ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 25:
 
== ประวัติ ==
เขียว คาราบาว เกิดที่ [[โรงพยาบาลศิริราช]] เมื่อวันที่ [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2495]] เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง5คน และเริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ และจบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนสาธิตสวนสุนันทาวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เขียว ชื่นชอบการเล่น[[ฟุตบอล]]อย่างมากถึงขนาดเคยเป็นตัวแทนของโรงเรียน และเริ่มสนใจดนตรีสากลโดยเริ่มหัดเล่น[[กีตาร์]]และ[[กีตาร์เบส|เบส]] โดยหัดเล่นเพลงสากลอย่างเช่น ''Hang On Sloopy'' ของวง The McCoys
 
หลังจบชั้นมัธยมปลาย เขียวได้เล่นดนตรีอาชีพตามบาร์ของทหารจีไอ ที่มาตั้งฐานทัพ ย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พอเล่นได้ซักระยะจึงยกระดับวงของตัวเองขึ้นมาโดยมีนักดนตรีต่างชาติฝีมือดีมาเล่นรวมอยู่ในวงด้วย ทำให้ได้ย้ายมาเล่นประจำที่ตึกนายเลิศ โดยเขียวทำหน้าที่เล่น[[กีตาร์เบส|เบส]] ต่อมาเมื่อทางวงมีรายได้จากการเล่นดนตรีมากขึ้น ก็เกิดปัญหาการแบ่งค่าตัวระหว่างสมาชิกภายในวงที่เป็นคนต่างชาติและสมาชิกที่เป็นคนไทย เขียวจึงตัดสินใจยุบวงตั้งแต่ตอนนั้น และเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว (Mapua Institute of Technology) เมือง [[มะนิลา]] [[ประเทศฟิลิปปินส์]]
 
=== คาราบาว ===
ที่ฟิลิปปินส์ เขียว ได้พบกับเพื่อนนักเรียนไทยที่นั่น คือ [[ยืนยง โอภากุล]] (แอ๊ด)และ สานิตย์ ลิ่มศิลา (ไข่) ทั้ง 3 ได้ตั้งวงดนตรีที่ชื่อ "[[คาราบาว]]" ขึ้นมาเพื่อเล่นประกวดในงานดนตรีของมหาวิทยาลัย โดยขึ้นเล่นเพลง ''Carry On'' ของวง ''Crossby,Still,Nash & Young'' และเพลง ''Mahal Kita'' ซึ่งเป็นเพลงของฟิลิปปินส์ วงคาราบาวได้เข้าถึงรอบ10วงสุดท้าย ก่อนจะตกรอบต่อมา เมื่อกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2520 เขียวได้เป็นวิศวกรประเมินราคา แต่ยังคงเล่นดนตรีสากลในนามคาราบาว ร่วมกับแอ๊ด และ ไข่ โดยใช้เวลาหลังจากเลิกงานประจำ ต่อมาเมื่อ ไข่ สานิตย์ ลิ่มศิลา ได้แยกตัวออกไป คาราบาวจึงเหลือเพียง แอ๊ดและเขียว ทั้งคู่ได้ตระเวนเล่นดนตรีตามห้องอาหารต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันก็ทำงานประจำ โดยทางวงจะเล่นเพลงสากลของ [[จอห์น เดนเวอร์]] ,[[อีเกิลส์ (วงดนตรี)|อิเกิ้ลส์]], ''Crosby,Still,Nash & Young''
 
จนในปลายปี [[พ.ศ. 2524]] อัลบั้มชุดแรกของคาราบาวก็เกิดขึ้น ในชื่อว่า "[[ขี้เมา]]" โดยเขียว รับหน้าที่เล่น[[กีตาร์เบส]] แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก ต่อมาอัลบั้มชุด"[[แป๊ะขายขวด]]" ซึ่งวางจำหน่ายปีพ.ศ. 2525 เขียวได้เปลี่ยนหน้าที่จากเล่นเบสมาเล่นกีตาร์ และได้ร้องนำเป็นครั้งแรก โดยเป็นการร้องคู่กับ แอ๊ด [[ยืนยง โอภากุล]] ในเพลง"แป๊ะขายขวด" และยังร้องเพลง ''หนทางใด'' และเพลง''พรานทะเล'' อัลบั้มนี้ทำให้คาราบาวเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในอัลบั้มชุด[[วณิพก (อัลบั้ม)|วณิพก]]ซึ่งวางจำหน่ายในปีถัดมา เขียว สมาชิกในตำแหน่งมือกีตาร์ ได้ร้องนำในเพลง "หัวลำโพง" ก่อนจะเริ่มหันมาทำงานและมีบทบาทเบื้องหลังกับวงคาราบาวมากขึ้น
 
จนกระทั่งปลายปี [[พ.ศ. 2527]] คาราบาวจึงประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดจากอัลบั้มชุดที่ 5 "[[เมด อิน ไทยแลนด์]]" ซึ่งทำยอดขายในปีที่วางจำหน่ายได้ถึงกว่า 5,000,000 ก็อปปี้ และเขียว คาราบาว ได้ขึ้นเล่น[[คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย]]ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวงคาราบาว ที่เวโลโดรม หัวหมาก ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมียอดผู้ชมมากกว่า 6,0000 คน และผลจากความสำเร็จของอัลบั้มชุดนี้ทำให้เขียว ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง[[เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ]] ในปี พ.ศ. 2528
บรรทัด 41:
 
=== แยกวง ===
ในปี [[พ.ศ. 2533]] วง[[คาราบาว]]ประสบความสำเร็จกับอัลบั้ม"[[ห้ามจอดควาย]]" โดยมีเพลงที่โด่งดังอย่างมากคือเพลง''สัญญาหน้าฝน'' ซึ่งเขียว เป็นผู้ขับร้อง ผลจากความสำเร็จของเพลงนี้ทำให้เขียว โด่งดังอย่างมาก เขียว คาราบาวจึงได้ตัดสินใจแยกออกมาจากวงคาราบาว โดยก่อนหน้านี้สมาชิกในวงอีก 3 คน คือ[[เทียรี่ เมฆวัฒนา]],[[อำนาจ ลูกจันทร์]],[[ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี]]ได้แยกมาออกอัลบั้มเดี่ยวกันแล้ว เขียวจึงได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตัวเองออกมาบ้างในชื่อชุด "ก่อกวน" โดยมี[[แอ๊ด คาราบาว]] แต่งเนื้อร้องเพลง ''ไม่เคย'' ซึ่งเพลงนี้กลายเป็นเพลงฮิตที่แฟนเพลงในสมัยนั้นรู้จักกันดี และเป็นอีกหนึ่งเพลงประจำตัวของเขียว คาราบาว นอกจากเพลง ''สัญญาหน้าฝน''
 
ต่อมาในปี[[พ.ศ. 2536]] เขียว คาราบาว ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ของตนในชื่อชุด "หัวใจและเวลา" โดยเป็นการทำงานร่วมกับวง[[ตาวัน]] และแอ๊ดได้แต่งเพลงให้อีกหนึ่งเพลงคือเพลง ''รักเหรอ'' โดยเพลงนี้ได้มีการทำเป็นมิวสิควิดีโอ นอกจากนี้[[พงษ์สิทธิ์ คำภีร์]] ยังได้ช่วยแต่งเพลง ''ตายรัง'' ให้อีกหนึ่งเพลง ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี
บรรทัด 49:
เขียว คาราบาวได้ออกอัลบั้มของตัวเองตามมาอีกหลายชุด โดยส่วนมากจะเป็นดนตรีในแนว[[อคูสติก]]และคันทรีบลูส์ แต่ก็ยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าอัลบั้มเดี่ยว 2 ชุดแรก
 
หลังจากนั้นเขียว คาราบาวก็ยังคงกลับมาร่วมงานกับคาราบาวอีกเรื่อย ๆ เช่น การกลับมาร่วมงานในอัลบั้ม "[[หากหัวใจยังรักควาย|15 ปี คาราบาว หากหัวใจยังรักควาย]]" ในปี [[พ.ศ. 2539]] อัลบั้ม "[[อเมริกันอันธพาล]]" ในปี [[พ.ศ. 2541]] ที่สมาชิกในวง 5 คน กลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง และอัลบั้ม "ลูกลุงขี้เมา" ในปี [[พ.ศ. 2550]] ในโอกาสที่คาราบาวครบ 25 ปี รวมทั้งยังเป็นแขกรับเชิญในงานคอนเสิร์ตต่าง ๆ ของวง และทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์หรือผู้ควบคุมเสียงในการผลิตอัลบั้มของวงอีกต่างหากด้วย
 
=== ชีวิตส่วนตัว ===
เขียว คาราบาวแต่งงานกับพรวรินทร์ พรหมสาขา ณ สกลนคร ทั้งคู่มีทั้งลูกชายและลูกสาว โดยลูกสาวของเขียวคือ[[กิรตรา พรหมสาขา ณ สกลนคร]] (กิ) อดีตสมาชิกวงนีซ สังกัด[[โดโจ ซิตี้]] ที่เคยมีผลงานในปี พ.ศ. 2541-43 และ ปัจจุบัน เป็นนักร้องสังกัด [[สมอลล์รูม]] นอกจากนี้เขียว คาราบาวยังมีกิจการของตัวเอง เป็นร้านอาหารชื่อ "สเต็กลาว เขียว คาราบาว" โดยเขียวเป็นผู้ดูแลกิจการของร้านเอง และบางครั้งจะขึ้นเล่นดนตรีให้ลูกค้าฟังอีกด้วย [[ไฟล์:Bao106.jpg|thumb|250px|left|คาราบาวในยุคแรกเริ่ม (จากซ้าย) เขียว, แอ๊ด, เล็ก]]
 
== ผลงานเพลง ==
บรรทัด 78:
 
=== ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น ===
* เซอโซไซตี้ ([[พ.ศ. 2537]]) ร่วมกับปราโมทย์ ม่วงไหมทอง
 
=== อัลบั้มรวมเพลง ===