ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อศอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TjBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: bjn:Siku
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 17:
| MeshNumber = A02.835.583.290
| DorlandsPre = a_64
| DorlandsSuf = 12161185
}}
'''ข้อศอก''' ({{lang-en|Elbow joint}}) เป็น[[ข้อต่อ]]ที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่าง[[กระดูก]]สามชิ้น คือ [[กระดูกต้นแขน]] (humerus) [[กระดูกอัลนา]] (Ulna) และ[[กระดูกเรเดียส]] (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของ[[ปลายแขน]] (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มี[[เอ็น]]รอบข้อต่อและ[[กล้ามเนื้อ]]ต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของ[[หลอดเลือด]]และ[[เส้นประสาท]]ในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้วย
บรรทัด 28:
{| class="wikitable"
| '''ข้อต่อ''' || ส่วนของกระดูกที่ติดต่อกัน || คุณสมบัติของข้อต่อ
|-
| [[ข้อต่อฮิวเมอโรอัลนา]] (Humeroulnar joint) || [[รอยเว้าโทรเคลียร์]] (trochlear notch) บนกระดูกอัลนา กับ[[โทรเคลียร์]] (Trochlear) ของกระดูกต้นแขน || เป็นข้อต่อแบบบานพับ และเกี่ยวข้องกับการงอ-เหยียดปลายแขน
|-
| [[ข้อต่อฮิวเมอโรเรเดียล]] (Humeroradial joint) || ส่วนหัวของกระดูกเรเดียส และ[[แคปปิทูลัม]] (Capitulum) ของกระดูกต้นแขน || เป็นข้อต่อแบบระนาบ และช่วยในการพลิกปลายแขน
|-
| [[ข้อต่อเรดิโออัลนาด้านต้นแขน]] (Proximal radioulnar joint) || ส่วนหัวของกระดูกเรเดียส และ[[รอยเว้าอัลนา]] (ulnar notch) ของกระดูกอัลนา || เป็นข้อต่อแบบเดือยที่เกี่ยวข้องกับการพลิกแขน
|}
แคปซูลข้อต่อของข้อศอกจะคลุมขึ้นมาถึงส่วนปลายของกระดูกต้นแขน โดยเฉพาะที่แอ่งทั้งสามของปลายล่างสุดของกระดูกต้นแขน คือ[[แอ่งโอเลครานอน]] (Olecranon fossa) [[แอ่งเรเดียล]] (Radial fossa) และ[[แอ่งโคโรนอยด์]] (Coronoid fossa) จะพบว่ามีชั้นของ[[เนื้อเยื่อไขมัน]]อยู่ภายในแคปซูลข้อต่อด้วย ซึ่งไขมันเหล่านี้จะช่วยไม่ให้ปลายของกระดูกของข้อศอกมีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว
 
=== เอ็นรอบข้อต่อ ===
บรรทัด 41:
* '''เอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (Ulnar collateral ligament) ''' เป็นเอ็นหนารูปสามเหลี่ยมที่พาดอยู่ระหว่างส่วนปลายของกระดูกต้นแขนกับส่วนหัวของกระดูกอัลนา และแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ''เอ็นส่วนหน้า (anterior ligament) '' จะยึดระหว่าง[[ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์]] (medial epicondyle) ของกระดูกต้นแขน ไปยัง[[โคโรนอยด์ โพรเซส]] (coronoid process) ของกระดูกอัลนา ขณะที่''เอ็นส่วนหลัง (posterior ligament) '' จะยึดระหว่างปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ (medial epicondyle) ของกระดูกต้นแขน ไปยัง[[โอเลครานอน โพรเซส]] (olecranon process) ของกระดูกอัลนา
* '''เอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (Radial collateral ligament) ''' เป็นเอ็นเล็กๆที่ยึดระหว่าง[[ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์]] (lateral epicondyle) ของกระดูกต้นแขน ไปเชื่อมรวมกันเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament) รอบส่วนหัวของกระดูกเรเดียส
* '''เอ็นแอนนูลาร์ (Annular ligament) ''' เป็นเอ็นแข็งแรงที่มัดรอบส่วนหัวของกระดูกเรเดียสให้ติดต่อกับ[[รอยเว้าเรเดียล]] (radial notch) ของกระดูกอัลนา
 
=== กล้ามเนื้อรอบข้อต่อ ===
บรรทัด 54:
* แขนงอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral branches) ที่มาจาก[[หลอดเลือดแดงต้นแขน]] (brachial artery)
* แขนงที่มาจาก[[หลอดเลือดแดงต้นแขนชั้นลึก]] (profunda/deep brachial artery)
* แขนงย้อนขึ้น (recurrent branches) จาก[[หลอดเลือดแดงอัลนา]] (Ulnar artery) และ[[หลอดเลือดแดงเรเดียล]] (Radial artery) ซึ่งอยู่ในบริเวณปลายแขน
แขนงของหลอดเลือดแดงเหล่านี้จะเชื่อมรวมกันเป็น[[โครงข่ายหลอดเลือด]] (anastomosis) รอบบริเวณข้อศอก
 
บรรทัด 60:
 
== การเคลื่อนไหว ==
ข้อศอกทำให้ปลายแขนสามารถเคลื่อนไหวได้ในสองแบบ คือการงอ-เหยียดปลายแขน (flexion-extension) โดยอาศัยข้อต่อฮิวเมอโรอัลนา และการเคลื่อนไหวแบบพลิกหงาย-คว่ำของปลายแขน (pronation-supination) โดยอาศัยข้อต่อฮิวเมอโรเรเดียส และข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนต้นแขน นอกจากนี้ยังต้องอาศัยข้อต่อที่บริเวณข้อมือร่วมด้วย นอกจากนี้ ข้อศอกยังมีเกี่ยวข้องกับการถ่ายแรงจากมือไปยังไหล่ โดยส่วนใหญ่แรงจะผ่านจากกระดูกอัลนาไปยังกระดูกต้นแขน
 
== การบาดเจ็บของข้อศอก ==
บรรทัด 70:
ไฟล์:LeftHumanPosteriorDistalHumerusExtended.jpg|โครงกระดูกบริเวณข้อศอก (ขณะยืดปลายแขน)
ไฟล์:Gray330.png|มุมมองด้านหลังของข้อศอกด้านซ้าย แสดงกระดูกและเอ็นรอบข้อต่อ
ไฟล์:Gray332.png|มุมมองด้านหลังของแคปซูลข้อต่อของข้อศอก
ไฟล์:Gray526.png|ภาพวาดแสดงโครงข่ายหลอดเลือดแดงรอบข้อศอก
ไฟล์:Coude fp.PNG|ภาพถ่ายทางรังสีเอกซ์ของข้อศอก แสดงข้อศอกขณะงอปลายแขน (ซ้าย) และยืดปลายแขน (ขวา)
บรรทัด 78:
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* ''Gray's anatomy for students.'' Drake, RL., Vogl, W. and Mitchell, AWM.
* ''Clinically Oriented Anatomy'', 5th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.
{{จบอ้างอิง}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ข้อศอก"