ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 42:
=== การยึดจันทบุรี ===
 
เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้า[[บางกระจะ]] มุ่งยึด[[จันทบุรี]] เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ หากเจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า ''"เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"''<ref>ศรรวริศา เมฆไพบูลย์,ศิริโชค เลิศยะใส. ''NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 77 ธันวาคม 2550''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),หน้า 51.[[ISSN 1513-9840]]</ref>
 
ในวันเสาร์ที่ [[3 มกราคม|3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2310|พ.ศ. 2310]] ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพัง[[คีรีบัญชร]] ให้ยิงปืนสัญญาณ พร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน<ref>จังหวัดตาก, '''ตากสินมหาราชานุสรณ์''' งานฉลองวันขึ้นปีใหม่ ปีที่ 22 พ.ศ. 2515 (พระนคร : มิตรสยาม 2514) หน้า 113.</ref> ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมือง[[บันทายมาศ]]<ref>กรมตำรากระทรวงธรรมการ, '''พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144'''. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 20-26.</ref> เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ [[15 มิถุนายน|15 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2310|พ.ศ. 2310]] เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน
บรรทัด 58:
[[ไฟล์:ธนบัตร_20_บาท_แบบที่_12.jpg‎|thumb|300px|ภาพประธานด้านหลัง[[ธนบัตร 20 บาท]] แบบที่ 12 เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย [[อำเภอเมืองจันทบุรี]] [[จังหวัดจันทบุรี]] ]]
 
หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช 1128 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงพระนามว่า ''พระศรีสรรเพชญ์'' หรือ ''สมเด็จพระบรมราชาที่ 4'' แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า ''สมเด็จพระเจ้าตากสิน'' หรือ ''สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี''
 
เดิมพระองค์ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม<ref>พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, '''สามกรุง''' (พระนคร:คลังวิทยา 2511) หน้า 98.</ref> แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาศของเมือง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้ และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า '''กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร'''