ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
'''เมืองยอง''' เป็นเมือง หรือจังหวัดหนึ่งใน [[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]] เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งเกี่ยวข้องกับ [[พม่า]] [[ล้านนา]] [[สยาม]] [[ลาว]] และ เขต[[สิบสองปันนา]] ของ[[จีน]] ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง จะถูกเรียกว่า [[ชาวไทยอง]]
 
คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่น ๆ ในสิบสองพันนา ซึ่งเป็นคนลื้อหรือไทลื้อ และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2348 คนทั่วไปจึงเรียกว่า คนเมืองยอง เพราะในสมัยนั้นรัฐประชาชาติหรือรัฐชาติ (Nation State) แบบตะวันตกยังไม่เกิดขึ้น ในสมัยนั้นผู้คนต่างบ้านหลายเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จึงเรียนขานกันตามชื่อบ้านเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น
 
== ภูมิลักษณะ ==
บรรทัด 39:
สมัย[[พญาสามฝั่งแก่น]] ([[พ.ศ. 1947]]-1948) กองทัพเชียงใหม่ สามารถขับไล่พวกฮ่อออกจากเชียงแสนและเมืองยองได้ เมืองยองจึงได้หันมาส่งบรรณาการให้กับเชียงใหม่
 
ในสมัยที่ที่ล้านนามีอำนาจสูงสุด [[พญาติโลกราช]] ([[พ.ศ. 1984]]-2939) ได้ขึ้นไปปกครองเมืองยองอยู่ระยะหนึ่งในราว[[ พ.ศ. 1985]] เพราะตำนานเมืองยอง และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงถึงการขยายอำนาจของล้านนาไปจนถึงดินแดน[[สิบสองพันนา]] พญาติโลกราช ซึ่งในตำนานได้ระบุว่า '''พระเจ้าอโศก''' ได้บูรณะพระธาตุจอมยอง และทรงทะนุบำรุง[[พระพุทธศาสนา]]ในเมืองยองให้เจริญมั่นคง สันนิษฐานว่าพุทธศาสนาแบบลังกาได้ขึ้นไปเผยแผ่ถึงหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนบนระยะเวลานี้ด้วย
 
เหตุการณ์ดังกล่าวได้บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองยองกับเชียงใหม่ที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 29-22 ในยุคที่อาณาขนาดจักรใหญ่ได้ขยายตัวออกไปโดยการทำสงคราม เช่น พม่า จีนหรือสิบสองพันนา ดังนั้น ล้านนาและ[[ล้านช้าง]]จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มกำลังคนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการขยายอำนาจและสร้างอาณาจักร และยังใช้เป็นสิ่งที่แสดงอิทธิพลเหนือดินแดนต่าง ๆ ในปริมณฑลแห่งอำนาจหรือเมืองชายขอบ
บรรทัด 54:
ในปี [[พ.ศ. 2345]] ทำให้[[พระเจ้ากาวิละ]]เป็นที่ยอมรับของหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนาและหัวเมืองทางตอนบน อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จากในคราวที่พระเจ้ากาวิละยกกองทัพไปตีเชียงแสน
 
ในปี พ.ศ. 2345-2347 ก็ได้รับการสนับสนุนกำลังทหารจากกรุงเทพฯ เวียงจันทน์ เมืองลำปาง เมืองน่าน และครั้งที่ยกไปตีและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองครั้งใหญ่ ในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้นก็ได้รับการสนับสนุนกองทัพจากเมือง[[ลำปาง]] เมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] และเชียงตุง ที่มีกำลังคนนับ 19,999 คน นับเป็นการยกทัพครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยพระเจ้ากาวิละ หลังจากทัพพม่าที่เชียงแสนถูกทัพจากเชียงใหม่ตีแตกในปี [[พ.ศ. 2347]] แล้ว ทัพเชียงใหม่ได้ยกขึ้นไปตีเมืองยองก่อนเมืองอื่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของเมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] ว่าเป็นศูนย์อำนาจย่อยของหัวเมืองบริเวณใกล้เคียง ดังเช่นในสมัย[[พระเจ้าสุทโธธรรมราชา]](พ.ศ. 2148-2191) พม่าได้มอบหมายให้เมืองยองดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ถึง 12 หัวเมืองมาก่อน การที่ทัพเชียงใหม่ยกมาครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เมืองยอง โดยเห็นได้จากภายหลังที่เมืองยองยอมสวามิภักดิ์แล้ว มีผลทำให้หัวเมืองอื่น ๆ ในบริเวณแถบนี้ยอมสวามิภักดิ์ต่อเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ทำให้กองทัพเชียงใหม่สามารถขยายอิทธิพลเข้าไปถึงสิบสองพันนาและหัวเมืองอื่น ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของพม่าได้สะดวก
 
 
บรรทัด 65:
บ้านยู้ เมืองหลวย เมืองกาย เมืองขัน เชียงขาง เมืองวะ เมืองลวง เมืองหน(หุน) เมืองแช่ เมืองราย (ฮาย) เมืองเจื่อง ท่าล้อ เมืองพาน เมืองม้า เมืองของ เมืองวัง เมืองมาง เมืองขาง เมืองงาด เมืองออ เมืองงิม เมืองเสี้ยว [[เชียงรุ่ง]]
 
ทำให้อำนาจของเชียงใหม่ขยายกว้างใหญ่ดังที่เป็นมาแล้วในสมัยราชวงศ์มังราย ครั้งนั้น พระเจ้ากาวิละน่าจะได้มอบหมายให้เจ้าเมืองยองและไพร่พลเข้ามาตั้งอยู่ที่เขตเมืองเชียงใหม่ และลำพูน เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการแบ่งไพร่พลเมืองยองให้กับเมืองต่าง ๆ เพียงแต่ไม่ปรากฎปรากฏหลักฐานว่าไพร่พลเหล่านั้นของตนไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณใดของเมืองเชียงใหม่หรือลำพูน แต่น่าจะเป็นบริเวณรอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่ เพราะในปัจจุบันมีชื่อหมู่บ้านและชุมชนกระจายตัวอยู่รอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่ เช่น บ้านเมืองวะ บ้านเมืองก๋าย บ้านเมืองเลน บ้านเมืองลวง บ้านวัวลาย บ้านตองกาย บ้านท่าสะต๋อย บ้านเชียงขาง วัดเชียงรุ่ง เป็นต้น จะมีเพียงเจ้าเมืองยองและญาติพี่น้องพร้อมกับไพร่พลเท่านั้นที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนและมีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับกลุ่มเจ้าเจ็ดตน
 
การตั้งถิ่นฐานของชาวยองในเมืองลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2347 ก่อนการก่อตั้งเมืองลำพูน พระเจ้ากาวิละยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมืองลำพูน ด้านการปกครองยังคงมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี [[พ.ศ. 2348]] [[พระเจ้ากาวิละ]]เห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งและฟื้นฟูเมืองลำพูนอันเป็นนโยบายการเตรียมกำลังคนเพื่อสนับสนุนเชียงใหม่เมื่อมีการสงคราม นอกจากนี้กำลังคนในเมืองลำพูนก็ลดลงไปในครั้งที่พระเจ้ากาวิละพาไปตั้งที่เมืองเชียงใหม่ในปี [[พ.ศ. 2339]] ครั้งหนึ่งแล้ว ยังสูญเสียไปกับความไม่สงบและสงครามหลายครั้ง เมืองลำพูนจึงอยู่ในสภาพที่จะรองรับผู้คนที่มาจากเมืองยองและเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้ เมืองลำพูนยังอยู่ติดกับเชียงใหม่ ทำให้สามารถควบคุมดูแลได้ง่าย กับทั้งยังเป็นการปูนบำเหน็จความชอบแก่ญาติพี่น้องที่ได้ช่วยกันทำศึกสงครามมาเป็นเวลานาน และเป็นการขยายตำแหน่งทางการเมืองเพื่อป้องกันการขัดแย้งในการขึ้นดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในหมู่พี่น้องตระกูลเจ้าเจ็ดตนในอนาคตอีกด้วย