ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสลายตัวกัมมันตรังสี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 7:
 
== คำอธิบาย ==
[[ไฟล์:Radioactive.svg|thumb|[[:en:Hazard_symbolHazard symbol#Radioactive sign|สัญลักษณ์ใบพัดสามใบ (trefoil symbol)]] ที่แสดงถึงสารกัมมันตรังสี]]
[[นิวตรอน]]และ[[โปรตอน]]ที่ประกอบขึ้นเป็นนิวเคลียส รวมไปถึงอนุภาคอื่นๆที่เข้าใกล้มัน ถูกควบคุมด้วยหลายๆปฏิกิริยา [[อันตรกิริยาอย่างเข้ม|แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม]] ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ใน[[:en:Macroscopic scale|ระดับที่มองเห็นด้วยตาเปล่า(macroscopic scale)]] เป็นแรงที่แข็งแกร่งที่สุดสำหรับระยะห่างที่เล็กกว่าอะตอม (subatomic distance) [[:en:Coulomb's law|แรงไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic force)]]ก็เป็นอีกแรงที่สำคัญ และ ใน[[:en:Beta decay|การสลายตัวแบบเบต้า (beta decay)]] [[อันตรกิริยาอย่างอ่อน|แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน]]ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
 
ความเกี่ยวพันกันของแรงเหล่านี้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ที่พลังงานถูกปลดปล่อยออกมาในขณะจัดเรียงตัวของอนุภาค ในการเรียงตัวบางแบบของนิวเคลียส มีคุณสมบัติในการเรียงตัวแบบช้าๆ โดยอนุภาคจะเรียงตัวในรูปแบบที่มีพลังงานต่ำกว่า และปลดปล่อยพลังงานออกมา บางคนอาจเปรียบเทียบลักษณะที่เกิดขึ้นกับ หิมะที่อยู่บนเขา ซึ่งมีแรงเสียดทานระหว่างเกล็ดน้ำแข็งที่รองรับน้ำหนักของหิมะ ซึ่งทำให้ระบบมีความไม่เสถียร เนื่องจากยังสามารถเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีพลังงานต่ำกว่าได้ สิ่งกระตุ้นจะช่วยให้เกิดสภาวะที่มีค่า[[เอนโทรปี]]ที่สูงกว่า ระบบจะเปลี่ยนแปลงเพื่อไปยังสถานะพื้น, ก่อให้เกิดความร้อน และ พลังงานรวมจะถูกกระจายให้กับระดับพลังงานที่สูงกว่า ซึ่งก่อให้เกิดหิมะถล่มในที่สุด พลังงานรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนี้ แต่เนื่องจาก[[อุณหพลศาสตร์#ข้อที่สอง|กฎของเอนโทรปี]] หิมะถล่มจึงเกิดขึ้นได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น คือ[[:en:Stationary state|สถานะพื้น (ground state)]] ซึ่งเป็นสถานะที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ในการที่พลังงานที่มีจะถูกกระจายไป
 
ในการถล่มนี้ (การสลายตัว) ต้องการ[[พลังงานกระตุ้น]] เฉพาะในกรณีของหิมะถล่มนั้น พลังงานนี้มาจากการรบกวนจากภายนอกระบบ ซึ่งการรบกวนนี้อาจมีระดับที่เล็กมาก สำหรับในกรณีของนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ในภาวะกระตุ้น สิ่งรบกวนขนาดเล็กนี้เกิดจาก[[:en:Vacuum_fluctuationVacuum fluctuation|การสลับที่ของช่องว่าง(vacuum fluctuations)]]จำนวนหนึ่ง นิวเคลียส (หรือระบบที่ถูกกระตุ้นใดใดก็ตามใน [[กลศาสตร์ควอนตัม]]) ไม่เสถียร และจะทำตัวเองให้เสถียร เปลี่ยนไปเป็นระบบที่ลดระดับการตุ้นลง ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทำเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอะตอม และ เกิดการปลดปล่อยไม่ว่าจะเป็น โปรตอน หรือ อนุภาคความเร็วสูงที่มีมวล (เช่น อิเล็กตรอน, [[อนุภาคแอลฟา]], หรือ อนุภาคอื่นๆ)
 
== การค้นพบ ==
บรรทัด 29:
ผลเชิงพันธุกรรมจากการแผ่รังสี รวมถึงโอกาสในการก่อมะเร็ง ค้นพบหลังจากนั้นมาก ในปี พ.ศ. 2470 [[เฮอร์แมนน์ โจเซฟ มุลเลอร์]] ({{lang-en|[[:en:Hermann Joseph Muller|Hermann Joseph Muller]]}}) เผยแพร่ผลการวิจัยที่แสดงถึงผลเชิงพันธุกรรม และในปีพ.ศ. 2489 เขาได้รับ[[รางวัลโนเบล]]จากการค้นพบนี้<ref name="nobel-1946">{{cite web | url = http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1946/index.html | title = The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1946 | accessdate = 2007-07-28 | publisher = The Nobel Foundation}}</ref>
 
ก่อนหน้าที่จะทราบผลทางชีววิทยาของการแผ่รังสี แพทย์ และ บริษัทหลายแห่งได้เริ่มทำตลาดสารกัมมันตรังสีในฐานะของ[[ยาเถื่อน]] ([[:en:Patent medicine|patent medicine]] - หมายถึง ''ยาที่ไม่ระบุถึงส่วนผสมไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีการตรวจสอบสรรพคุณทางยา เน้นการทำตลาดเป็นหลัก และมักมีการโอ้อวดเกินจริง'') และ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารกัมมันตรังสี ([[:en:Radioactive quackery|radioactive quackery]] - ''ใช้คำที่คล้ายคลึงกับยาเถื่อน หรือ ยาปลอม'') ตัวอย่างเช่น [[ยาสวนทวาร]] ([[:en:Enema|Enema]]) ที่มีส่วนประกอบของเรเดียม, น้ำที่มีส่วนผสมของเรเดียมที่ใช้ดื่มคล้าย [[โทนิค]] ([[:en:Tonic water|tonic]]) มารี กูรี ต่อต้านการใช้ในลักษณะนี้ และเตือนเกี่ยวกับผลของรังสีที่มีต่อร่างกายมนุษย์ที่ยังไม่ทราบ (ในที่สุดกูรีเสียชีวิต จากอาการของ[[มะเร็งเม็ดเลือดขาว]] ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ทำงานกับเรเดียม อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบกระดูกของเธอในภายหลัง พบว่าเธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ระมัดระวังตัว และพบปริมาณเรเดียมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีการค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตของเธอ ซึ่งเกิดจากการได้รับรังสีเอ็กซ์จากหลอดรังสีที่ไม่ได้มีการป้องกัน ขณะที่เป็นอาสาสมัครในหน่วยแพทย์ ในสงครามโลกครั้งที่1) ในปี พ.ศ. 2473 พบกรณีที่เกิดกระดูกตาย และ การเสียชีวิตจำนวนมากในผู้ใช้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรเดียมแทบจะหายไปจากตลาด