ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 23:
พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น ([[ค.ศ. 1648]] - [[ค.ศ. 1652]]) มีกบฏฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี [[ค.ศ. 1661]] ออย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่า จะบริหาร[[ประเทศ]]ด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี [[ค.ศ. 1683]] และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี [[ค.ศ. 1691]]
 
สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของ[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช]] (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่างๆหมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฏ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฏ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชอำจนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
 
ขณะที่[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส]] สวรรคต ขณะนั้นพระเจ้าหลุยส์ 14 มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังคราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี [[ค.ศ. 1650]]
บรรทัด 39:
* เจ้าหญิงมารี-อานน์ ( [[พ.ศ. 2207]] - [[พ.ศ. 2207]])
 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมีพระสนมมากมาย ในจำนวนนั้น รวมถึง[[หลุยส์ เดอ ลา วาลลิแยร์]], [[อองเจลลิก เดอ ฟงตองจ์]], [[มาดาม เดอ มงต์เตสปอง]] และ [[มาดาม เดอ มังเตอนง]] (ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของราชินี ในปี [[พ.ศ. 2227]]) ในวัยรุ่น พระองค์ได้ทรงรู้จักกับหลานสาวของ[[พระคาร์ดินัลมาซารัง]] ชื่อ[[มารี มองซีนี]] ความรักแบบเพื่อนของทั้งสองถูกขัดขวางโดยพระคาร์ดินัล ผู้ประสงค์ให้พระองค์อภิเษกสมรสกับราชนิกูลของ[[ประเทศสเปน]]เพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และของตัวพระคาร์ดินัลเอง คนมักจะพูดกันว่านางสาวเดอ โบเวส์โชคดีมากที่ไม่ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็ยังกังขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ยังทรงมีสัมพันธ์เป็นเวลายาวนานอีกกับเด็กสาวพนักงานซักรีดของ[[พระราชวังลูฟ]] ด้วยความเจ้าชู้ของพระองค์ ต่อมาภายหลังได้มีรับสั่งให้สร้างบันไดลับไว้มากมายใน[[พระราชวังแวร์ซาย]]เพื่อจะได้สเด็จไปหาพระสนมของพระองค์ได้สะดวก ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้พวกเคร่งศาสนากลุ่มหนึ่งไม่พอใจ [[โบสซูเอต์]] กับ [[มาดาม เดอ มังเตอนง]] จึงพยายามชักชวนให้พระองค์หันกลับมาสู่ความทรงคุณธรรมอีกครั้ง ซึ่งทำคนทั่วไปรู้สึกถึงบรรยากาศที่เปลี่ยนไปของพระราชวังแวร์ซายได้ แต่ก็ทำให้ผู้บันทึกประวัติหลายคนรู้สึกเสียดาย
 
ปัญหาเรื่องพระพลานามัยที่ทรุดโทรมและปัญหาการหารัชทายาท ทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสลดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ต้องสูญเสียพระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (มกุฎราชกุมาร) ไปในปี [[พ.ศ. 2254]] ในปีถัดมา ดยุคแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นพระราชนัดดา พร้อมด้วยโอรสองค์โตของดยุคพระองค์นี้ก็ได้สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย[[โรคฝีดาษ]] องค์มกุฎราชกุมารทรงมีพระโอรสอีกสององค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้เป็นกษัตริย์ของ[[ประเทศสเปน|สเปน]]ภายใต้พระนามว่าฟิลลิปเปที่ 5 แห่งสเปน เป็นผู้ซึ่งปฏิเสธสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสที่สืบเนื่องมาจากสงครามชิงบัลลังก์ในสเปนภายใต้[[สนธิสัญญาอูเทรชต์]] ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2257]] ดยุคแห่งแบรี โอรสอีกพระองค์หนึ่งของมกุฎราชกุมารก็สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย ราชนิกูลชายผู้สืบเชื้ออย่างถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นจึงได้แก่ดยุคแห่งอองจู พระโอรสองค์รองของเจ้าชายแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประสูติเมื่อปี [[พ.ศ. 2253]]แต่ก็เป็นเด็กชายผู้มีพลานามัยเปราะบาง นอกเหนือจากดยุคแห่งอองจูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งมกุฎราชกุมารแล้ว ก็มีเจ้าชายผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระองค์อยู่อีกไม่มากในสายมารดาอื่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ราชวงศ์ด้วยการมอบสิทธิ์การขึ้นครองบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอีกสองพระองค์ด้วยเช่นกัน ได้แก่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ เดอ บูร์บง ดยุคแห่งเมน และเจ้าชายหลุยส์ อเล็กซองเดรอ เคาท์แห่งตูลูส พระโอรสอันชอบธรรมสองพระองค์ที่ประสูติแต่[[มาดาม เดอ มงต์เตสปอง]]
 
[[ไฟล์:Louis14-Family.jpg|thumb|230px|left|ครอบครัวพระเจ้าหลุยส์ที่ 14]]