ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 17:
| genus_authority = Gray, [[ค.ศ. 1843|1843]]
| subdivision =*''S. t. borealis''
* ''S. t. tatarica''
| subdivision_ranks = [[ชนิดย่อย]]
| subfamilia = [[Antilopinae]]
บรรทัด 31:
จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ใน[[genus|สกุล]] ''Saiga''<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=625120 จาก itis.gov {{en}}]</ref>
 
กุย มีความสูงประมาณ 0.6-0.8 [[เมตร]] โดยวัดจากไหล่ มีความยาวลำตัว 108-146 [[เซนติเมตร]] หางยาว 6-13 เซนติเมตร [[น้ำหนัก]] 36-63 [[กิโลกรัม]] [[ตัวผู้]]มีขนาดใหญ่กว่า[[ตัวเมีย]]และเป็นเพศที่มีเขาซึ่งยาว 20-25 เซนติเมตร กุยมีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ [[จมูก]]ที่มีขนาดใหญ่และยืดหยุ่นได้ มีรูปร่างแปลกเหมือนจมูกของ[[สมเสร็จ]]ซึ่งมีหน้าที่ในการอุ่นอากาศหายใจใน[[ฤดูหนาว]]และกรองฝุ่นออกใน[[ฤดูร้อน]] ใน[[ฤดูร้อน]][[ขนสัตว์|ขน]]ของกุยจะบางและมี[[สีเหลือง]]เหมือนสี[[อบเชย]] มีความยาว 18-30 [[มิลลิเมตร]] ส่วนใน[[ฤดูหนาว]]จะเปลี่ยนสีเป็น[[สีขาว]] และมีความยาว 40-70 มิลลิเมตร
 
พบกระจายพันธุ์ใน[[ทวีปเอเชีย]][[เอเชียกลาง|ตอนกลาง]] ได้แก่ [[ไซบีเรีย]]ตอนใต้, [[มองโกเลีย]]ตะวันตก และ[[จีน]]ตะวันตกเฉียงเหนือ
 
กุยเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวตลอดเวลา กิน[[พืช]]ได้หลายชนิดรวมทั้งพืชที่เป็น[[พิษ]]ด้วย สามารถว่ายน้ำได้เก่งจนขนาดว่ายข้าม[[แม่น้ำ]]ได้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถวิ่งได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันหนึ่งสามารถเดินทางได้ไกล 80-100 [[กิโลเมตร]]ต่อวัน จะอพยพทุก ๆ ปีในช่วง[[ฤดูใบไม้ผลิ]]ขึ้นเหนือเพื่อไปพื้นที่เล็มหญ้าในช่วง[[ฤดูร้อน]]
 
มีอายุขัยประมาณ 6-10 ปี ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือนและตัวผู้เมื่ออายุ 20 เดือน ฤดูผสมพันธุ์ของกุยนั้นเริ่มในเดือน[[พฤศจิกายน]] ซึ่งพวกตัวผู้นั้นจะต่อสู้กันจนตาย เพื่อครอบครองเหล่าตัวเมียที่อยู่ในกลุ่มประมาณ 5-50 ตัว หลังจากหมดฤดูผสมพันธุ์ในปลายเดือน[[เมษายน]] กุยตัวผู้ที่เหลือรอดนั้นจะมาร่วมกลุ่มกัน 10-2,000 ตัวเพื่อการอพยพในช่วงฤดูใบไม้ผลิขึ้นเหนือ ส่วนตัวเมียนั้นจะอยู่ที่เดิมและพากันไปหาที่ให้กำเนิดลูก โดยมีระยะเวลา[[ตั้งท้อง]]นาน 140วัน และในฤดูใบไม้ผลิประมาณปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน จะคลอดลูกครั้งละ 1-2 ตัว ลูกที่เกิดใหม่เริ่มกิน[[ใบไม้]]ได้เมื่ออายุ 4 วัน และจะหย่านมเมื่ออายุได้ 3-4 เดือน
 
กุยในอดีตถูกล่าเพื่อเอา[[เขาสัตว์|เขา]] ซึ่งมี[[ความเชื่อ]]ว่าปรุงเป็น[[แพทย์แผนจีน|ยาจีน]]ได้ และมีราคาซื้อขายที่แพงมากเหมือนนอ[[แรด]]<ref>[http://www.ultimateungulate.com/artiodactyla/saiga_tatarica.html ''Saiga tatarica'' {{en}}]</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กุย"