ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 28:
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม''' พระนามเดิม '''พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์''' ทรงเป็นต้น[[ราชสกุล]] "'''เพ็ญพัฒน์'''" เป็นผู้พระนิพนธ์เพลง[[ลาวดวงเดือน]]
 
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 38 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของ[[เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง]] (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ [[13 กันยายน|13 กันยายน]] [[พ.ศ. 2425|พ.ศ. 2425]] เสด็จไปศึกษาทางด้าน[[เกษตรศาสตร์]]จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ
 
ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า จาก[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]] ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม พร้อมกับสร้างสวนหม่อนและสถานีเลี้ยงไหมขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพ ทรงจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 กระทรวงเกษตราธิการได้รวมกองการผลิต, กองการเลี้ยงสัตว์ และกองช่างไหม ตั้งขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" โดยมี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นอธิบดีกรมช่างไหมพระองค์แรก
 
งานหลักของกรมช่างไหม คือ การดำเนินงานตามโครงการของสถานีทดลองเลี้ยงไหม เริ่มด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นใน[[พระราชวังดุสิต]] เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 และเปิดโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นที่ปทุมวัน เรียกว่า "โรงเรียนกรมช่างไหม" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิจัย และฝึกพนักงานคนไทยขึ้นแทนคนญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็น [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]