ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 7:
ในเวลานั้นในประวัติศาสตร์ยุโรปมีมหาอำนาจสำคัญสองมหาอำนาจ: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสที่นำโดย[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1]] และ [[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ที่นำโดย[[สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5]] ทาง[[ราชอาณาจักรอังกฤษ]]ที่ยังคงเป็นมหาอำนาจรองจึงได้รับการหว่านล้อมจากทั้งฝ่ายฝรั่งเศสและฝ่ายจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ให้เข้าร่วมเป็นพันธมิตร ในปี [[ค.ศ. 1518]] มหาอำนาจในยุโรปก็ลงนามใน[[สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1518)|สนธิสัญญาลอนดอน]]ซึ่งเป็น[[non-aggression pact|สนธิสัญญาเพื่อการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน]] (non-aggression pact) ในการต่อต้าน[[สงครามออตโตมันในยุโรป|การรุกรานของจักรวรรดิออตโตมัน]]เข้ามาทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป นอกจากนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ยังทรงจัดการพบปะกับพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 หนึ่งเดือนก่อนหน้าการพบปะที่ทุ่งภูษาทองในเนเธอร์แลนด์ และอีกครั้งหนึ่งที่คาเลส์หลังจากนั้น ซึ่งเป็นดินแดนผืนสุดท้ายของอังกฤษบน[[แผ่นดินใหญ่ยุโรป]]
 
ทั้งพระเจ้าฟรองซัวส์และพระเจ้าเฮนรีต่างก็ทรงมีพระประสงค์จะสร้างภาพพจน์ว่าทรงเป็นบุคคลสมัย[[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]]อย่างเต็มพระองค์ ปรัชญาของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเกี่ยวกับการเป็นผู้นำผู้มีความแข็งแกร่งคือผู้ที่เลือกสันติ การพบปะจึงเป็นการแสดงความเลิศเลอของราชสำนักของแต่ละฝ่ายอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการเป็นพื้นฐานของการยอมรับนับถือกันและกันของชาติสองชาติที่เคยเป็นศัตรูกันมานาน พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่างก็ทรงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มีพระชนมายุใกล้เคียงกัน และทรงมีชื่อเสียงพอๆ กัน ฉะนั้นจึงไม่น่าจะเป็นที่น่าแปลกใจถ้าต่างก็คงมีความสนพระทัยในกิจการของกันและกัน
 
การจัดการประชุมก็เป็นการจัดที่สร้างความเท่าเทียมกันของทั้งสองฝ่าย สถานที่พบปะกันเป็นชายแดนของฝ่ายอังกฤษไม่ไกลจากคาเลส์ หุบเขาที่พบปะกันก็ได้มีการจัดภูมิประเทศเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เนื้อที่ที่มีระดับที่เท่าเทียมกัน รายละเอียดของการประชุมจัดการโดยคาร์ดินัล[[ทอมัส โวลซีย์]]