ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thunyawit (คุย | ส่วนร่วม)
Thunyawit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
กล้องในสมัยของนิวตัน ความโค้งของกระจกที่ใช้เป็นความโค้งแบบผิว[[ทรงกลม]] (Spherical Cuvature)ซึ่งจะประสบปัญหา[[ความคลาดทรงกลม]] (Spherical Aberration) ทำให้ภาพของวัตถุที่เป็น[[วงกลม]]เห็นเป็น[[วงรี]] ในปัจจุบันปัญหานี้แก้วได้โดยการขัดกระจกให้โค้งเป็นรูป[[พาราโบลา]] (Parabolic Curvature) ซึ่งทำให้แสงทุกสีสะท้อนไปที่จุดโฟกัสที่จุดเดียวกัน กล้องสะท้อนแสงส่วนใหญ่จึงใช้กระจกที่มีพื้นที่ผิวรูปพาราโบลา
 
กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงสามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่ในราคาที่ถูกว่ากล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงมา ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์ตามหอดูดาวขนาดใหญ่จะนิยมใช้กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงทั้งสิ้น กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบันคือ กล้อง [[LBT]] (Large Binocular Telescope) ตั้งอยู่ที่ Mount Graham International Observatory [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]เป็นกล้องแบบสะท้อนแสงที่มีขนาดกระจกปฐมภูมิขนาด 11.8 เมตร นอกจากนี้ [[กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล]] (Hubble Space Telescope) ก็เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงเช่นกัน การที่แสงไม่ต้องเดินทางผ่านชิ้นส่วนเลนส์ในกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ทำให้มีข้อได้เปรียบกว่ากล้องโทรทรรศน์หักเหแสงอยู่สองประการ
* กล้องจะไม่มีปัญหาความคลาดสีของชิ้นเลนส์
* กล้องจะไม่ประสบปัญหาการดูดกลืนแสงในช่วงคลื่นต่างๆ ทำให้กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงสามารถสังเกตวัถุตในช่วงคลื่น[[อัลตราไวโอเลต]]
==ข้อจำกัดของกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง==
ข้อเสียเปรียบของกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง คือ การมีประจกทุติยภูมิอยู่ภายในตัวกล้องละขวางทางเดินแสงบางส่วน ทำให้ภาพมืดลงเล็กน้อย ในกรณีที่กระจกทุติยภูมิมีขนาดใหญ่ (มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 20 ของหน้ากล้อง) ภาพที่สังเกตได้จะมืดลงอย่างเห็นได้ชัด หรือมีภาพกระจกทุติยภูมิเป็นจุดมัวให้เห็น นอกจากนี้การสะท้อนแสงในกล้องแต่ละครั้งทำให้สูญเสียความเข้มแสงไปพอสมควร เพราะกระจกทั้วไปมักจะสะท้อนแสงได้เพียงร้อยละ 85-90 ของแสงที่ตกกระทบเท่านั้น หรือสูญเสียแสงไปถึงร้อยละ 10-15 ทุกครั้งที่มีการสะท้อน หากมีการสะท้อนหลายครั้งก็จะยิ่งทำให้ภาพมืดลง
 
ปัญหาที่สำคัญของกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง คือ ความคลาดเคลื่อนของการวางตัวของระบบกระจก (Optical Alignment) เนื่องจากกระบบกระจกของกล้องสะท้อนแสงต้องอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเที่ยงตรงมาก หากคลาดเคลื่อนไปเพียงเล็กน้อยก็จะได้่ภาพมัวลงอย่างชัดเจน ในการเคลื่อนย้ายกล้อง กระจกมักจะเคลื่อนไปเล็กน้อยเสมอ จึงต้องปรับเล็กใหม่บ่อยครั้ง การปรับเล็งกระจกให้วางต้วเรียงกันอย่างแม่นยำนี้เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาพอสมควรสำหรับผู้เริ่มต้น แต่เมื่อทำจนชำนาญแล้วก็จะสามารถปรับได้อย่างรวดเร็ว
 
นอกจากกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบนิวตัน (Newtonian) ซึ่งผู้สังเกตมองจากด้านข้างกล้องแล้ว ยังมีกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงอื่นๆ เช่น แคสสิเกรน (Cassegrain) ริตเช-เครเตียง (Ritchey-Chertien) กูเด (Coude) แนสมิธ (Nasmyth)
 
== การออกแบบกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบต่างๆ ==