref> ทรงมีพระราชดำรัสกับนักการทูตจากเวนิสในเดือนกันยายนในปี [[ค.ศ. 1568]] ว่าสิ่งเดียวที่หวังได้จากกลุ่มอูเกอโนท์คือความหลอกลวงและทรงสรรเสริญการปกครองอย่างเหี้ยมโหดของ[[เฟอร์นานโด อัลวาเรซแห่งโทเลโด ดยุกแห่งอัลบาที่ 3|ดยุกแห่งอัลบา]]ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผลให้กลุ่มผู้ปฏิวัติ[[คาลวินิส์ม]] (Calvinism) ถูกสังหารกันเป็นพันพันคน<ref>Frieda, 232.</ref>
 
กลุ่มอูเกอโนท์ถอยไปตั้งหลักอยู่ที่[[ลาโรเชลล์]] (La Rochelle) ชายฝั่งทางตะวันตกซึ่ง[[ฌานน์ที่ 3 แห่งนาวาร์|พระราชินีฌานน์]]และพระโอรส[[พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส|อองรีแห่งนาวาร์]]มาสมทบทีหลัง<ref>Bryson, 204.</ref> พระราชินีฌานน์ทรงสาส์นถึงพระราชินีแคทเธอรีนว่า “เรามาตั้งใจที่จะเสียชีวิต, เราทุกคน,...แทนที่จะละทิ้งพระผู้เป็นเจ้าของเรา, และศาสนาของเรา”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 132.</ref> การเป็นปฏิปักษ์ของพระราชินีฌานน์เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของราชวงศ์วาลัวส์ พระราชินีแคทเธอรีนทรงเรียกพระราชินีฌานน์ว่าเป็น “ผู้หญิงที่น่าละอายที่สุดในโลก”<ref>Frieda, 241.</ref> แต่กระนั้นก็ทรงยอมลงพระนามใน[[สนธิสัญญาแซงต์แชร์แมงอองเลย์]] (Peace of Saint-Germain-en-Laye) เมื่อวันที่ [[8 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1570]] เพราะกองทัพของพระองค์ขาดทุนทรัพย์ในการบำรุงรักษาในการต่อต้านกลุ่มอูเกอโนท์ซึ่งมีกำลังแข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ<ref>Wood, 28.</ref>
บรรทัด 101:
หลังจากพระราชธิดาเอลิซาเบธสิ้นพระชนม์ในการให้กำเนิดในปี [[ค.ศ. 1568]] ในขณะนั้นพระราชินีแคทเธอรีนพยายามจัดให้พระธิดาองค์สุดท้อง[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์]] แต่งงานกับ[[พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน]] แต่ทรงเปลี่ยนพระทัยและหันมาจัดการให้มาร์เกอรีตแต่งงานกับอองรีแห่งนาวาร์เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มความมั่นคงระหว่าง[[ราชวงศ์วาลัวส์]]และ[[ราชวงศ์บูร์บง]] แต่ขณะนั้นมาร์เกอรีตมีความสัมพันธ์ลับๆ กับ[[อองรีที่ 1 ดยุกแห่งกีส|ดยุกอองรีแห่งกีส]] ลูกชายขอดยุกฟรองซัวส์แห่งกีสผู้ถูกสังหารในการล้อมที่ออร์ลีอองส์ เมื่อพระราชินีแคทเธอรีนทรงทราบก็ทรงสั่งให้ลากตัวมาร์เกอรีตเข้ามาในห้องบรรทมแล้วทรงฉีกฉลองพระองค์และทรงทุบตีทึ้งพระเกศาพระธิดา<ref>Frieda, 257; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 135.</ref>
 
พระราชินีแคทเธอรีนทรงบังคับให้พระราชินีฌานน์เข้าเฝ้าในราชสำนัก ทรงเขียนว่าทรงมีพระประสงค์ที่จะพบปะกับพระโอรสธิดาของพระราชินีฌานน์และทรงให้คำสัญญาว่าจะไม่ทรงทำทำร้าย พระราชินีฌานน์ทรงตอบสวนมาว่า “หม่อมฉันต้องขออภัยที่เมื่ออ่านพระสาส์นและต้องหัวเราะ เพราะทรงให้คำมั่นที่ช่วยผ่อนคลายความระแวงที่หม่อมฉันไม่เคยมี หม่อมฉันไม่เคยคิดว่า, ตามข่าวที่ลือกัน, ว่าเสวยเด็กเล็กๆ เป็นอาหาร”<ref>Bryson, 282.</ref> เมื่อพระราชินีฌานน์เข้ามาเฝ้าในราชสำนัก แคทเธอรีนก็เพิ่มความกดดันอย่างหนักในการจัดการเสกสมรสของพระโอรสหนักขึ้น<ref>Jeanne d'Albret wrote to her son, Henry: "I am not free to talk with either the King or Madame, only the Queen Mother, who goads me [''me traite á la fourche'']&nbsp;... You have doubtless realized that their main object, my son, is to separate you from God, and from me". Quoted by Knecht, ''Catherine de' Medici'', 148–49.</ref> ในที่สุดพระราชินีฌานน์ก็ทรงยอมตกลงในการเสกสมรสระหว่างพระโอรสกับ[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์|มาร์เกอรีต]]แต่มีข้อแม้ว่าอองรียังรักษาความเป็นอูเกอโนท์ เมื่อพระราชินีฌานน์มาถึงปารีสเพื่อมาหาซึ้อเครื่องทรงสำหรับการเสกสมรส ก็ทรงล้มประชวรและสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 54 พรรษา กลุ่มอูเกอโนท์กล่าวหาว่าพระราชินีแคทเธอรีนเป็นผู้ฆ่าโดยใช้ถุงมือที่มียาพิษ<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 151. An autopsy revealed tuberculosis and an abscess.</ref> การเสกสมรสเกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1572]] ที่[[มหาวิหารโนตเรอดามแห่งปารีส]]
 
==== การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ====
บรรทัด 117:
สองปีต่อมาพระราชินีแคทเธอรีนก็ทรงประสพปัญหาใหม่เมื่อพระเจ้าชาร์ล 9 เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์มายุได้เพียง 23 พรรษา พระราชดำรัสขสุดท้ายของพระองค์คือ “โอ้, สมเด็จแม่”<ref>Frieda, 350.</ref> วันก่อนที่จะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาร์ลทรงแต่งตั้งพระราชินีแคทเธอรีนให้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เพราะพระอนุชาดยุกแห่งอองชูผู้เป็นรัชทายาทยังประทับอยู่ในโปแลนด์ ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์ในปีก่อนหน้านั้น พระราชินีแคทเธอรีนทรงพระราชสาส์นถึงอองรีว่า: “ฉันมีความโทมนัสที่ต้องเป็นพยานในเหตุการณ์และความรักที่ทรงแสดงต่อฉันในนาทีสุดท้าย&nbsp;...สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมฉันในขณะนี้ก็คือการที่จะได้เห็นเจ้าเพียงอีกไม่นานนัก, เพราะราชอาณาจักร (ฝรั่งเศส) ต้องการตัวเจ้า, และได้เห็นว่าเจ้ามีสุขภาพพลานามัยดี, เพราะถ้าฉันเสียเจ้าไปอีกคน, ฉันก็คงจะฝังตัวเองทั้งเป็นกับเจ้า”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 172.</ref>
 
อองรีเป็นพระโอรสองค์โปรดที่สุดของพระราชินีแคทเธอรีน พระองค์ต่างจากพระเชษฐาตรงที่ทรงเป็นผู้ใหญ่แล้วเมื่อได้ราชบัลลังก์และทรงมีพระสุขภาพพลานามัยที่ดีกว่าเพียงแต่ปอดอ่อนแอกว่าและทรงเหนื่อยง่าย<ref>Frieda, 375.</ref> แต่ไม่ทรงมีความสามารถทางด้านการปกครองและทรงต้องพึ่งพระราชมารดากับคณะที่ปรึกษาจนสองสามอาทิตย์ก่อนที่พระราชินีแคทเธอรีนจะเสด็จสวรรคต อองรีมักจะซ่อนพระองค์จากการปกครองบ้านเมืองด้วยการทรงมุ่งมั่นในความเคร่งครัดทางศาสนาโดยทรงเดินทางไปแสวงบุญบ้างหรือ [[เฆี่ยนตัวเอง|เฆี่ยนพระองค์เอง]] (Flagellation) บ้าง<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 232, 240, 247.</ref>
 
อองรีทรงเสกสมรสกับ[[หลุยส์แห่งลอร์แรน-โวเดมองท์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|หลุยส์แห่งลอร์แรน-โวเดมองท์]] (Louise de Lorraine-Vaudémont) ในเดือนกุมภาพันธ์ [[ค.ศ. 1575]]สองวันหลังจากวันราชาภิเศก การทรงเสกสมรสของพระองค์ทำให้แผนการจัดการเสกสมรสกับเจ้าหญิงต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพระราชมารดาต้องผิดไป ขณะเดียวกันข่าวลือที่ว่าไม่ทรงสามารถมีพระราชโอรสธิดาได้ก็เริ่มหนาหูขึ้นทุกวัน
 
ซาวิอาติราชทูตของสมเด็จพระสันตปาปาตั้งข้อสังเกตว่า “จากการสังเกตเห็นจะยากที่จะทรงมีพระราชโอรสธิดา&nbsp;... แพทย์และผู้มีความคคุ้นเคยกับพระองค์กล่าวว่าทรงมีสุขภาพพลานามัยที่ไม่ไคร่ดีนักและคงจะไม่มีชีวิตอยู่นานนัก”<ref>Frieda, 369.</ref> เมื่อเวลาผ่านไปโอกาสที่จะทรงมีพระราชโอรสธิดาก็ยิ่งน้อยลง [[ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู]] (François, Duke of Anjou) พระราชโอรสองค์สุดท้องของพระราชินีแคทเธอรีนหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “เมอซิเยอร์” ก็เริ่มแสดงพระองค์เป็นรัชทายาทโดยทรงใช้ความเป็นอนาธิปไตยของบ้านเมืองและสงครามกลางเมืองเป็นเครื่องมือ ซึ่งในขณะนั้นจุดประสงค์ไม่เพียงแต่จะเป็นการต่อสู้ในเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาแต่เป็นการต่อสู้เพื่อแย่งอำนาจกันในบรรดาชนชั้นปกครองด้วย<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 22.</ref> พระราชินีแคทเธอรีนทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ฟรองซัวส์เตลิด ในโอกาสหนึ่งในเดือนมีนาคม [[ค.ศ. 1578]] ทรงเรียกฟรองซัวส์มาสั่งสอนถึงหกชั่วโมงรวดถึงอันตรายในความประพฤติของพระองค์<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 205.</ref>
 
[[ไฟล์:Nicholas Hilliard 002.jpg|thumb|upright|200px|[[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชู]] พระราชโอรสองค์สุดท้องของพระราชินีแคทเธอรีน โดย [[นิโคลัส ฮิลเลียร์ด]] (Nicholas Hilliard) ราว ค.ศ. 1577. [[พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1]] ทรงเรียกว่าพระองค์ว่า “กบน้อยของฉัน” และทรงพบว่ามิได้ทรงพิการเท่าข่าวลือที่ได้ทรงทราบก่อนหน้าที่จะได้พบพระองค์<ref>Frieda, 397.</ref>]]
ในปี [[ค.ศ. 1576]] ฟรองซัวส์ทรงสร้างความไม่มั่นคงต่อราชบัลลังก์ของอองรีโดยทรงไปเป็นพันธมิตรกับกลุ่มเจ้าชายโปรเตสแตนต์ผู้เป็นปรปักษ์ต่อแผ่นดิน<ref>Holt, 104.</ref> เมื่อวันที่ [[6 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1576]] พระราชินีแคทเธอรีนทรงยอมรับข้อเรียกร้องเกือบทั้งหมดของกลุ่มอูเกอโนท์ใน[[พระราชกฤษฎีกาบิวลี]] (Edict of Beaulieu) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ (พระราชกฤษฎีกา) ความสันติสุขของเมอซิเยอร์” เพราะเชื่อกันว่าฟรองซัวส์เป็นผู้ทรงหนุนให้ทางฝ่ายปกครองยอมรับ<ref>Holt, 105–6; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 186; Frieda, 384–87.</ref> ฟรองซัวส์สิ้นพระชนม์ด้วย[[วัณโรค]]เมื่อเดือนมิถุนายน [[ค.ศ. 1584]] หลังจากที่ทรงเข้าร่วมในสงครามในบริเวณเนเธอร์แลนด์ที่กองทัพของพระองค์พ่ายแพ้อย่างย่อยยับและถูกสังหารหมู่<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 212–13; Frieda, 406–7.</ref> วันรุ่งขึ้นพระราชินีแคทเธอรีนทรงพระอักษร: “ฉันรู้สึกเหมือนจะตายที่ต้องมีชีวิตยืนยาวอยู่จนต้องเห็นใครต่อใครตายไปต่อหน้าฉัน, แม้ว่าจะทราบว่าเป็นความประสงค์ของพระเจ้าที่ต้องเชื่อฟัง, ว่าท่านทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง และทรงให้ลูกมาตราบเท่าที่ทรงมีพระประสงค์จะให้มา”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 217.</ref> ความตายของพระราชโอรสองค์สุดท้องทำให้แผนการพระองค์ในการสร้างเสริมอำนาจของราชวงศ์วาลัวส์ต้องมาสิ้นสุดลง ตาม[[กฎบัตรซาลลิค]]ที่บ่งว่าบุตรชายเท่านั้นที่มีสิทธิในการครองราชบัลลังก์ ฉะนั้น[[พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส|อองรีแห่งนาวาร์]]พระสวามีของ[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์|มาร์เกอรีต]]พระราชธิดาผู้เป็นอูเกอโนท์จึงกลายเป็นรัชทายาทโดยพฤตินัย (Heir Presumptive) ของราชบัลลังก์ฝรั่งเศส<ref name="Pettegree, 154"/>
 
อย่างน้อยพระราชินีแคทเธอรีนก็ยังมีความรอบคอบในการจัดการเสกสมรสให้กับ[[มาร์เกอรีตแห่งวาลัวร์|มาร์เกอรีต]]พระราชธิดาองค์สุดท้องกับอองรีแห่งนาวาร์ แต่มาร์เกอรีตก็ทรงก่อปัญหาต่างๆ ให้แก่พระราชินีแคทเธอรีนพอๆ กับฟรองซัวส์ ในปี [[ค.ศ. 1582]] มาร์เกอรีตเสด็จกลับราชสำนักฝรั่งเศสโดยไม่มีพระสวามีเสด็จตามมาด้วย พระราชินีแคทเธอรีนทรงพระสุรเสียงเมื่อพระราชธิดาทรงไปมีคนรัก<ref>Frieda, 404.</ref> และทรงส่ง [[ปอมปองน์ เด เบลเลวฟร์]] (Pomponne de Bellièvre) ไปนาวาร์เพื่อจัดการการส่งตัวมาร์เกอรีตกลับนาวาร์ ในปี [[ค.ศ. 1585]] มาร์เกอรีตก็หนีจากนาวาร์อีกครั้ง<ref>Frieda, 414.</ref> ครั้งนี้ทรงไปพำนักอยู่ที่ตำหนักส่วนพระองค์ที่อาจอง (Agen) แต่ก็ยังทรงอ้อนวอนขอเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายจากพระมารดา พระราชินีแคทเธอรีนทรงส่งให้แต่เพียงพอใช้ “พอให้พอมีข้าวกิน”<ref>Frieda, 415.</ref> จากนั้นมาร์เกอรีตก็ย้ายไปป้อมคาร์ลาท์และไปมีคนรักชื่อดอบิแย็ค (d'Aubiac) พระราชินีแคทเธอรีนทรงของให้อองรีช่วยก่อนที่มาร์เกอรีตจะทำความเสียหายให้แก่ราชตระกูลมากขึ้น ในเดือนตุลาคม [[ค.ศ. 1586]] อองรีจึงสั่งให้จำขังมาร์เกอรีตใน[[วังดูซอง]] (Château d'Usson) ส่วนดอบิแย็คถูกประหารชีวิตแต่มิใช่ต่อหน้ามาร์เกอรีตอย่างที่พระราชินีแคทเธอรีนทรงมีพระประสงค์<ref>Frieda, 416; Knecht, ''Catherine de' Medici'', 254–55.</ref> หลังจากนั้นพระราชินีแคทเธอรีนทรงตัดมาร์เกอรีตจากพินัยกรรมและไม่ได้มีโอกาสได้พบกันอีกจนสิ้นพระชนม์
 
พระราชินีแคทเธอรีนไม่ทรงสามารถควบคุมอองรีเช่นเดียวกับที่เคยทรงควบคุมพระเจ้าฟรองซัวส์และพระเจ้าชาร์ลก่อนหน้านั้นได้<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 189; Frieda, 389.</ref> บทบาทของพระองค์จึงเป็นแต่เพียงผู้นำในการบริหารและการทูต เสด็จประพาสบริเวณต่างๆ ในราชอาณาจักรอย่างกว้างขวางเพื่อทรงใช้อำนาจในความพยายามในการหลีกเลี่ยงสงคราม ในปี [[ค.ศ. 1578]] ทรงพยายามสร้างความสงบทางด้านใต้ เมื่อมีพระชนมายุได้ 59 พรรษาทรงใช้เวลาเดินทางสิบแปดเดือนทั่งทางใต้ของฝรั่งเศสเพื่อพบปะกับผู้นำกลุ่มอูเกอโนท์ตัวต่อตัว พระราชวิริยะอุตสาหะทำให้ประชาชนเริ่มเปลี่ยนใจหันมาจงรักภักดีต่อพระองค์มากขึ้น<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 209; Frieda, 392.</ref> เมื่อเสด็จกลับปารีสในปี [[ค.ศ. 1579]] พระองค์ก็ทรงได้รับการต้อนรับจากประชาชนและรัฐสภา เจโรลาโม ลิโปมานโนราชทูตจากเวนิสบรรยายว่า: “ทรงเป็นผู้ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย, ทรงเกิดมาเพื่อปกครองประชาชนที่เอาไม่อยู่อย่างชาวฝรั่งเศส: แต่เดี๋ยวนี้พวกเขาก็เริ่มรู้คุณค่าของพระองค์ในคุณธรรม, ในพระสงค์ในความต้องการที่จะสมานฉันท์ และเศร้าใจที่มิได้รู้คุณค่าของพระองค์ก่อนหน้านั้น”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 200.</ref> แต่อย่างไรก็ตามพระราชินีแคทเธอรีนก็มิได้ทรงพระเนตรบอดเพราะเมื่อวันที่ [[25 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 1579]] พระองค์ก็ทรงเขียนเตือนอองรีถึงการก่อความไม่สงบที่จะเกิดขึ้นและกล่าวว่าถ้าผู้ใดทูลอย่างอื่นผู้นั้นก็โกหก<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 201.</ref>
บรรทัด 144:
ในวันที่ [[8 กันยายน]] [[ค.ศ. 1588]] อองรีทรงเรียกประชุมที่บลัวส์และทรงไล่เสนาบดีของพระองค์ออกหมดโดยมิได้มีการเตือนล่วงหน้า พระราชินีแคทเธอรีนซึ่งขณะนั้นประชวรด้วยการติดเชื้อเกี่ยวกับปอดมิได้ทรงทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด<ref>Henry wrote a note to Villeroy, which began: "Villeroy, I remain very well contented with your service; do not fail however to go away to your house where you will stay until I send for you; do not seek the reason for this my letter, but obey me". Sutherland, ''Secretaries of State'', 300–3.</ref> พระราชกรณียกิจครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการยุติอำนาจของพระพระราชินีแคทเธอรีน
 
ในการประชุมพระเจ้าอองรีทรงขอบพระทัยพระราชินีแคทเธอรีนสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงได้ปฏิบัติมา ทรงสรรเสริญพระราชินีแคทเธอรีนว่าไม่แต่จะเป็นพระมารดาของพระองค์แต่ยังเป็นพระมารดาของบ้านเมืองด้วย<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 264–65.</ref> พระเจ้าอองรีมิได้ทูลพระราชินีแคทเธอรีนถึงแผนการที่จะทรงแก้ปัญหาต่างๆ ของพระองค์ ในวันที่ [[23 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1588]] ทรงขอให้ดยุกแห่งกีสเข้าเฝ้าที่[[พระราชวังบลัวส์]] เมื่อดยุกแห่งกีสเข้ามาในห้องกลุ่ม[[สี่สิบห้าองค์รักษ์]]ก็รุมกันแทงดยุกด้วยมีดจนไปสิ้นชีวิตที่แท่นบรรทมของพระเจ้าอองรี ในขณะเดียวกันตระกูลกีสแปดคนก็ถูกล้อมจับ รวมทั้ง[[หลุยส์ที่ 2 คาร์ดินาลแห่งกีส]] (Louis II, Cardinal of Guise) ผู้ที่ทหารของอองรีสับจนสิ้นชีวิตในที่จำขังในวันต่อมา<ref>Pettegree, 165.</ref> หลังจากการสังหารตระกูลกีสแล้วอองรีก็เข้าเฝ้าพระราชินีแคทเธอรีนในห้องบรรทมและทรงประกาศว่า “กรุณายกโทษให้หม่อมฉันด้วย เมอซิเยอร์แห่งกีสเสียชีวิตแล้ว เราจะไม่กล่าวถึงนามนั้นอีก หม่อมฉันเป็นผู้จัดการการสังหาร หม่อมฉันทำในสิ่งเดียวกับที่เมอซิเยอร์จะทำกับหม่อมฉัน”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 266. The words were reported to the government of Florence by Catherine's doctor, Filippo Cavriana, who acted as their informant.</ref> ปฏิกิริยาของพระราชินีแคทเธอรีนต่อคำทูลของพระโอรสไม่เป็นที่ทราบ แต่ในวันคริสต์มัสทรงมีพระราชดำรัสกับหลวงพ่อว่า “เจ้าลูกตัวร้าย ไม่รู้ว่ามันไปทำอะไร!...สวดมนต์ไห้ด้วยเถอะ...ข้าเห็นว่ามันกำลังรีบเดินทางไปสู่ความหายนะ”<ref name = K267>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 267.</ref> พระราชินีแคทเธอรีนเสด็จไปเยี่ยมพระสหายเก่า[[ชาลส์ คาร์ดินัลแห่งบูร์บง|คาร์ดินัลชาลส์แห่งบูร์บง]]ในที่จำขังเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[ค.ศ. 1589]] เพื่อจะไปบอกว่าอีกไม่นานก็จะถูกปล่อยซึ่งคาร์ดินัลชาลส์ก็ทูลตอบว่า “พระราชดำรัสของพระองค์, มาดาม, มีแต่จะนำเราไปสู่ตะแลงแกงตลอดมา”<ref name = K267/> พระราชินีแคทเธอรีนทรงจากคาร์ดินัลมาด้วยน้ำพระเนตรนองพระพักตร์
 
เมื่อวันที่ [[5 มกราคม]] [[ค.ศ. 1589]] พระราชินีแคทเธอรีนก็เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์มายุได้หกสิบเก้าพรรษาอาจจะด้วย[[เยื่อหุ้มปอดอักเสบ]] (pleurisy) L'Estoile บันทึกว่า: “ผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์เชื่อว่าการกระทำของพระราชโอรสเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของพระองค์สั้นขึ้น”<ref name = K269>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 268–69.</ref> และกล่าวต่อไปว่าทรงยอมตายเสียดีกว่าที่จะถูกปฏิบัติด้วยเหมือนเป็นแพะที่ตายแล้ว เพราะปารีสเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์พระบรมศพจึงต้องถูกนำไปฝังไว้ที่บลัวส์ ต่อมา[[ไดแอนแห่งฝรั่งเศส]] (Diane de France) พระธิดานอกสมรสของพระเจ้าอองรีที่ 2 กับฟิลลิปปา ดูชิเป็นผู้ให้นำพระบรมศพของพระองค์ย้ายไปฝังที่[[มหาวิหารแซงต์เดอนีส์]] ในปี [[ค.ศ. 1793]] กลุ่มปฏิวัติที่เข้าทำลายมหาวิหารก็โยนกระดูกของพระองค์ลงไปในหลุมศพผู้ไร้นามรวมกับพระมหากษัตริย์, พระราชินีและพระญาติพระวงศ์องค์อื่นๆ ที่ถูกขุดขึ้นมา<ref name = K269>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 269.</ref> แปดเดือนหลังจากการบรรจุพระบรมศพของพระราชินีแคทเธอรีนนักบวชฌาคส์ เคลมองท์ (Jacques Clément) ก็ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอองรีที่ 3 โดยการแทงด้วยมีดจนสิ้นพระชนม์ ขณะนั้นปารีสถูกล้อมโดยฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินนาวาร์ เมื่อพระเจ้าอองรีที่เสด็จสวรรคต อองรีแห่งนาวาร์ก็ขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าอองรีที่ 4]] ซึ่งทำให้การปกครองโดย[[ราชวงศ์วาลัวส์]]เป็นเวลาร่วมสี่ร้อยปีสิ้นสุดลงและเริ่มการปกครองโดย[[ราชวงศ์บูร์บอง]]
บรรทัด 173:
 
== พระราชโอรสธิดา ==
พระราชินีแคทเธอรีนทรงเสกสมรสกับ[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|ดยุกอองรีแห่งออร์เลออง]]ผู้ต่อมาครองราชย์เป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]]ที่[[มาร์เซย์]]เมื่อวันที่[[28 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1533]] ทรงมีพระราชโอรสธิดาสิบพระองค์ เจ็ดพระองค์รอดมาจนโต พระราชโอรสสามพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศส พระราชธิดาสองพระองค์เสกสมรสกับผู้ต่อมาเป็นกษัตริย์ และพระราชธิดาองค์หนึ่งเสกสมรสกับกับดยุก
 
* [[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] (19 มกราคม ค.ศ. 1544 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1560) เสกสมรสกับ[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์|พระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]] ในปี [[ค.ศ. 1558]]