ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:2007 Myanmar protests.jpg|thumb|250px|การชุมนุมกันบริเวณ[[เจดีย์ชเวดากอง]] [[กรุงย่างกุ้ง]]]]
'''การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า''' คือการประท้วงที่นำโดยคณะ[[พระภิกษุสงฆ์]] [[แม่ชี]] [[นักศึกษา]]และประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2550]] จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคา[[น้ำมันเชื้อเพลิง]]เกือบเท่าตัว และขึ้นราคา[[ก๊าซหุงต้ม]]ถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า<ref> http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100787 พม่าอ้างขึ้นราคาน้ำมันเพื่อแบ่งเบาภาระประเทศ </ref> การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ [[5 กันยายน]] มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมือง[[พะโคกกุ]] ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า '''Saffron Revolution''' หรือ '''"การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"'''<ref>{{cite web|url=http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article2521951.ece|title=Military junta threatens monks in Burma}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.novinite.com/view_news.php?id=85644|title=100,000 Protestors Flood Streets of Rangoon in "Saffron Revolution"}}</ref>
 
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจาก[[ชาวพม่า]] ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับ[[บิณฑบาต]]จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ [[17 กันยายน]] แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ [[18 กันยายน]] เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาล[[เผด็จการ]]ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี [[พ.ศ. 2531]] ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง <ref> http://www.voanews.com/thai/2007-09-20-voa2.cfm พระสงฆ์หลายร้อยรูปในพม่า เดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเป็นครั้งที่ 2</ref>
 
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนาง[[ออง ซาน ซูจี]] ผู้นำ[[ประชาธิปไตย]]ในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 <ref> http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9658&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออง ซาน ซูจี</ref>
บรรทัด 14:
* {{country|flagcountry|Singapore}} - โฆษกรัฐบาล[[สิงคโปร์]] ได้ออกแถลงการณ์ผ่าน[[อีเมล]]ว่า วิตกต่อข่าวการใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในพม่าเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น พร้อมกับขอให้ทุกฝ่ายหาทางสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ พร้อมประกาศแนะให้[[ชาวสิงคโปร์]]ที่อาศัยอยู่ในพม่าไปลงชื่อใน[[เว็บไซต์]]ของกระทรวงต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุจำเป็นขึ้นมา <ref> http://www.komchadluek.net/2007/09/26/a001_156527.php?news_id=156527 ต่างชาติเตือนรัฐบาลพม่า </ref>
* {{country|flagcountry|Japan}} - รัฐมนตรีต่างประเทศ[[ญี่ปุ่น]] นายมะซะฮิโกะ คุมุระกล่าวว่า ญี่ปุ่นในฐานะเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่พม่ากำลังกดดันให้ทางรัฐบาลพม่าแสดงความอดกลั้นในการตอบโต้ผู้ประท้วง และทางญี่ปุ่นจะยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดต่อไป
* {{country|flagcountry|Malaysia}} - รัฐมนตรีต่างประเทศ[[มาเลเซีย]] นาย[[ซายเอ็ด ฮามิด อัลบาร์]] ซึ่งอยู่ระหว่างการร่วม[[การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ|ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ]]ที่นคร[[นิวยอร์ก]] [[สหรัฐอเมริกา]] กล่าวว่ามาเลเซียเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่านั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หนทางที่ดีสุดในการแก้ไขปัญหาคือให้พยายามสร้างความ[[สมานฉันท์]]พร้อมให้ดำเนินการจัดร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]ต่อไป พร้อมหวังว่าสถานการณ์คงไม่เลวร้ายลงไปจนต้องให้สหประชาชาติมาแทรกแซง <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=281669 มาเลเซียไม่หนุนคว่ำบาตร ศก.พม่า</ref>
* {{country|flagcountry|United Kingdom}} - [[นายกรัฐมนตรีอังกฤษ]] นาย[[กอร์ดอน บราวน์]] เรียกร้องให้[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]]จัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าในทันที พร้อมเสนอให้[[สหประชาชาติ]]ส่งผู้แทนพิเศษไปยังพม่า <ref> http://www.titv.in.th/World/ "บราวน์" นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจัดประชุมด่วนเรื่องพม่า </ref>
* {{country|flagcountry|United States}} - [[ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา]] นาย[[จอร์จ ดับเบิลยู บุช]] กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติว่า สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินนอกจากนี้ พร้อมประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการห้ามออก[[วีซ่า]]กับคณะผู้นำรัฐบาลพม่าที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด[[สิทธิมนุษยชน]] <ref> http://www.titv.in.th/World/ "บุช" ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจพม่า </ref>
* {{country|flagcountry|China}} - [[นายกรัฐมนตรีจีน]] [[เวินเจียเป่า|นายเวิน เจีย เป่า]] ระบุผ่านแถลงการณ์[[กระทรวงต่างประเทศจีน]]ว่าหลังได้หารือทางโทรศัพท์กับนาย[[กอร์ดอน บราวน์]]ของ[[อังกฤษ]] ทางจีนหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพม่าจะใช้ความอดทนอดกลั้น และใช้สันติวิธีทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด รวมถึงสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์และประชาธิปไตยในชาติ <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=282136&lang=T นายกฯจีนเรียกร้องรบ.พม่าแก้ปัญหาในปท.อย่างสันติ </ref> ถึงอย่างไรก็ตาม ทางจีนก็มิได้พูดถึงเรื่องพม่าเลยในการประชุมสหประชาชาติ <ref>http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=282138&lang=T จีนไม่พูดถึงเรื่องพม่าเลยบนเวทียูเอ็น </ref>
* [[ทิเบต]] - องค์[[ทะไลลามะ]] ได้กล่าวว่าสนับสนุนกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกร้องเพื่อการอิสรภาพและประชาธิบไตย พร้อมให้พรกับกลุ่มผู้ประชุม และนางอองซานซูจี <ref>http://www.tibet.com/NewsRoom/hhburma1.htm His Holiness supports call for democracy in Burma </ref>
* {{country|flagcountry|European Union}} - โฆษกของนายฮาเวียร์ โซลานา ผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของ[[สหภาพยุโรป]] (อียู) เปิดเผยว่า นายเฮลกา ชมิดต์ รองผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของอียู ได้เรียกนาย ฮาน ตู่ [[อุปทูต]]พม่าประจำกรุง[[บรัสเซลส์]]เข้า โดยนายชมิดท์ได้เตือนว่าอียูกำลังเตรียมขยายการคว่ำบาตรกับรัฐบาลทหารพม่า พร้อมกับเตือนว่าตอนนี้อียูกำลังประสานงานกับทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของพม่าในเรื่องนี้อยู่ นอกจากนั้นนักการทูตยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็กำลังหารือกับตัวแทนประเทศ[[อาเซียน]]ทั้งหมด เพื่อกระตุ้นให้ประเทศเหล่านี้ออกมากดดันพม่าด้วย ขณะเดียวกันอียูก็กำลังวางแผนให้การช่วยเหลือชาวพม่าโดยตรงอีกด้วย <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=282201 อียูเรียกอุปทูตพม่าเข้าพบ ขู่ซ้ำเรื่องขยายการคว่ำบาตร </ref>
 
== อ้างอิง ==