ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิงอ้ายเงียะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขพินทุ (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
มีความยาวลำตัวและหางรวม 51-63.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-38 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-10 [[กิโลกรัม]]
 
มีการกระจายพันธุ์พบใน[[เนปาล]] [[ภูฏาน]] [[สิกขิม]]และ[[รัฐอัสสัม]]ของ[[อินเดีย]] ภาคใต้ของ[[จีน]] ภาคเหนือของ[[พม่า]] ภาคเหนือของ[[เวียดนาม]] ภาคตะวันตกและ[[ภาคอีสาน]]ของ[[ไทย]] โดยจะพบมากที่[[จังหวัดลำปาง]]แบ่งเป็นชนิดย่อย 2 ชนิดได้แก่ ลิงวอกภูเขาในประเทศไทย จัดอยู่ในชนิดย่อยตะวันออก (M. a. assamensis) และลิงวอกภูเขาตะวันตก (M. a. pelops) ซึ่งแบ่งตามสองฝั่งของ[[แม่น้ำพรหมบุตร]]

ลิงวอกภูเขาในประเทศไทย ปัจจุบันนี้พบได้เพียง 9 แห่งเท่านั้น ได้แก่ วัดถ้ำปลา และวัดถ้ำผาแลนิภาราม จ.เชียงราย, บ้านป่าไม้ จ.เชียงใหม่, [[เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล]]<ref>[[ศูนย์]][[วิจัย]][[ไพรเมท]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]</ref> จ.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน จ.กำแพงเพชร, เขตรักษาพันธ์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก, อุทยานแห่งชาติภูเขียว จ.ชัยภูมิ, เขื่อนเขาแหลม และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี ซึ่งถือว่าน้อยมาก
 
มักอาศัยใน[[ป่า]]บน[[ภูเขา]]สูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจาก[[ระดับน้ำทะเล]]ประมาณ 500-3,500 [[เมตร]] ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บน[[ต้นไม้]]ซึ่งมีเรือนยอดไม้สูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 เมตร จากการศึกษาพบว่ามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 40- 60 ตัว ในระหว่างการหากินจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่ระวังภัยให้ฝูง โดยจะนั่งสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ซึ่งสูงที่สุด และหากมีอันตรายเข้ามาใกล้จะส่งเสียงร้องเตือนให้หลบหนี โดยจะร้องเสียงดัง "ปิ้ว" ลิงวอกภูเขาจัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย สามารถกระดิกหางได้เหมือน[[สุนัข]] เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในระหว่างเดือน[[เมษายน]]-[[มิถุนายน]] กินอาหารประกอบไปด้วย [[ผลไม้]] ยอดไม้อ่อน [[แมลง]] และ[[สัตว์เลื้อยคลาน]]จำพวก[[กิ้งก่า]] เป็นต้น