ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคาร์ดินัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
ใน[[คริสตจักร]]ยุคแรก ๆ เวลาที่คนคนหนึ่งบวชเป็น[[บาทหลวง]] ท่านผู้นั้นจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และหากบาทหลวงท่านใดท่านหนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น ก็เปรียบเสมือนว่าเป็นการแกะเอาบาทหลวงท่านนั้นออกจากประตูบานเดิม (ตำแหน่งเดิม) ไปขันนอตติดกับประตูบานใหม่ (ตำแหน่งใหม่) โดยใน[[ภาษาอังกฤษ]]ใช้การเปลี่ยนตำแหน่งในกรณีนี้ว่า '''"incardinated"''' ซึ่งก็มาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า '''"cardo"''' ซึ่งแปลว่าบานพับประตู
 
การใช้คำดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายในพระ[[ศาสนจักร]]ยุคแรก ๆ จนต่อมาในสมณสมัยของ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1]] ([[:en:Pope Gregory I|Pope Gregory I]]ค.ศ. 590-604) ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะใน[[ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร]]
ในยุคนั้นบาทหลวงบางท่านมีความสามารถเฉพาะตัวสูง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้ช่วยมุขนายก]] (และกลายเป็น "คาร์ดินัล" แทนที่จะเป็นบาทหลวงผู้ดำรงตำแหน่งปกติ) และในบางกรณี บาทหลวงบางท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ประกอบพิธีกรรมอยู่ตาม[[สักการสถาน]]โบราณหลาย ๆ แห่งในกรุงโรม เช่น [[มหาวิหารนักบุญเปโตร]] [[มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง]] [[มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร]] และ[[มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน]] ฯลฯ เป็นต้น และเนื่องจากภารกิจดังกล่าว มีวาระการแต่งตั้งเป็นการชั่วคราว จึงเรียกท่านเหล่านั้นว่า '''"คาร์ดินัล"''' และนี่คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลบาทหลวง"''' ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าบาทหลวง - '''"cardinal presbyters"''')