ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเร็วแนวเล็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: hi:रेडियल वेग
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 3:
การวัดความเร็วแนวเล็งของ[[ดาวฤกษ์]]หรือวัตถุส่องสว่างอื่นที่อยู่ห่างไกลสามารถทำได้โดยการตรวจสอบ[[สเปกตรัม]]ความละเอียดสูงและเปรียบเทียบคลื่นความถี่ที่ได้กับ[[แถบสเปกตรัม]]ที่เราทราบค่าแล้วจากห้องทดลอง ตามปกติ ความเร็วแนวเล็งที่เป็นบวกหมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนห่างออกไป ถ้าความเร็วแนวเล็งเป็นลบ หมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา
 
ใน[[ระบบดาวคู่]]หลายแห่ง การเคลื่อนที่ของ[[วงโคจร]]จะทำให้ความเร็วแนวเล็งแปรค่าไปมาได้หลาย[[กิโลเมตร]]ต่อ[[วินาที]] เมื่อค่าสเปกตรัมของดาวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปมาจากผลของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ จึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า spectroscopic binaries การศึกษาความเร็วแนวเล็งใช้เพื่อประมาณค่า[[มวล]]ของดาวฤกษ์และ[[องค์ประกอบของวงโคจร]]บางตัว เช่น[[ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร]]และค่า[[กึ่งแกนเอก]] กระบวนการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจจับ[[ดาวเคราะห์]]รอบดาวฤกษ์ได้ ด้วยหลักการการตรวจจับความเคลื่อนไหวจะบ่งชี้ถึง[[คาบดาราคติ]]ของดาวเคราะห์ และขนาดของการเคลื่อนที่ทำให้สามารถคำนวณค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้ของมวลดาวเคราะห์ได้
 
== ดูเพิ่ม ==