ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
 
ชนเผ่าบนที่สูงในกัมพูชามีระบบความเชื่อดั้งเดิมเป็นของตนเอง มีผู้นับถือราว 100,000 คน โดยเป็นการนับถือสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ผู้นำศาสนาคือหมอผี โดยในบรรดาชาวเขมรบน ชาวราเดและชาวจรายมีระบบความเชื่อที่พัฒนาดีที่สุด
 
== การดำเนินชีวิต ==
=== การเกิดและการตาย ===
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ ดังนั้น หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ยังนิยมอยู่ในชนบท แต่น้อยลงแล้วในเขตเมือง<ref name=families>[[Federal Research Division]]. Russell R. Ross, ed. "Families". [http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/khtoc.html ''Cambodia: A Country Study.''] Research completed December 1987. ''This article incorporates text from this source, which is in the public domain.''[http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/about.html]</ref>
ในมุมมองของชาวกัมพูชา การตายคือการสิ้นสุดของชีวิตหนึ่งและเป็นการเริ่มต้นของอีกชีวิตหนึ่ง ชาวพุทธในกัมพูชานิยมเผาศพและนำเถ้ามาเก็บในสถูปเจดีย์ในวัด
=== วัยเด็กและวัยรุ่น ===
[[Image:Cambodian girls on bicycle.jpg|เด็กหญิงชาวกัมพูชา|thumb|upright]]
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่ วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร<ref name=families/> ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
=== การแต่งงานและการหย่าร้าง ===
[[Image:Cambodia wedding.jpg|thumb|left|เจ้าบ่าวและเจ้าสาวในงานแต่งงานของชาวกัมพูชา]]
การเลือกคู่ครองเป็นเรื่องที่ซับซ้อนโดยจะต้องดูภูมิหลังทางสังคมประกอบด้วย พ่อแม่มีส่วนในการพิจารณาแต่ก็อาจจะคัดค้านได้ ผู้ชายจะแต่งงานในช่วงอายุ 19 – 25 ปี ส่วนผู้หญิงในช่วงอายุ 16 – 22 ปี การแต่งงานตามประเพณีใช้เวลาถึง 3 วันแต่หลังจาก พ.ศ. 2523 ใช้เวลาเพียงวันครึ่ง มีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในวันแต่งงาน ในชนบทจะมีการสวมด้ายมงคลและเวียนเทียน หลังแต่งงาน คู่สมรสจะไปอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น จะสร้างบ้านใหม่ใกล้ๆกัน<ref name=families/>
 
การหย่าร้างนั้นถูกกฎหมาย เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องปกติ<ref name=families/> ผู้ที่หย่าร้างแล้วสามารถแต่งงานใหม่ได้ แต่หญิงจะรอไว้ 10 เดือน เด็กมักจะอยู่กับมารดา
=== ประเพณี ===
[[Image:sampeah.jpg|thumb|[[ซัมเปี๊ยะห์]] (การทักทายแบบกัมพูชา)]]
ในวัฒนธรรมเขมรถือว่าศรีษะเป็นของสูง การสัมผัสศรีษะหรือหันเท้าไปทางศรีษะจึงไม่สุภาพ การทักทายจะใช้ “ซัมเปี๊ยะห์”ที่คล้ายการไหว้ของไทย การสบตากับผู้สูงอายุถือว่าไม่สุภาพ
 
== ศิลปะและวรรณคดี ==
เส้น 38 ⟶ 55:
 
[[สหพันธ์ฟุตบอลกัมพูชา]]เป็นผู้ควบคุมกีฬาฟุตบอลในกัมพูชา และ[[ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา]] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 และเป็นสมาชิก[[ฟีฟ่า]]ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นสมาชิก[[สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย]]ใน พ.ศ. 2500 [[สนามกีฬาแห่งชาติพนมเปญเ]]ป็นสนามกีฬาแห่งชาติ จุคนได้ 50,000 คน ตั้งอยู่ใน[[พนมเปญ]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}