ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลามสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''กาลามสูตร''' คือ ''[[พระสูตร]]ที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ'' หมู่บ้าน[[เกสปุตติยนิคม]] แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า '''เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร''' ก็มี<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต '''เกสปุตตสูตร''' (กาลามสูตร). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52</ref>) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้[[ปัญญา]]พิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
 
# มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามที่ฟังๆ กันมา
# มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
# มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเพราะข่าวเล่าลือ
# มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
# มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดเดาเอาเอง
# มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
# มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตรึกเอาตามแนวเหตุผลอาการที่ปรากฏ
# มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกเห็นว่าต้องกับทฤษฎีความเห็นของตน
# มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ว่าผู้พูดควรเชื่อได้
# มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดนั้นเป็นครูบาอาจารย์ของตนเรา
 
ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "[[การคิดเชิงวิจารณ์]]" (Critical thinking) ไว้ใน[[กระบวนการเรียนรู้]]ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว<ref>[http://www.cie.org.uk/qualifications/academic/uppersec/alevel/subject/aleveldetails?assdef_id=765_804]</ref>