ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้คำผิด
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 10:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดปรานการช่างอยู่แต่เดิมแล้ว เรือใบของพระองค์จะทรงต่อด้วยพระองค์เอง และจะทรงทดลองแล่นในสระน้ำภายใน[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] เรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองเป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า "ราชปะแตน" และต่อมาทรงต่อเรือใบประเภท โอ เค ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า "นวฤกษ์" ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เอง ทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงคิดค้น ออกแบบ และสร้างเรือใบขึ้นมาด้วยพระองค์เองอีก พระราชทานชื่อว่า "เรือใบแบบมด" ทรงมีรับสั่งว่า '''''"ที่ชื่อมดนั้นเพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี "''''' ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่โดยได้พระราชทานชื่อว่า เรือใบ "แบบซูเปอร์มด" และเรือใบในตระกูลมดนี้ลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบคือเรือใบ "แบบไมโครมด" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักแล่นเรือใบทั้งหลาย
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงต่อเรือขึ้นมาอีกลำหนึ่งเป็นเรือใบประเภท โอ เค พระราชทานชื่อเรือว่า "VEGA" หรือ [[เวกา (ดาวฤกษ์)|เวคา]] (ชื่อ[[ดาวฤกษ์]]ดวงหนึ่งที่สุกสว่างมาก) ทรงใช้เรือลำนี้เสด็จฯ ข้าม[[อ่าวไทย]]จาก[[พระราชวังไกลกังวล]][[หัวหิน]] ไปขึ้นฝั่งที่หาดเตยงามใน[[นาวิกโยธินแห่งราชอาณาจักรไทย|หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน]]ด้วยลำพังพระองค์เอง เมื่อวันที่ [[19 เมษายน]] [[พ.ศ. 2509]] ซึ่งในการต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหางเสือเรือเวคา เพื่อเป็นรางวัลนิรันดรในการแข่งขันเรือใบระยะทางไกลของประเทศไทย นอกจากนี้ยังทรงก่อตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ขึ้นคือสโมสรเรือใบจิตรลดา ทั้งยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับสโมสรเรือ
ใบต่าง ๆ มาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เช่น สโมสรเรือใบราชวรุณ สโมสรเรือใบ[[กรมอู่ทหารเรือ]] สโมสรเรือใบ[[ฐานทัพเรือสัตหีบ]] สโมสรเรือใบนาวิกโยธิน และสโมสรเรือใบ[[กองเรือยุทธการ]] เป็นต้น
 
ด้วยเหตุที่โปรดการต่อเรือใบประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว [[หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี]] ได้ทรงเล่าถึงพระราชดำรัสขององค์ท่านในหนังสือ อสท. เรื่องทรงเรือใบ ฉบับวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2534]] ไว้ว่า ''' ''"ปีใหม่คนอื่น ๆ เขาไปฉลองกัน เสียเงินมาก แต่เราเสีย ๑๔๗ บาท เท่านั้น เป็นค่าไม้ยมหอม และค่าเบียร์ฉลองปีใหม่ แต่เรายังสนุกกว่าเขาอีก แล้วเป็นประโยชน์ด้วย"'''''
 
จากพระราชดำรัสที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงให้ความสนพระทัยในการกีฬาเรือใบนี้ด้วยพระราชหฤทัยอย่างแท้จริง จึงได้ทรงต่อเรือใบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ซึ่งมีเพียงแต่พระองค์ท่านที่ทรงเป็นพระประมุขของชาติไทยพระองค์เดียวในโลกนี้เท่านั้นที่ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านเรือใบ
 
นอกจากนี้แล้ว ในพิธีเปิดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก 2006|ฟุตบอลโลกครั้งที่ 18]] ที่[[ประเทศเยอรมนี]] ซึ่งตรงกับ[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙|พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] นาย[[ฟรานซ์ เบคเคนบาวร์]] (Franz Beckenbauer) ประธานจัดการแข่งขันได้กล่าวสดุดีพระเกียรติยศในด้านการกีฬาของพระองค์ท่านด้วย
บรรทัด 44:
 
== วงการมวย ==
สำหรับนักกีฬาไทยแล้ว กีฬา[[มวย]]นับเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่นักกีฬาไทยสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับวงการมวยมาโดยตลอด โดยจะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทอดพระเนตรการชกของนักมวยไทยกับนักมวยต่างชาติหลายต่อหลายครั้ง เช่น การชกระหว่าง [[โผน กิ่งเพชร]] กับ [[ปาสคาล เปเรซ]] นักมวยชาว[[อาร์เจนตินา]] เมื่อค่ำ[[วันเสาร์]]ที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2503]] ณ [[สนามมวยเวทีลุมพินี]] ซึ่งผลการชก โผนสามารถเอาชนะคะแนนเปเรซไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลกเป็นคนแรกของไทย หรือการชกระหว่าง [[ชาติชาย เชี่ยวน้อย]] กับ [[แอฟเฟรน ทอร์เรส]] นักมวยชาว[[เม็กซิโก|เม็กซิกัน]] เมื่อค่ำ[[วันศุกร์]]ที่ [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2513]] ณ สนามกีฬากิตติขจร (ปัจจุบันคือ [[อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก]]) ผลการชก ชาติชายเป็นฝ่ายคะแนน ได้ครองแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 2 เป็นต้น ซึ่งหลังจากการชกทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักมวยเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงมีพระราชปฏิสันธานอย่างเป็นกันเองและห่วงใย และจะพระราชทานเข็มขัดแชมป์โลกให้ด้วย
 
และเมื่อครั้งที่ [[แสน ส.เพลินจิต]] เดินทางไปป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก ณ [[เมืองโอซากา]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] กับ [[ฮิโรกิ อิโอกะ]] เมื่อวันที่ [[17 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ผลการชกแสนเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 10 หลังการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งพระราชสาสน์ผ่านทางกงสุลไทย ณ เมืองโอซากา ความว่า พระองค์ทรงทอดพระเนตรการชกของแสนอยู่ผ่านทาง[[โทรทัศน์]] ทรงชมว่าแสนชกได้ดี ยังความปลาบปลื้มแก่แสนและคณะเป็นอย่างยิ่ง