ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงอีเรเนอแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Irene hesse1.jpg|thumb|210px|เจ้าหญิงไอรีนแห่งเฮสส์และไรน์]]
 
'''เจ้าหญิงไอรีนแห่งเฮสส์และไรน์''' (Princess Irene of Hesse and by Rhine ''พระนามเต็ม'' ไอรีน หลุยส์ มาเรีย แอนนา; ''ประสูติ'' [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2409]] ''สิ้นพระชนม์'' [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2496]]) เป็นพระธิดาในลำดับที่สามของ[[เจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจักร]]และ[[แกรนด์ดยุคลุดวิกที่ 4 แห่งเฮสส์และไรน์]] และมีพระอัยกาและอัยยิกาฝ่ายพระชนนีคือ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] และ [[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา]] ส่วนพระอัยกาและอัยยิกาฝ่ายพระชนกคือ [[เจ้าชายคาร์ลแห่งเฮสส์และไรน์]] และ [[เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งปรัสเซีย]] พระองค์เป็นพระชายาใน[[เจ้าชายไฮน์ริชแห่งปรัสเซีย]] พระญาติชั้นที่หนึ่ง และนอกจากนี้ก็ทรงเป็นพาหะของโรค[[เฮโมฟีเลีย]]เช่นเดียวกับพระกนิษฐาคือ [[พระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์)|เจ้าหญิงอลิกซ์]] โดยพระโอรสสองในสามพระองค์ทรงประชวรเป็นโรคเฮโมฟีเลียด้วย
 
เจ้าหญิงอลิกซ์ พระขนิษฐาทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย โดยทรงเปลี่ยนมาใช้พระนามใหม่ว่า [[อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา]] พระอัครมเหสีใน[[สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย|สมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย]] และ[[แกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์|เจ้าชายแอร์นส์ ลุดวิก]] พระอนุชาทรงเป็นแกรนด์ดยุคครองรัฐแห่งเฮสส์และไรน์ ส่วน[[เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเฮสส์และไรน์|เจ้าหญิงวิกตอเรีย]] พระภคินีองค์โตได้อภิเษกสมรสกับ [[หลุยส์ เมานท์แบ็ตเต็น มาร์ควิสที่ 1 แห่งมิลฟอร์ดฮาเว็น|เจ้าชายหลุยส์แห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก]] ซึ่งต่อมาทั้งสองทรงเป็นมาร์ควิสและมาร์ชเนสแห่งมิลฟอร์ดฮาเว็น และ[[แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย|เจ้าหญิงเอลิซาเบธ]] พระภคินีอีกพระองค์หนึ่ง (ซึ่งต่อมาทรงได้รับการยกย่องจาก[[นิกายออร์โธด็อกซ์รัสเซีย|ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซีย]]ให้เป็นนักบุญเอลิซาเบธ ผู้เสียสละ) อภิเษกสมรสกับ [[แกรนด์ดยุคเซอร์เกย์ อเล็กซานโดรวิชแห่งรัสเซีย]]
บรรทัด 9:
เจ้าหญิงประสูติในวันที่ [[11 กรกฎาคม]][[ พ.ศ. 2409]] ณ พระราชวังใหม่ [[เมืองดาร์มสตัดท์]] โดยทรงได้รับพระนามแรก ที่มาจาก[[ภาษากรีก]] แปลว่า "สันติภาพ" เนื่องจากพระองค์ประสูติในช่วงของการสิ้นสุด[[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]]<ref>Mager (1998), p. 27</ref> เจ้าหญิงอลิซทรงเห็นว่าเจ้าหญิงไอรีนทรงเป็นเด็กที่ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดและครั้งหนึ่งทรงเขียนถึง[[เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี|เจ้าหญิงวิกตอเรีย]] พระภคินีว่าไอรีนนั้น "ไม่สวยน่ารัก"<ref>Pakula (1995), p. 322</ref> แม้ว่าจะไม่มีพระสิริโฉมงามเท่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่เจ้าหญิงทรงสุภาพเรียบร้อย ถึงแม้จะเป็นแค่ลักษณะนิสัย เจ้าหญิงอลิซทรงอบรมเลี้ยงดูพระธิดาแบบเรียบง่าย มีพระพี่เลี้ยงชาวอังกฤษควบคุมดูแลพระโอรสและธิดา และให้เสวยพระกระยาหารพวกข้าวบดเหลวกับแอ็ปเปิ้ลอบ และสวมใส่เสื้อผ้าธรรมดา ทรงสอนพระธิดาเรื่องการบ้านการเรือน เช่น การอบขนมเค้ก จัดปูเตียง จุดไฟในเตาผิง และปัดกวาดฝุ่นให้ห้องนอน เจ้าหญิงอลิซยังทรงเน้นถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือคนจนและพาพระธิดาไปในการเยี่ยมเยียนโรงพยาบาลและงานการกุศลต่างๆ ด้วย<ref>Mager (1998), pp. 28-29</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2416]] ทั้งครอบครัวรู้สึกโศกเศร้าเมื่อ[[เจ้าชายฟรีดริชแห่งเฮสส์และไรน์|เจ้าชายฟรีดริช]] ซึ่งมีพระนามเรียกเล่นว่า "ฟริตตี้" พระอนุชาที่ประชวรโรคเฮโมฟีเลียของเจ้าหญิงไอรีน พลัดตกจากหน้าต่างที่เปิดทิ้งไว้ พระเศียรติดอยู่กับราวระเบียง และได้สิ้นพระชนม์ในอีกหลายชั่วโมงต่อมาเนื่องจากพระโลหิตคั่งในสมอง<ref>Mager (1998), p. 45</ref> ต่อมาอีกหลายเดือนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสวัยเยาว์ เจ้าหญิงอลิซก็ทรงนำพระโอรสและธิดาไปยังหลุมฝังพระศพเพื่อสวดมนต์ต์และทรงหดหู่เมื่อถึงการฉลองครบรอบที่เกี่ยวกับพระองค์<ref>Mager (1998), pp. 45-46</ref> ในฤดูใบไม้ร่วงของปี [[พ.ศ. 2421]] เจ้าหญิงไอรีน พระภคินี พระอนุชา พระกนิษฐาและพระชนกทรงประชวรด้วยโรค[[คอตีบ]] [[เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์|เจ้าหญิงมารี]] ซึ่งมีพระนามเรียกเล่นว่า "เมย์" ก็ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคนี้ ส่วนพระชนนีซึ่งทรงเหนื่อยล้าจากการพยาบาลพระโอรสและธิดา ทรงติดโรคนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อทรงทราบว่าประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงอลิซก็ทรงสั่งเสียความปรารถนาต่างๆ รวมถึงคำแนะนำในการเลี้ยงดูพระธิดาและดูแลการบ้านการเรือนกับพระสวามี เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคคอตีบเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2421<ref>Mager (1998), p. 56</ref>
 
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงอลิซ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ทรงตกลงพระทัยจะเป็นเหมือนเป็นพระชนนีให้กับพระราชนัดดาในราชวงศ์เฮสส์ เจ้าหญิงไอรีน พระภคินี พระกนิษฐาและพระอนุชาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงประทับอยู่ใน[[อังกฤษ]]ช่วงวันหยุดต่างๆ และพระอัยยิกาทรงก็ส่งคำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาและความเห็นเกี่ยวกับฉลองพระองค์ของพระราชนัดดามายังพระอาจารย์ด้วย<ref>Mager (1998), p. 57</ref>
บรรทัด 35:
ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหญิงไอรีนกับพระภคินีและพระขนิษฐาต้องแตกแยกออกจากการเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ซึ่งทำให้ต้องทรงอยู่กันคนละฝ่าย เมื่อสงครามสิ้นสุดลง พระองค์ทรงได้ข่าวว่าเจ้าหญิงอลิกซ์ พระสวามี พระโอสธิดาและเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระภคินีทรงถูกปลงพระชนม์โดยพวก[[บอลเชวิค]] หลังจากสงครามและการสละราชสมบัติของ[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] ประเทศเยอรมนีไม่ได้ปกครองด้วยราชวงศ์ปรัสเซียอีกต่อไป แต่เจ้าหญิงไอรีนกับพระสวามียังคงประทับในตำหนักเฮมเมลมาร์ค ทางตอนเหนือของประเทศอยู่
 
เมื่อ[[แอนนา แอนเดอร์สัน]]ปรากฏตัวขึ้นที่[[กรุงเบอร์ลิน]]ในปี [[พ.ศ. 2464]] โดยอ้างว่าเป็น[[แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย นิโคไลเยฟนาแห่งรัสเซีย]] ผู้รอดชีวิตจากการปลงพระชนม์พระราชวงศ์ เจ้าหญิงไอรีนเสด็จไปพบกับหญิงสาวคนนั้นแต่ตัดสินว่านางแอนเดอร์สันไม่ใช่พระนัดดาที่ทรงพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี [[พ.ศ. 2456]]<ref>Kurth (1983), p. 51</ref> เจ้าชายไฮน์ริช พระสวามีทรงกล่าวว่าการพูดถึงนางแอนเดอร์สันรบกวนพระทัยเจ้าหญิงไอรีนมากเกินไปและทรงสั่งว่าห้ามมิให้ใครพูดถึงหญิงคนนั้นเมื่อพระองค์ทรงอยู่ด้วย เจ้าชายไฮน์ริชสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[20 เมษายน]] [[พ.ศ. 2472]] และอีกหลายปีต่อมา เจ้าชายซิกิสมุนด์ พระโอรสทรงตั้งคำถามกับนางแอนเดอร์สันผ่านสื่อกลางเกี่ยวกับวัยเยาว์ที่มีร่วมกันและกล่าวว่าคำตอบถูกหมดทุกขัอ<ref>Kurth (1983), p. 272</ref> เจ้าหญิงไอรีนทรงรับอุปการะเจ้าหญิงบาร์บารา พระธิดาในเจ้าชายซิกิสมุนด์ ที่ประสูติในปี [[พ.ศ. 2463]] ไว้เป็นทายาทหลังจากที่เจ้าชายได้เสด็จออกจากเยอรมนีเพื่อไปประทับยัง[[คอสตาริกา|ประเทศคอสตาริกา]]ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เจ้าชายซิกิสมุนด์ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จกลับมาประทับในเยอรมนีหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]<ref>Kurth (1983), p. 428</ref> เจ้าหญิงไอรีนทรงโทมนัสอย่างแสนสาหัสเมื่อเจ้าชายวัลเดมาร์ พระโอรสองค์โตทรงประชวรด้วยโรคเฮโมฟีเลียในปี [[พ.ศ. 2488]] และสิ้นพระชนม์เนื่องจากการขาดเลือดสำหรับการถ่ายโลหิต ส่วนเจ้าหญิงก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2496]] สิริพระชนมายุได้ 87 พรรษา 4 เดือน โดยได้ทรงทิ้งพระตำหนักเฮมเมลมาร์คไว้ให้เป็นมรดกแก่พระนัดดา
 
== พระอิสริยยศ ==