ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 3:
| ชื่อ = คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์<br>มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Political Science and Public Administration<br>Chiang Mai University
| ภาพ = [[ไฟล์:Political_Science_and_Public_Administration_CMUPolitical Science and Public Administration CMU.png|150px]]
| วันที่ก่อตั้ง =
| คณบดี = รศ.ไพรัช ตระการศิรินนท์
บรรทัด 11:
| เว็บ = [http://www.pol.cmu.ac.th www.pol.cmu.ac.th]
}}
'''[[คณะรัฐศาสตร์|คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์]]''' [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] เป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีฐานะทัดเทียมกับสาขาวิชาอื่นในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่จัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
== ประวัติ ==
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เดิมเป็นภาควิชา[[รัฐศาสตร์]] สังกัด[[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ [[พ.ศ. 2508]] ในระยะเริ่มแรก เปิดสอนในสาขาวิชาการเมืองการปกครองและสาขาวิชา[[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ]] และเปิดสอนสาขาวิชา[[รัฐประศาสนศาสตร์]] ใน [[พ.ศ. 2529]] ต่อมา สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ยังได้เปิดสอนในระดับปริญญาโทในปี [[พ.ศ. 2531]]
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2537]] ทางมหาวิทยาลัยได้มีความคิดที่จะจัดตั้ง "'''คณะรัฐศาสตร์'''" แต่เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อปี [[พ.ศ. 2540]] ดังนั้น การจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์จึงต้องพักเอาไว้ก่อน ต่อมาจึงมีการเสนอ "'''โครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์'''" ขึ้นอีกครั้ง โดยคณะใหม่นี้จะประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการเมืองการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และเนื่องจากคณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มีการจัดการเรียนการสอนทั้งสาขารัฐศาสตร์และสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งถ้าใช้ชื่อว่า "คณะรัฐศาสตร์" ดังเช่นคณะที่มีการเรียนสอนทั้ง 2 สาขาวิชาดังกล่าวที่ก่อตั้งระยะแรก ๆ ของประเทศ ก็จะไม่ครอบคลุม และคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพียงสาขาเดียว ก็กำหนดชื่อคณะว่า "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดชื่อคณะใหม่ว่า '''"คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์'''" เพื่อแสดงถึงภารกิจด้านการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2552 ได้เปิดสาขาวิชาการระหว่างประเทศและเปิดสอนนักศึกษาภาคพิเศษในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการระหว่างประเทศ ปัจจุบันจึงมี 3 สำนักวิชา คือ สำนักวิชาการเมืองการปกครอง สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสำนักวิชาการระหว่างประเทศ