ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาภารตะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''มหาภารตะ''' ({{lang-sa|महाभारत}}) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า '''ภารตะ''' เป็นหนึ่งในสองของ[[มหากาพย์]]ที่ยิ่งใหญ่ของ[[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] (มหากาพย์อีกเรื่องคือ [[รามายณะ]])<ref>หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์สากล ม.๔-ม.๖ หน้า 79</ref> ประพันธ์เป็น[[โศลก]][[ภาษาสันสกฤต]] มหากาพย์เรื่องนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ "[[อิติหาส]]" (แปลตามศัพท์ว่า "ประวัติศาสตร์") และเป็นส่วนหนึ่งทึ่สำคัญยิ่งของ[[เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู]]
 
ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษี[[ฤๅษีวยาส|ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส]] นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น [[ภควัทคีตา]] [[ศกุนตลา]] [[สาวิตรี]] [[พระนล]] [[กฤษณาสอนน้อง]] [[อนิรุทธ์]] เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็น[[คัมภีร์]]ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของ[[ศาสนาฮินดู]]ด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย
 
มหาภารตะเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่างตระกูล[[เการพ]]และตระกูล[[ปาณฑพ]] ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าว[[ภรต]]แห่งกรุงหัสตินาปุระมาด้วยกัน จนบานปลายไปสู่มหาสงครามที่[[ทุ่งกุรุเกษตร]] ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่างธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้